เกร็ดความรู้สุขภาพ
5 โรคติดเชื้อในเด็กที่ควรระวังในฤดูหนาว
โรคติดเชื้อในเด็กในช่วงฤดูหนาวมี 3 กลุ่มโรคและ 5 โรคสำคัญคือ โรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจได้แก่ โควิด-19 (COVID-19) โรคไข้หวัดใหญ่ และโรคติดเชื้ออาร์เอสวี (RSV) โรคติดเชื้อของระบบทางเดินอาหารได้แก่ โรคอุจจาระร่วงจากเชื้อไวรัสโรต้า และโรคไข้ออกผื่นได้แก่ โรคอีสุกอีใส
รู้จักมะเร็งในช่องปาก
ปัจจัยเสี่ยงใดบ้างที่ทำให้เกิดโรค มะเร็งช่องปาก รวมถึงวิธีการรักษาและการป้องกันเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็ง
อาการท้องเสียที่สัมพันธ์กับการใช้ยาปฏิชีวนะ
อาการท้องเสียที่สัมพันธ์กับการใช้ยาปฏิชีวนะ (Antibiotic-associated Diarrhea) ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น พร้อมทั้งมีโอกาสเกิดขึ้นมากน้อยเพียงใด มักจะเกิดกับยาปฏิชีวนะตัวใดบ้าง รวมถึงมีวิธีป้องกันหรือการแก้ไขอย่างไร
การเลือกชนิดฟันปลอมให้เหมาะสมกับผู้สูงวัย
ฟันปลอมแต่ละชนิดต่างก็มีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้น ผู้สูงวัยหรือผู้ป่วยจึงควรปรึกษาทันตแพทย์เพื่อเลือกแบบฟันปลอมที่เหมาะสมกับสุขภาพช่องปากของตัวท่านเองก่อนตัดสินใจ
Ivermectin ยาอันตราย ห้ามซื้อใช้เอง
ยาไอเวอร์เมคตินเป็นยาฆ่าพยาธิกลุ่ม Macrocyclic lactone สูตรทางเคมีคือ 22, 23- dihydroavermectinB1a, B1b มีฤทธิ์ทำให้พยาธิเป็นอัมพาต
นวัตกรรมชุดตรวจคัดกรองโรคโควิด-19 “COVID-19 SCAN” ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจาก อย.
นวัตกรรมชุดตรวจคัดกรองโรคโควิด-19 “COVID-19 SCAN” ที่มีราคาถูกใช้งานง่าย รวดเร็ว ไม่ต้องอาศัยเครื่องมือที่ซับซ้อน และมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับเทคนิค Real-time PCR ขึ้น
อินนูลินจากแก่นตะวัน
อินนูลิน (Inulin) คือ ใยอาหารละลายน้ำชนิดฟรุคโตโอลิโกแซคคาไรด์ และเป็นอาหารของจุลินทรีย์สุขภาพหรือพรีไบโอติก (Prebiotics) การรับประทานอินนูลินมีส่วนช่วยเพิ่มพรีไบโอติกในร่างกาย
วัคซีนโควิด-19 สร้างภูมิต้านทานได้ดีมาก เทียบเท่าภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นจากผู้ที่ติดเชื้อมาแล้ว
ศ.นพ.ยง จึงมีความเห็นว่าควรเร่งดำเนินการให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการฉีดวัคซีนให้ได้มากที่สุดเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเองและประชากรหมู่มากต่อไป
หลับตื่นให้เป็นเวลา สุขภาพดีกว่าในอนาคต
การนอนที่อาจส่งผลร้ายกับร่างกายในระยะยาวได้ หนึ่งในปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการนอนที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน ได้แก่ โรคนอนไม่หลับ (Insomnia) ซึ่งพบ 1 ใน 3 ของประชากรวัยผู้ใหญ่
