บริการสัญญาณอินเตอร์เน็ตภายในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ Chula Hospital Wi-Fi เป็นบริการที่อำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้บริการโรงพยาบาลฯ และบุคลากรทางการแพทย์ ได้เชื่อมต่อสัญญาณอินเตอร์เน็ตโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ผ่านตู้คีออส Chula Hospital Wi-Fi ซึ่งตั้งอยู่ภายในอาคารที่ให้บริการ ได้แก่
- อาคารอุปการเวชชกิจ สามารถใช้บริการได้ 2 ชั่วโมง
- อาคาร 14 ชั้น สามารถใช้บริการได้ 24 ชั่วโมง
ขั้นตอนการเข้าใช้บริการ CHULA HOSPITAL WI-FI
- สอดบัตรผู้ป่วยเข้าที่ตู้บริการ Chula Hospital Wi-Fi เพื่อขอรับรหัสเข้าใช้งาน
- เข้าระบบเชื่อมต่อ Wi-Fi ในเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ เลือกเครือข่าย “Chula Hospital WiFi”
- ลงทะเบียนด้วยหมายเลขผู้ใช้งาน และรหัสเข้าใช้งานที่ได้จากตู้บริการฯ เพื่อทำการเชื่อมต่อเครือข่าย
- สามารถใช้งานอินเตอร์เน็ตได้ทันที เมื่อลงทะเบียนสำเร็จ
ตู้กดบัตรคิวอัตโนมัติ หรือที่เรียกว่า Smart Kiosk เป็นเทคโนโลยีที่ดึงข้อมูลส่วนตัวของผู้ป่วยจากบัตรประจำตัวผู้ป่วยของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ หรือใช้หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน โดยสามารถเชื่อมโยงเข้ากับข้อมูลในทะเบียนราษฎร์ ทำให้สามารถตรวจสอบสิทธิการรักษาของผู้ป่วยได้ (หากผู้ป่วยมีการลงทะเบียนสิทธิไว้ล่วงหน้า) โดยไม่ต้องยื่นตรวจสอบเอกสารเพิ่มเติม ซึ่งจะช่วยลดขั้นตอนและลดเวลาในการเข้าคิว ยื่นเอกสารเพื่อรับบัตรคิวตามระบบคิวปกติ ผู้ป่วยสามารถลงทะเบียน ตรวจรับสิทธิในการรักษา และรับบัตรคิวเพื่อเข้ารับการรักษาได้ที่ตู้นี้ตู้เดียว
บัตรคิวที่ได้จากตู้กดบัตรคิวอัตโนมัตินี้สามารถใช้เป็นใบนำทางสำหรับเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาได้ทันที โดยในบัตรคิวจะระบุหมายเลขคิว สถานที่ที่ผู้ป่วยต้องไปติดต่อ และรายละเอียดขั้นตอนที่ต้องเตรียมพร้อมสำหรับการติดต่อในลำดับต่อไป
สำหรับตู้กดบัตรคิวอัตโนมัติที่ให้บริการในโรงพยาบาลมี 3 ประเภท ได้แก่
1. ตู้สีฟ้า – ให้บริการผู้ป่วยบัตรทอง / ผู้พิการ / ประกันสังคมส่งต่อจากโรงพยาบาลอื่น และผู้ที่มีปัญหาทางสถานะ
2. ตู้สีเทา–เขียว – ให้บริการผู้ป่วยที่ใช้สิทธิอปท. / สมัครข้าราชการจ่ายตรง / เจ้าหน้าที่และครอบครัวสภากาชาดไทย / คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ / ศิษย์เก่าคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ / นิสิตแพทย์ / นักศึกษาพยาบาล และบริการแก้ไขชื่อ-สกุล
3. ตู้สีเทา–เหลือง – ให้บริการผู้ป่วยทั่วไป / ข้าราชการ / ผู้ป่วยบัตรทอง / ประกันสังคมโรงพยาบาลจุฬาฯ
ขั้นตอนการใช้บริการตู้บัตรคิวอัตโนมัติ (SMART KIOSK)
1. เตรียมบัตรประจำตัวผู้ป่วยโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ หรือบัตรประจำตัวประชาชน หรือเลข สำหรับการเริ่มต้นใช้งานเครื่องกดบัตรคิว
