พบแพทย์

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ให้บริการตรวจวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วย โดยแบ่งออกเป็น

ผู้ป่วยนอก (Out-Patient-Department : OPD) หมายถึง ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา โดยไม่ต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล

ผู้ป่วยใน (In-Patient-Department : IPD) หมายถึง ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ให้นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล

ซึ่งสามารถติดตามรายละเอียดการเข้ารับบริการตรวจวินิจฉัยและการเตรียมตัวเข้ารับการรักษา ดังนี้…

สำหรับผู้ป่วยที่ต้องการเข้ารับบริการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มีขั้นตอนการเข้ารับบริการ ดังนี้

 

ผู้ป่วยที่เคยลงทะเบียนกับทางโรงพยาบาล

 

  1. นำบัตรนัดมาพบแพทย์ตามวันและเวลานัด
  2. หากยังไม่มีนัด ต้องการตรวจในเวลา เตรียมบัตรประชาชน บัตรประจำตัวผู้ป่วย มารับบัตรคิวตั้งแต่เวลา 05.30 น. ที่หน้าอาคาร ภปร
  3. หากยังไม่มีนัด ต้องการตรวจนอกเวลา (คลินิกพิเศษนอกเวลาราชการ) สามารถโทรมาติดต่อขอนัดตรวจล่วงหน้าอย่างน้อย 1 วัน ที่เบอร์โทรศัพท์ 02 256 5045, 02 256 5046, 02 256 5166, 02 256 5175, 02 256 5193

หมายเหตุ

  1. ผู้ป่วยที่ไม่มีประวัติการรักษาเดิมที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ให้เตรียมประวัติการรักษาจากโรงพยาบาลเดิมรวมทั้งชื่อยาที่รับประทานประจำมาด้วย
  2. ปิดรับบัตรเมื่อครบจำนวนผู้ใช้บริการหรือห้องตรวจงดรับ
  3. กรณีผู้ป่วยผิดนัด (มาก่อนหรือหลังนัด และไม่มีอาการ) แนะนำให้พบแพทย์ตามวันนัดเพื่อพบแพทย์ผู้รักษาคนเดิม

 

กลุ่มงานบริการผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เปิดให้บริการหน่วยตรวจแก่ประชาชนทั่วไป ดังนี้

  • หน่วยตรวจผู้ป่วยนอกทางอายุรกรรม
  • ศัลยกรรม
  • นรีเวชกรรม
  • จักษุกรรม
  • โสต ศอ นาสิก
  • มารดาและทารก
  • โรคกระดูกและเวชศาสตร์ฟื้นฟู
  • จิตเวชผู้ใหญ่และเด็ก
  • หน่วยตรวจพิเศษ
  • คลินิกเฉพาะทางเพื่อการวินิจฉัยโรค

โดยให้บริการแก่ผู้ป่วยเดิมของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ผู้ป่วยที่ไม่มีประวัติการรักษาและต้องการเข้ารับการรักษาที่พยาบาลจุฬาลงกรณ์ รวมไปถึงผู้ป่วยฉุกเฉินทุกประเภท ซึ่งครอบคลุมกลุ่มประเภทผู้ป่วย ดังต่อไปนี้

  • ผู้ป่วยทั่วไป
  • ผู้ป่วยประกันสังคม
  • ผู้ป่วยบัตรประกันสุขภาพของโรงพยาบาลอื่นๆ (บัตร 30 บาท)
  • เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
  • เจ้าหน้าที่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

กลุ่มงานบริการผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

  1. คลินิกทั่วไป
    ให้บริการแก่ประชาชนทั่วไปในวันและเวลาราชการ: วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 08.00-16.00 น.
    หากผู้ป่วยไม่มีนัด สามารถยื่นบัตรตรวจโรคทั่วไปทุกระบบ ตั้งแต่เวลา 07.00-11.00 น. (หรือ 10.00 น.ในบางคลินิก) เปิดให้รับบัตรคิวตั้งแต่เวลา 05.30 น. ที่หน้าอาคาร ภปร และอาจมีการปิดรับผู้ป่วยก่อนกำหนดเวลาเมื่อจำนวนผู้เข้ารับบริการเต็มในแต่ละวัน
  2. คลินิกพิเศษนอกเวลาราชการ
    ให้บริการแก่ประชาชนทั่วไป นอกวันและเวลาให้บริการ: วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 16.30-20.00 น. วันเสาร์และอาทิตย์ เวลา 08.00-12.00 น.
  3. ห้องตรวจผู้ป่วยฉุกเฉิน
    วันและเวลาให้บริการ: ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง

 

 

กลุ่มงานบริการผู้ป่วยใน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ให้บริการผู้ป่วยที่มาโรงพยาบาลด้วยอาการฉุกเฉิน (Emergency Case) ที่ได้รับการคัดกรองและวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญว่ามีเหตุจำเป็นให้เข้ารับการรักษาภายในโรงพยาบาล และผู้ป่วยที่มีนัดหมายเข้ารับการรักษาหรือเข้ารับการผ่าตัด (Electivecase)ตามแผนการรักษาของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ตามภาควิชาต่างๆ เช่น ศัลยกรรม ออร์โธปิดิกส์ สูติ-นรีเวชกรรม จักษุกรรม โสตศอนาสิกวิทยา  รังสีวิทยา อายุรกรรม กุมารเวชศาสตร์ ตลอดจนผู้ป่วยที่ได้รับการส่งต่อการรักษาจากโรงพยาบาลอื่น (Refer)

 

 

การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล

การเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ควรมีการเตรียมตัวและเตรียมเอกสารตามสิทธิการรักษาของผู้ป่วยให้พร้อม เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเข้ารับการบริการ ดังนี้

  1. การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
  2. เอกสารที่ต้องเตรียมเพื่อเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
  3. สิทธิผู้ป่วยใน
  4. ประเภทห้องพักและราคา

 สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อเข้ารับการตรวจได้ที่

  1. คลินิกพิเศษนอกเวลาราชการ เบอร์โทรศัพท์ 02 256 5193
  2. หน่วยงานบรรจุผู้ป่วย เบอร์โทรศัพท์ 02 256 4345, 4341, 4378, 4216
  3. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เบอร์โทรศัพท์ 02 256 4000

ตรวจสุขภาพประจำปี

          การตรวจสุขภาพ เป็นขั้นตอนสำคัญด้านสาธารณสุขที่คนไทยทุกคนควรได้รับการตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เป็นขั้นตอนหนึ่งที่แพทย์ปฏิบัติเพื่อใช้ช่วยในการวินิจฉัยโรค เพื่อดูสภาพความสมบูรณ์ของร่างกาย ค้นหาความผิดปกติก่อนที่จะลุกลาม เรื้อรังจนแสดงอาการ และเพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที โดยมีการสอบถามประวัติอาการต่างๆของผู้ป่วย เช่น ประวัติการเจ็บป่วยในปัจจุบัน ในอดีตและประวัติของคนในครอบครัว ประวัติประจำเดือน การตั้งครรภ์ และการมีบุตร และประวัติการใช้ยาต่างๆ รวมถึงประวัติการแพ้ยา แพ้อาหารหรือแพ้สิ่งอื่นๆ ซึ่งผลที่ได้จากการตรวจร่างกาย แพทย์จะบันทึกไว้ในเวชระเบียนเสมอ เพราะนอกจากเป็นข้อมูลสำคัญของผู้ป่วยในการช่วยวินิจฉัยโรคแล้ว ยังช่วยในการวินิจฉัยในการคัดแยกโรคต่างๆด้วย นอกจากนั้น ยังใช้ช่วยประเมินวิธีรักษา ช่วยติดตามผลการรักษา และประเมินสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย เพื่อการดูแลรักษาผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม และลดปัญหาที่จะนำไปสู่การสูญเสียทั้งทางด้านสุขอนามัย และทางด้านการเงิน

ตรวจสุขภาพ ภปร ชั้น 16

ผู้ป่วยใหม่

          ไม่มีแฟ้มประวัติการรักษากับโรงพยาบาลฯ หลังติดต่อตู้บริการผู้ป่วยอัติโนมัติแล้ว กรุณาติดต่อช่องทำประวัติใหม่ ที่อาคาร ภปร ชั้น G โดยกรอกชื่อ-นามสกุล และที่อยู่ลงที่บัตรกรอกประวัติผู้ป่วยใบสีเขียว แนบสำเนาบัตรประชาชนเพื่อทำประวัติใหม่ จากนั้นติดต่อห้องบัตร เพื่อลงทะเบียนตรวจ พร้อมแจ้งความประสงค์การตรวจสุขภาพตามที่ต้องการ