อาการทางผิวหนัง จากโรคโควิด-19 ผลข้างเคียงที่ไม่ควรมองข้าม
การศึกษาวิจัยและเชี่ยวชาญด้านโรคผิวหนัง พบว่าอาการของผู้ป่วยโรคโควิด-19 มีผลต่อร่างกายผู้ติดเชื้อในหลายระบบ นอกจากนี้จากสถิติพบว่าประมาณ 0.2-20% ของผู้ป่วยโรคโควิด-19 ทั้งหมดมีอาการผื่นทางผิวหนังร่วมด้วย
รู้จัก เข้าใจ และพร้อมรับมือการกลายพันธุ์ของไวรัสโคโรนา2019
แม้ในช่วงเวลาที่ผ่านมาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นจากการกระจายวัคซีนไปยังสถานที่ต่างๆ แต่อย่างไรก็ตามในวงการการแพทย์ยังคงต้องติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะอย่างยิ่งการกลายพันธุ์ของไวรัสโคโรนา 2019
ทำไมหายจากโรคโควิด-19 แต่อาการป่วยยังอยู่
ตั้งแต่กลางปี พ.ศ. 2563 หลังจากโรคโควิด-19 ระบาด และมีการพบว่าผู้ที่หายป่วยบางรายไม่สามารถใช้ชีวิตอย่างเดิมประเด็นดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่เริ่มมีการให้ความสำคัญในการศึกษาเกี่ยวกับอาการโควิดระยะยาว (Long COVID หรือ Long Hauler)
ข้อเท็จจริงน่ารู้เกี่ยวกับพลาสมารักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19
การรักษาผู้ป่วยด้วยพลาสมาจากผู้ป่วยที่หายจากโรคโควดิ -19 แล้วยังได้ผลอยู่หรือไม่ ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะมาไขข้อข้องใจเกี่ยวกับพลาสมารักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19
การรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ด้วยการนอนคว่ำ ช่วยทำให้อาการดีขึ้นได้อย่างไร ?
นับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 มีข้อมูลข่าวสารที่ถูกส่งต่อผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์อย่างมากเกี่ยวกับการรักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19 ด้วยการนอนคว่ำ
เหตุใด ผู้ป่วยมะเร็งบริเวณช่องปาก ศีรษะ และลำคอ ต้องมาพบทันตแพทย์ก่อนฉายรังสี
การดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็ง บริเวณช่องปาก ศีรษะ และลำคอ ต้องได้รับการตรวจรักษาจากแพทย์สหสาขาวิชาชีพ (Multidisciplinary Team)
มะเร็งเต้านม รู้เร็ว รักษาเร็ว หายขาดได้
มะเร็งเต้านม หากพบเร็ว และได้รับรักษาที่ถูกวิธี มีโอกาสหายสูงถึง 90%
มะเร็งท่อน้ำดี
มะเร็งท่อน้ำดีเป็นก้อนเนื้อร้ายที่พบที่ท่อทางเดินน้ำดี ซึ่งเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศไทยอีกด้วย
ภาวะใบหูเล็กไม่สมบูรณ์
ภาวะใบหูเล็กแต่กำเนิด (Microtia) ภาวะใบหูเล็กแต่กำเนิดเป็นความผิดปกติบนใบหน้าชนิดหนึ่งที่สังเกตได้ชัดเจนด้วยตาเปล่า สามารถพบได้ในเด็กแรกเกิดประมาณ 1 ใน 5,000 ราย พบในคนเอเชียมากกว่าคนขาว และพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง ในอัตราส่วน 2-3 ต่อ 1 ราย
