โรคใบหน้าแหว่งแต่กำเนิด


โรคใบหน้าแหว่งแต่กำเนิด (Congenital Facial Cleft) เป็นความพิการแต่กำเนิดชนิดรุนแรงประเภทหนึ่งที่มีโอกาสพบได้ทั่วไป นอกจากจะมีผลกระทบทางด้านร่างกายแล้ว ยังส่งผลกระทบทางจิตใจต่อผู้ป่วยและครอบครัว ทำให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างยากลำบากจากสายตาประเมินของบุคคลรอบข้าง ดังนั้น การทำความเข้าใจกับโรคนี้มีความสำคัญในการดูแลและช่วยเหลือให้ผู้ป่วยเหล่านี้สามารถดำเนินชีวิตได้ อย่างคนปกติทั่วไป

สาเหตุ

โรคใบหน้าแหว่งแต่กำเนิด เป็นภาวะผิดปกติที่เกิดขึ้นตั้งแต่ตอนที่ทารกในครรภ์มีอายุเพียง 2-10 สัปดาห์ ในระหว่างที่มีการสร้างใบหน้า เมื่อมีอะไรก็ตามเข้ามาขัดขวางกระบวนการนี้ ไม่ว่าจะเป็นการติดเชื้อในครรภ์ ยาหรือสารเคมีในอาหารที่แม่รับประทานเข้าไป ส่งผลให้เกิดเป็นร่องโหว่หรือรอยแหว่งที่เรียกว่า “cleft”

อาการของโรค

รอยแหว่งที่เกิดบนใบหน้ามีได้หลายตำแหน่ง  อาจเป็นกับเนื้อเยื่ออ่อนหรือกระดูกก็ได้ ส่วนใหญ่อาศัยเพียงแค่การมองก็เห็นได้ชัดเจน  อีกส่วนหนึ่งซึ่งเป็นส่วนน้อยต้องอาศัยการตรวจเพิ่มเติม

ผลกระทบของโรคไม่ใช่แค่ความสวยงามของใบหน้าเท่านั้น อวัยวะต่าง ๆ บนใบหน้ายังอาจทำงานผิดเพี้ยนได้  เช่น เหงือกและฟันที่หายไป ณ ตำแหน่งที่มีร่องแหว่ง ทำให้การเคี้ยวการสบฟันผิดปกติ หนังตาอาจปิดได้ไม่สนิท คลุมกระจกตาดำได้ไม่หมด เกิดเป็นแผลที่กระจกตาดำ (corneal ulcer) และตาบอดได้ในที่สุด    เด็กอาจมีปัญหาด้านการพูดเนื่องจากเพดานโหว่ เป็นต้น

วิธีการรักษา

การดูแลรักษาโรคใบหน้าแหว่งแต่กำเนิดนั้นค่อนข้างซับซ้อน จึงต้องอาศัยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหลายสาขาที่มีประสบการณ์และความรู้ กว่าที่ใบหน้าจะกลับมาดูเป็นปกติ  ผู้ป่วยเหล่านี้ต้องการกำลังใจจากคนรอบข้างเพื่อให้ได้การรักษา ที่สมบูรณ์และต่อเนื่อง  และสามารถออกไปดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุขที่สุด

 

สามารถติดต่อขอรับการรักษาและคำปรึกษาได้ที่

ศูนย์สมเด็จพระเทพรัตนฯ แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
อาคาร สก ชั้น 14 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
ในเวลาทำการ จันทร์ถึงศุกร์ เว้นวันหยุดราชการ เวลา 08.00-16.00 น.
โทรศัพท์ 0-2256-4330
www.craniofacial.or.th
Line : @Thaicraniofacial

Nová online kasina s bonusem bez vkladu, doporučená Betzoidem