ผู้ป่วยเก่า

ติดต่อโดยตรงที่ตึก ภปร ชั้น 16 เวชศาสตร์ป้องกันฯ พร้อมบัตรโรงพยาบาล
เปิดทำการ วันจันทร์ – ศุกร์ เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ ในเวลาทำการตั้งแต่ 07.30-15.30น.
ขอทราบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร 02-256 5425 ,5427

โปรแกรมตรวจสุขภาพ

1. โปรแกรมการตรวจสุขภาพประจำปี 

       โปรแกรม 1 สำหรับท่านที่มีอายุ 35 ปี  ขึ้นไป ( 1,220 บาท ) 

  1. Glucose ตรวจภาวะเบาหวาน 
  2. AST, ALT , ALP ตรวจสมรรถภาพตับ
  3. BUN, Creatinine ตรวจสมรรถภาพไต
  4. Cholesterol, Triglyceride, HDL* ตรวจไขมันในเลือด
  5. Uric acid ตรวจโรคเก๊าท์
  6. CBC ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด
  7. Chest X-ray เอกซเรย์ปอด
  8. EKG* ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
  9. Urinalysis ตรวจระบบทางเดินปัสสาวะ

            วันนัดพบแพทย์ /รับสมุดรายงานผลตรวจสุขภาพ 1 เล่ม  (ค่าบริการผู้ป่วยนอกในเวลาราชการ 100 บาท)   
              หมายเหตุ  ตรวจ EKG และHDL  เบิกราชการไม่ได้

       โปรแกรม 2 สำหรับท่านที่มีอายุน้อยกว่า 35 ปี ( 720 บาท )

  1. CBC ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด
  2. Cholesterol, Triglyceride, HDL ตรวจไขมันในเลือด*
  3. Urinalysis ตรวจระบบทางเดินปัสสาวะ
  4. Chest X-ray เอกซเรย์ปอด

            หมายเหตุ  ตรวจไขมันในเลือด เบิกราชการไม่ได้  

       การตรวจพิเศษอื่น ๆ

  1. HbA1C ตรวจน้ำตาลสะสม (150 บาท)
  2. Anti-HAV IgG ตรวจภูมิไวรัสตับอักเสบเอ (500 บาท)
  3. HBV ตรวจไวรัสตับอักเสบบี (540 บาท)
  4. Anti-HCV ตรวจไวรัสตับอักเสบซี (300 บาท
  5. Anti HIV ตรวจการติดเชื้อเอดส์ (140 บาท)
  6. Treponemal Ab ตรวจหาเชื้อซิฟิลิส (100 บาท)
  7. PSA ตรวจสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก (300 บาท)

      (เฉพาะบุรุษ อายุ 50 ปี ขึ้นไป)

  1. ตรวจหมู่เลือด + RH (250 บาท)
  2. Stool exam ตรวจอุจจาระ (250 บาท)
  3. Stool occult blood ตรวจอุจจาระคัดกรองมะเร็งลำไส้ ใหญ่ (80 บาท)

2. โปรแกรมการตรวจสุขภาพสำหรับการเดินทางไปต่างประเทศ คลิก

การตรวจมะเร็งปากมดลูก

กรุณาติดต่อที่อาคาร ภปร ชั้น 7
โทร 02 256 5298 ,5286

การเตรียมตัวสำหรับการตรวจสุขภาพ

          สำหรับผู้ที่ต้องการตรวจสุขภาพควรเตรียมตัวให้พร้อมก่อนวันตรวจสุขภาพด้วยการพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 8 ชั่วโมง ไม่ควรอดนอนเพราะจะทำให้ผลการตรวจผิดปกติ โดยเฉพาะเรื่องความดันโลหิต การเต้นของหัวใจ และอุณหภูมิของร่างกาย  และควรงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สิ่งสำคัญคือ ควรทำตัวให้เหมือนปกติก่อนเข้ารับการตรวจ ไม่ควรควบคุมตัวเองเป็นพิเศษ เพื่อจะได้ผลการตรวจที่แม่นยำที่สุด และให้แพทย์วินิจฉัยได้ถูกต้องที่สุด  นอกจากนี้ยังมีข้อควรปฏิบัติอื่นๆสำหรับการตรวจสุขภาพ ดังนี้