โรคปากแหว่งเพดานโหว่
ปากแหว่งเพดานโหว่ (cleft lip and cleft palate) เป็นความพิการของใบหน้าที่เกิดกับทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ในประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคปากแหว่งเพดานโหว่ ประมาณ 1- 2 คนต่อทารกแรกเกิด 1,000 คน โดยพบมากที่สุดที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 700 – 800 คนต่อปี
กลุ่มอาการครูซอง
กลุ่มอาการครูซอง (Crouzon syndrome) เป็นโรคความพิการที่เกิดจากการมีรอยประสานของกะโหลกศีรษะและใบหน้าหลายตำแหน่งเชื่อมติดกันผิดปกติ โดยเกิดขึ้นตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา และดำเนินต่อเนื่องภายหลังจากคลอดออกมาแล้ว
โรคติดเชื้ออาร์เอสวี (RSV)
โรคติดเชื้ออาร์เอสวี (Respiratory syncytial virus, RSV) ทำให้เกิดการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจส่วนล่างได้แก่ หลอดลม หลอดลมส่วนปลาย และถุงลม พบบ่อยในเด็กโดยเฉพาะเด็กเล็กซึ่งมักมีอาการรุนแรง
อาการฟกช้ำและปวดเคล็ด
ในชีวิตประจำวันของคนเราที่ต้องทำสิ่งต่างๆ มากมายตลอดทั้งวัน เราอาจพบเจออุบัติเหตุต่างๆ ระหว่างวัน ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการฟกช้ำได้ทั้งโดยที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว แม้ว่าอาการเหล่านี้จะไม่รุนแรงมาก แต่ก็ควรทราบวิธีการดูแลอย่างถูกต้อง เพื่อบรรเทาอาการให้ดีขึ้นหากเกิดเหตุการณ์กับตนเอง
การนอนกรนในเด็ก
จากการศึกษาพบว่า 20% ของเด็กมีอาการนอนกรน 7-10% มีอาการนอนกรนทุกคืน เด็กหลายรายที่นอนกรนนั้นมีสุขภาพดี แต่ประมาณ 2% พบว่ามีปัญหาในขณะหลับและมีปัญหาในการหายใจ
อาการเต้านมคัด
เกิดจากการสร้างน้ำนมแม่ได้มาก แต่ไม่สามารถระบายน้ำนมออกหรือระบายออกไม่ทัน จึงเกิดอาการคัด บวม แข็ง เต้านมจะร้อน ผิวแดงเป็นมัน เจ็บ
ท่อน้ำนมอุดตัน
ท่อน้ำนมอุดตัน (blocked duct) จะเป็นก้อนไตแข็งๆ ที่บริเวณใดบริเวณหนึ่งของเต้านม โดยไม่ได้เป็นทั้งเต้า เมื่อกดลงไปจะรู้สึกเจ็บและอาจบวมแดง แต่ไม่มีไข้
ต่อมลูกหมากโต
ต่อมลูกหมากเป็นส่วนหนึ่งของอวัยวะสืบพันธุ์ รูปร่างคล้ายลูกเกาลัดหุ้มรอบท่อปัสสาวะส่วนต้น ปรกติจะมีขนาดประมาณ 15-20 กรัม หน้าที่ที่สำคัญของต่อมลูกหมาก คือ การสร้างน้ำอสุจิ โดยทั่วไปต่อมลูกหมากจะหยุดเจริญเติบโตหลังจากอายุ 20 ปี จนกระทั่งอายุประมาณ 45 ปี จะมีการเพิ่มขนาดขึ้นอีกครั้ง และเป็นจุดเริ่มต้นของโรคต่อมลูกหมากโต
โรคใบหน้าแหว่งแต่กำเนิด
โรคใบหน้าแหว่งแต่กำเนิด (Congenital Facial Cleft) เป็นความพิการแต่กำเนิดชนิดรุนแรงประเภทหนึ่งที่มีโอกาสพบได้ทั่วไป นอกจากจะมีผลกระทบทางด้านร่างกายแล้ว ยังส่งผลกระทบทางจิตใจต่อผู้ป่วยและครอบครัว