  • การตรวจเลือด เฉพาะผู้ที่ต้องการตรวจหาน้ำตาลในเลือดและไขมันในเลือด  งดอาหารและเครื่องดื่ม (ยกเว้นน้ำเปล่า) ตั้งแต่เวลา 20.00 น. ของคืนก่อนวันตรวจ
  • การตรวจปัสสาวะเก็บปัสสาวะตอนเช้า ก่อนเข้าตรวจสุขภาพ โดยล้างมือ-ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ ปัสสาวะทิ้งไปก่อนเล็กน้อยแล้วเก็บปัสสาวะช่วงกลางก่อนที่จะปัสสาวะสุด เก็บปัสสาวะใส่ภาชนะ ประมาณ ½ กล่อง (ปิดฝาให้สนิท)

           **สุภาพสตรีที่อยู่ในช่วงมีประจำเดือนควรให้ประจำเดือนหมดไปก่อนอย่างน้อย 3 วัน หรือถ้าต้องการตรวจกรุณาแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบ

  • การตรวจอุจจาระเก็บอุจจาระตอนเช้าวันตรวจใส่ภาชนะ ประมาณ ¼ กล่อง (ประมาณหัวแม่มือ)
  • การเอกซเรย์ปอด

           **สุภาพสตรี : ให้เปลี่ยนสวมเสื้อที่จัดเตรียมไว้ให้ โดยถอดสร้อยคอ-เสื้อชั้นใน (ยกทรง) ออก เพื่อป้องกันมิให้ตะขอ หรือโครงเสื้อในบังปอด

ข้อควรระวัง 

  • สุภาพสตรีตั้งครรภ์งดเอกซเรย์
  • สุภาพบุรุษควรถอดเสื้อและสร้อยคอ

บริการตรวจทางห้องปฏิบัติการ

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย มีบริการตรวจทางห้องปฏิบัติการ หรือที่เรียกกันว่า ตรวจแล็บ (Laboratory investigation หรือเรียกย่อว่า Lab test) อาทิ การตรวจเลือด การตรวจพันธุกรรม (DNA) การตรวจปัสสาวะ การตรวจอุจจาระ การตรวจเชื้อ โดยแพทย์และเจ้าหน้าที่เทคนิคการแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขา การตรวจทางห้องปฏิบัติการเป็นวิธีการหนึ่งของการสืบค้นเพื่อ

  • ช่วยยืนยันการวินิจฉัยโรคทางคลินิกของแพทย์
  • ช่วยการวินิจฉัยโรคของแพทย์
  • ช่วยประเมินวิธีรักษาและผลข้างเคียงจากการรักษา
  • ช่วยในการติดตามโรค
  • ช่วยการประเมินสุขภาพผู้ป่วย

ข้อบ่งชี้ในการตรวจทางห้องปฏิบัติการ คือ อาการผู้ป่วย ประวัติทางการแพทย์ต่างๆ ผลจากการตรวจร่างกาย รวมทั้งจากดุลพินิจของแพทย์ โดยโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ให้บริการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อให้สามารถวินิจฉัยและประเมินอาการของผู้ป่วยได้ครอบคลุม ด้วยเครื่องมือและวิทยาการทางการแพทย์ที่ทันสมัย

  1. การบริการตรวจทางรังสีวิทยา
    • การบริการตรวจด้วยเครื่องคลื่นสะท้อนในสนามแม่เหล็ก (MRI)
    • การบริการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan)
    • การบริการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์เต้านม
    • การบริการตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์
    • การบริการตรวจทางรังสีรักษาและมะเร็งวิทยา
  2. การตรวจโครโมโซมและเนื้อเยื่อประสาท
  3. การตรวจทางพยาธิวิทยา
  4. การตรวจทางจุลชีววิทยา
  5. การตรวจทางปรสิตวิทยา
  6. การตรวจสารเป็นพิษ และ DNA
  7. การตรวจทางเวชศาสตร์ชันสูตร