ไขมันทรานส์ พิษร้ายใกล้ตัว
ขมันมันทรานส์ หรือเรียกอีกชื่อว่า transfat เป็นไขมันที่มีในธรรมชาติน้อยมากแต่เกิดจากการดัดแปลงโครงสร้างของน้ำมันพืชหรือไขมันไม่อิ่มตัวด้วยกระบวนการ hydrogenation หรือ การเติมหมู่ไฮโดรเจน ทำให้น้ำมันพืชมีลักษณะคงตัวที่อุณหภูมิห้อง ทนความร้อนได้สูง ไม่เหม็นหืน
โรคงวงช้าง
โรคงวงช้าง (Frontoethmoidal Encephalomeningocele) เป็นความพิการแต่กำเนิด โดยมีก้อนงอกออกมาตรงบริเวณดั้งจมูก ระหว่างตาทั้งสองข้าง พบได้ทั้งขนาดเล็กเท่าเมล็ดถั่วเขียว จนถึงขนาดใหญ่เท่าศีรษะ มีลักษณะคล้ายงวงของช้าง จึงเป็นที่มาของคำว่า “โรคงวงช้าง” ที่เรียกกันในชุมชน
กะโหลกศีรษะเชื่อมติดผิดปกติ
โรคในกลุ่มกะโหลกศีรษะเชื่อมติดก่อนกำหนดนั้นเป็นโรคที่เกี่ยวเนื่องกับอวัยวะสำคัญหลายส่วน อาทิ สมอง ประสาทตา ระบบทางเดินหายใจ เป็นต้น ผู้ป่วยและคนรอบข้างจึงจำเป็นต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับโรคและวิธีการรักษา เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเข้ารับการรักษาที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพมากที่สุด
โรคไข้เลือดออก
โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย ต้องอาศัยการวินิจฉัยที่ถูกต้องและรวดเร็ว เฝ้าระวังผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดและให้การรักษาอย่างเหมาะสม โรคนี้พบบ่อยในฤดูฝน เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกีซึ่งมี 4 ชนิดและมียุงลายเป็นพาหะนำโรค ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเด็กโต วัยรุ่น และผู้ใหญ่อายุน้อย
โรค NCDs คร่าชีวิตคนไทยมากที่สุด
โรค NCDs (Non-communicable diseases) คือ กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค และไม่มีการแพร่กระจายจากคนสู่คน แต่โรค NCDs มีสาเหตุจากพฤติกรรมเป็นหลัก ซึ่งคร่าชีวิตคนไทยมากกว่าสาเหตุอื่นๆ
สมาร์ทโฟนซินโดรม และ ออฟฟิศซินโดรม
สมาร์ทโฟนซินโดรม และออฟฟิศซินโดรม โดยทั้งสองโรคมีอาการคล้ายคลึงกันบางส่วน เนื่องจากปัจจุบันนคนนิยมใช้สมาร์ทโฟนมากขึ้น ตั้งแต่เด็กเล็ก วัยรุ่น คนทำงานหนุ่มสาว หรือผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ เห็นได้ง่าเกือบทุกวัย ทุกวันจะมีการใช้สมาร์ทโฟนมากขึ้น ในขณะที่ออฟฟิศซินโดรมจะเกิดกับคนทำงาน
ไวรัสตับอักเสบบี
คนไทยเป็นแหล่งพาหะของไวรัสตับอักเสบบี หรือเป็นไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังเกิน 6 เดือน ซึ่งพบประมาณ 2-3 คน ใน 100 คน โดยเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวมากกว่าที่คิด ส่วนใหญ่ได้รับเชื้อมาจากมารดาตั้งแต่เป็นทารก
ภาวะกระดูกสันหลังเสื่อมกดทับเส้นประสาท
ปัจจุบันความเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับกระดูกสันหลังเป็นโรคที่พบได้บ่อยขึ้นและเป็นปัญหาสำคัญที่ก่อให้เกิดอุปสรรคในการดำเนินชีวิตประจำวันของคนในวัยทำงาน และคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ
สิวในเด็ก
สิวในช่วงทารกแรกเกิด เกิดจากการกระตุ้นต่อมไขมันโดยฮอร์โมนของมารดาที่ผ่านมาทางรกหรือของทารกเองที่สร้างจากต่อมหมวกไตหรือลูกอัณฑะในเด็กผู้ชาย ส่วน สิวในเด็กวัยรุ่น เกิดจากฮอร์โมนเพศ กระตุ้นต่อมไขมันให้สร้างไขมัน และชั้นหนังกำพร้าบริเวณท่อรูขุมขนมีความหนาตัวขึ้นและอุดตันทางออกของไขมัน เกิดเป็นสิว
ล้างมือบ่อยครั้ง หยุดยั้งเชื้อโรค
ปัจจุบันการล้างมือนับเป็นหนึ่งในมาตรการการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่มีประสิทธิภาพ ประหยัด และมีความสำคัญมาก เนื่องจากพบว่ามีโรคต่างๆมากมายที่แพร่กระจายได้จากการไม่ล้างมือ
รู้จักวัณโรค
วัณโรค เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อมัยโครแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลซิส (Mycobacterium tuberculosis) ซึ่งติดต่อกันได้ทางการหายใจเอาเชื้อวัณโรคเข้าไป จากการพูด จาม ไอ ของผู้ป่วยวัณโรค
สุขภาพดี ด้วยการบริจาคโลหิต
การบริจาคโลหิตนอกจากจะเป็นการทำบุญ ช่วยชีวิตเพื่อนมนุษย์ ทำให้ผู้บริจาคมีจิตใจที่สดชื่นเบิกบานแล้ว ยังทำให้เกิดประโยชน์แก่สุขภาพของผู้บริจาคโลหิตหลายอย่างด้วยกัน
ภาวะเครียด
ความเครียดนั้น มีสาเหตุทั้งจากความคิดของตนเอง และจากสิ่งแวดล้อมรอบข้าง โดยสามารถ แบ่งได้เป็นประเภทต่างๆ นอกจากนี้ความเครียดส่งผลต่อร่างกายและจิตใจ ย่อมส่งผลไปถึงประสิทธิภาพในการเรียน การทำงาน สัมพันธภาพต่อครอบครัวและบุคคลแวดล้อมอีกด้วย
มะเร็งต่อมลูกหมาก
ต่อมลูกหมากทำหน้าที่สร้างสารน้ำซึ่งเป็นส่วนประกอบของน้ำอสุจิในเพศชาย โดยต่อมลูกหมากอยู่ใต้ต่อกระเพาะปัสสาวะและหุ้มรอบท่อปัสสาวะ มะเร็งต่อมลูกหมากมักพบได้ใน ผู้ชายสูงอายุ
โรคต้อลมและต้อเนื้อ
ต้อลมและต้อเนื้อ เป็นเนื้อนูนที่เยื่อตาขาวข้างกระจกตาดำ ถ้าอยู่เฉพาะที่เยื่อบุตาขาว (conjunctiva) เรียกว่าต้อลม (pinguecula) แต่หากรุกล้ำเข้ามาในกระจกตาดำ (cornea) เราก็เรียกว่าต้อเนื้อ (pterygium)
โรคซึมเศร้า บั่นทอนจิตและสุขภาพ
ทุกวันนี้ เราได้ยินการกล่างถึง โรคซึมเศร้า (Depression) เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งโรคนี้ สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยมีปัจจัยจากภาวะแวดล้อมต่าง ๆ หรือปัญหาทางชีวภาพของ ร่างกายที่ส่งให้สมองส่วนอารมณ์ทำงานไม่ปกติ ผลิตอารมณ์และมุมมองในแง่ลบ
5 โรคที่มากับหน้าฝน