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

  1. การบริการตรวจทางรังสีวิทยา อาคาร ภปร ชั้น 4 โทรศัพท์ 02 256 5370
    • การบริการตรวจด้วยเครื่องคลื่นสะท้อนในสนามแม่เหล็ก (MRI) อาคาร อภันตรีปชา โทรศัพท์ 02 256 4595
    • การบริการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) อาคาร จุลจักรพงษ์ โทรศัพท์  02 256 4160
    • การบริการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์เต้านม อาคาร ว่องวานิช ชั้น 2 โทรศัพท์ 02 256 4259
    • การบริการตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ อาคาร โปษยานนท์ ชั้น 3 โทรศัพท์ 02 256 4283-4
    • การบริการตรวจทางรังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ฝ่ายรังสีวิทยา 02 256 4100
  2. การตรวจทางเวชศาสตร์ชันสูตร อาคาร ภปร ชั้น4 02 256 5382
  3. การตรวจทางจุลชีววิทยา อาคาร ภปร ชั้น4 02 256 5374
  4. การตรวจโครโมโซมและเนื้อเยื่อประสาท อาคาร กายวิภาคศาสตร์ โทรศัพท์ 02 256 4281
  5. การตรวจทางปรสิตวิทยา อาคาร ภปร ชั้น4 โทรศัพท์ 02 256 5386
  6. การตรวจสารเป็นพิษ และDNA อาคาร นิติเวชศาสตร์ ชั้น2 และ4 โทรศัพท์ 02 256 4269 ต่อ 202
  7. การตรวจชิ้นเนื้อพยาธิวิทยา อาคาร อปร ชั้น1 โทรศัพท์ 02 256 4000 ต่อ3510

ส่วนตัว: บริการฉีดวัคซีน

การฉีดวัคซีนเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย ให้สามารถป้องกันการติดเชื้อจากโรคที่สามารถป้องกันได้  ในวัยผู้ใหญ่ยังจำเป็นต้องได้รับวัคซีน โดยเฉพาะผู้สูงอายุ เนื่องจากมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคติดเชื้อได้ง่าย ซึ่งสามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนที่จำเป็นได้ที่ เวชศาสตร์ป้องกันและสังคม อาคาร ภปร ชั้น 16 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และสถานเสาวภา สภากาชาดไทย โดยมีรายละเอียด ดังนี้

สถานที่ให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคในผู้ใหญ่

รายการวัคซีน อาคาร ภปร ชั้น 16
ราคารวมค่าบริการ (บาท)
สถานเสาวภา
ไข้สมองอักเสบ เจดี (Live)

ไข้สมองอักเสบ เจอี

ไข้หวัดใหญ่

386

ไข้เหลือง

คอตีบ , บาดทะยัก (คอตีบ , บาดทะยัก,ไอกรน)

573

งูสวัด

4,930

ไทฟอยด์

นิวโมคอคคัส (PPSV / PCV)

บาดทะยัก / คอตีบ / ไอกรน / โปลิโอ (Tdap+IPV)

บาดทะยัก / คอตีบ บาดทะยัก (TT / dT)

ปอดอักเสบ

2,457/1,214

โปลิโอ ชนิดรับประทาน

พิษสุนัขบ้า

419

มะเร็งปากมดลูก

2.564/เข็ม

เยื่อหุ้มสมองอักเสบ / โรคไข้กาฬหลังแอ่น (meningococcal menigitis)

634

ไวรัสตับอักเสบ  เอ

808/เข็ม

ไวรัสตับอักเสบ บี

414/เข็ม

ไวรัสตับอักเสบเอ และ บี

สุกใส

1,054

หัด หัดเยอรมัน คางทูม

431

อหิวาตกโรค ชนิดรับประทาน

ฮิวแมนปาปิโลมาไวรัส (Cervarix/Gardasil) 6,195

Anti HIV

บริการตรวจเลือดล่วงหน้า

บริการตรวจเลือดล่วงหน้า ช่องทางพิเศษ  สะดวกรวดเร็ว

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ได้เปิดบริการตรวจเลือดเพิ่มเติมช่องทางพิเศษที่สะดวกรวดเร็ว สำหรับผู้ป่วยที่ต้องการตรวจเลือดล่วงหน้าโดยไม่ต้องการผลเลือดในวันนั้น  ซึ่งการให้บริการตรวจเลือดล่วงหน้า ผู้ป่วยใช้สิทธิ์การรักษาได้ตามปกติ

 

 

สถานที่และเวลา

ผู้ป่วยสามารถเข้ารับบริการได้ที่ ห้องตรวจเลือดอาคาร ส.ธ. ชั้น 3

วันจันทร์ถึงวันศุกร์ เวลา 8.00 – 12.00 น.