สภาพอากาศและอุณหภูมิที่เย็นชุ่มฉ่ำในช่วงหน้าฝน เป็นสาเหตุทำให้โรคติดต่อสามารถ แพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว ประกอบกับอากาศประเทศไทยที่แปรปรวน เดี๋ยวร้อนเดี๋ยวเย็น ยิ่งทำให้สุขภาพและภูมิคุ้มกันถดถอย จึงเป็นที่มาของโรคติดต่อยอดฮิตที่ควรทราบและพึงระวังไว้
การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม
มะเร็งเต้านม ถือเป็นประเภทของโรคมะเร็งที่พบบ่อยเป็นอันดับ 1 ของหญิงไทยในกลุ่มอายุ 50 ปีขึ้นไป โดยในผู้หญิงอายุ 20 ปีขึ้นไปแนะนำให้ตรวจมะเร็งเต้านมทุกปี
โรคถุงน้ำในเต้านม
กลุ่มโรคถุงน้ำในเต้านม (Fibrocystic changes) เป็นภาวะที่สามารถพบได้ในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ โดยอาจไม่จัดเป็นโรคหรือเป็นความผิดปกติแต่อย่างใด
5 เรื่องต้องห้ามก่อนเข้านอน
การนอนหลับที่ดี เป็นขั้นตอนแรกในการมีชีวิตที่ดี เพราะฉะนั้น การกำจัดปัญหาของการนอนจึงเป็นสิ่งสำคัญต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของคุณ
โรคนอนไม่หลับ
โรคนอนไม่หลับเกิดขึ้นได้ในประชากรทุกช่วงอายุ คนส่วนมากจะมีอาการนอนไม่หลับ 1-2 คืน แต่บางครั้งอาจเกิดขึ้นนานเป็นสัปดาห์ เดือนหรือปี โรคนอนไม่หลับมักพบในผู้หญิงและผู้สูงอายุ
โรคกระดูกพรุน
โรคกระดูกพรุน คือ โรคที่ความหนาแน่นของเนื้อกระดูกลดน้อยลงเรื่อยๆ รวมทั้งมีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะโครงสร้างของกระดูกซึ่งมีผลให้กระดูกบางและเปราะ ไม่สามารถรับน้ำหนักหรือแรงกดดันได้ตามปกติ ทำให้เกิดความเสี่ยงกระดูกหักได้ง่าย
6 อาการเสี่ยงโรคหัวใจ
คำว่า “โรคหัวใจ” คือคำกว้างๆที่หมายความครอบคลุมโรค และอาการหลากหลายเกี่ยวกับการทำงานหัวใจที่ผิดปกติ
ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน
ถึงแม้ปัจจุบันวิทยาการทางการแพทย์เจริญก้าวหน้าขึ้น แต่ก็ยังไม่มียาใดสามารถรักษาโรคเบาหวานให้หายขาดได้ จุดประสงค์ของการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานที่สำคัญคือ การดูแลและรักษา เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตใกล้เคียงคนปกติ
โรคหลอดเลือดสมองหรือโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต
โรคหลอดเลือดสมองหรือโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นภาวะที่สมองสูญเสียการทำงานบางส่วนอย่างเฉียบพลันจากหลอดเลือดสมองตีบ อุดตัน หรือจากหลอดเลือดสมองแตก ทำให้เกิดความผิดปกติของร่างกาย
โรค มือ เท้า ปาก
โรคมือเท้าปาก เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหลายชนิด ติดต่อได้ง่ายโดยการสัมผัสกับเชื้อโดยตรง จากตัวผู้ป่วยหรือจากเชื้อที่อยู่ในสิ่งแวดล้อม
โรคอีสุกอีใส
โรคอีสุกอีใส เป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่มาด้วยอาการไข้ออกผื่น พบมากในเด็กแต่สามารถพบในผู้ใหญ่ได้โดยเฉพาะผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ บางกรณีสามารถหายได้เอง แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
โรคอุจจาระร่วง
โรคอุจจาระร่วงหรือโรคลำไส้อักเสบ พบได้บ่อยในคนทุกวัยโดยเฉพาะในเด็ก ในเด็กทารก มักเกิดจากการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียเนื่องจากการดูแลความสะอาดของขวดนมไม่ดีพอ
ไมเกรน หายได้ไม่ต้องพึ่งยา
ไมเกรน (Migraine) คืออาการปวดศีรษะชนิดหนึ่งที่ตรวจไม่พบพยาธิสภาพหรือสาเหตุในโพรงกะโหลกศีรษะ (primary headache) เกิดจากมีการหลั่งสารสื่อประสาทที่จะนำไปสู่ขบวนการอักเสบ
ภาวะแทรกซ้อนจาก โรคความดันโลหิตสูง
โรคความดันโลหิตสูง เป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของคนไทย หากมีความดันโลหิตสูงเป็นระยะเวลานานและไม่ได้รับการรักษา จะเป็นเสมือนระเบิดเวลาที่ฝังอยู่ในตัวเรา
โรคฮิตใน ผู้สูงอายุ
นับเป็นเรื่องธรรมดาของชีวิตที่สังขารย่อมร่วงโรยไปในอายุที่มากขึ้น เป็นเหตุให้ในผู้สูงอายุมักมีโรคประจำตัวต่างๆมากกว่าคนในช่วงอายุอื่นๆ โดยปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อย แบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ
แมลงก้นกระดก ภัยร้ายใกล้ตัว
แมลงก้นกระดก (Rove beetles) หรือที่เรียกกันว่า ด้วงก้นกระดก ด้วงก้นงอน หรือ ด้วงปีกสั้น เป็นแมลงขนาดเล็ก มีความยาวประมาณ 7-8 มิลลิเมตร ลำตัวมีสีดำสลับส้มเป็นปล้องๆ
โรคพิษสุนัขบ้า
ในปัจจุบัน สุนัขเป็นสัตว์เลี้ยงที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายไม่เพียงแต่ประเทศไทยเท่านั้น ด้วยความน่ารักและเข้ากับผู้คนได้ง่ายทำให้ผู้คนมักจะใกล้ชิดกับสุนัขค่อนข้างมาก
อาการปวดท้องบ่งบอกโรค
ช่องท้องประกอบไปด้วยอวัยวะต่างๆจำนวนมาก ได้แก่ ตับ ถุงน้ำดี กระเพาะอาหาร ม้าม ตับอ่อน ไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ รวมไปถึงอวัยวะของระบบสืบพันธุ์ เป็นต้น
โรคเกาต์ป้องกันได้เริ่มจากการกิน
โรคเกาต์เป็นโรคข้ออักเสบที่เกิดจากภาวะกรดยูริคในเลือดสูง แล้วเกิดการตกตะกอนเป็นผลึกยูเรตสะสมอยู่ในข้อจนทำให้เกิดอาการปวด บวม อักเสบของข้อได้ โดยกรดยูริคเกิดจากการสารจำพวกพิวรีน ซึ่งพบได้ในอาหารบางประเภท สามารถแบ่งกลุ่มอาหารได้ 3 กลุ่ม
บ้านหมุน ภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม
อาการเวียนศีรษะแบบบ้านหมุน หรือ ภาษาอังกฤษเรียกว่า Vertigo เป็นอาการที่รู้สึกว่าสิ่งแวดล้อมรอบตัวหรือสิ่งของที่มองเห็นหมุนไป หรือรู้สึกว่าตัวเองหมุนไปทั้งๆ ที่ตนเองอยู่กับที่
เช็คด่วน สัญญาณเตือนโรคสมอง
ภาวะสมองเสื่อม หมายถึง การเสื่อมหรือถดถอยของการทำงานของสมอง ทำให้มีความผิดปกติของสติปัญญา ความคิด ความจำ การตัดสินใจ พฤติกรรม หรือบุคลิกภาพ