- ในกรณีที่ลืมนำบัตรทั้งสองชนิดมา ผู้ป่วยสามารถกรอกข้อมูลได้ด้วยตนเอง โดยใช้ตัวเลือกจากเมนูบนหน้าจอของเครื่องกดบัตรคิวเพื่อระบุข้อมูลส่วนตัวของตนเองให้ครบถ้วน แล้วจึงดำเนินการทำรายการตามขั้นตอนปกติ
2. เริ่มต้นทำรายการที่ตู้บัตรคิวอัตโนมัติด้วยการเสียบบัตรประจำตัว เพื่อเชื่อมต่อข้อมูลส่วนตัวกับฐานข้อมูลของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และฐานข้อมูลโรงพยาบาล
- หากใช้บัตรประจำตัวผู้ป่วยให้เสียบเข้าช่องด้านซ้าย
- หากใช้บัตรประจำตัวประชาชนให้เสียบเข้าช่องขวา
3. ตรวจสอบสิทธิการรักษา และทำรายการนัดพบแพทย์ในระบบคิว
4. รับบัตรคิวจากตู้บัตรคิวอัตโนมัติ โดยในบัตรคิวจะประกอบด้วยข้อมูลส่วนตัวที่ควรตรวจสอบให้ถูกต้องเพื่อใช้เป็นใบนำทางในการเข้าพบแพทย์ ดังนี้
- หมายเลขประจำตัวผู้ป่วย
- ชื่อ-นามสกุล
- ประเภทผู้ป่วย เช่น ผู้ป่วยทั่วไป, ผู้ป่วยประกันสังคม, ผู้ป่วยสิทธิอปท. เป็นต้น
- เคาน์เตอร์ หรือคลินิก ที่จะต้องไปติดต่อ
- รายละเอียดของการนัดหมาย ได้แก่ วันที่นัดหมาย, เวลาที่นัดหมาย, คลินิกหรือหน่วยงานที่นัดหมาย และสถานที่ที่นัดหมาย
5. นำบัตรคิวที่ได้มารอเรียกคิวเพื่อเข้าพบแพทย์ ดังนี้
- ผู้ป่วยจากตู้สีฟ้า
หากเป็นผู้ป่วยเก่า มาตรวจตามนัด รอเรียกคิวช่อง 1-5 เพื่อบันทึกสิทธิและรับคูปองหากเป็นผู้ป่วยใหม่ / ผู้ป่วยผิดนัด / มาไม่ตรงนัด ให้ติดต่อพยาบาลคัดแยกอาการก่อน จากนั้นรอเรียกคิวช่อง 1-5 เพื่อตรวจสอบสิทธิและรอรับคูปอง - ผู้ป่วยจากตู้สีเทา-เขียว รอเรียกบัตรคิวช่อง 16-19
- ผู้ป่วยจากตู้สีเทา- เหลือง
หากบัตรคิวขึ้นต้นด้วยตัวอักษร B ให้กรอกใบแจ้งอาการ และติดต่อพยาบาลคัดแยกอาการ จากนั้นรอเรียกคิวลงทะเบียน ช่องที่ 8-13หากบัตรคิวขึ้นต้นด้วยตัวอักษร C ให้กรอกใบแจ้งอาการและรอเรียกคิวลงทะเบียนช่องที่ 8-13หากบัตรคิวขึ้นต้นด้วยตัวอักษร D ให้กรอกใบแจ้งอาการหรือเตรียมใบตรวจทางห้องปฏิบัติการ รอเรียกคิวช่องที่ 14-15 เพื่อบันทึกสิทธิประกันสังคม
6. นำใบนำทางไปติดต่อเข้าพบแพทย์ตามชั้นตรวจที่แจ้งไว้
สำหรับผู้ที่มาใช้บริการที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สามารถใช้บริการห้องน้ำได้ตามอาคารต่างๆ ดังนี้
อาคาร | ชั้นที่ให้บริการห้องน้ำ |
---|---|
1. อาคาร ภปร | ทุกชั้น โดยชั้นใต้ดินมีบริการห้องน้ำ 24 ชั่วโมง |
2. อาคาร ส.ธ. | ทุกชั้น |
3. อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ | ทุกชั้น |
4. อาคาร 14 ชั้น | ชั้น 1 |
5. อาคาร สก. | ชั้น 1 |
6. อาคารนวมินทราชินี | ชั้น 1 |
7. อาคารคัคณางค์ | ชั้น 1 |
8. อาคารอุปการเวชกิจ | ชั้น 1 |
9. อาคารว่องวานิช | ชั้น 1 |
10. อาคาร อปร | ชั้น 1 |
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มีบริการห้องยาที่ไม่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์ โดยจำหน่ายยา และวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ต่างๆ อย่างครบครัน เช่น อุปกรณ์ช่วยเดิน รถเข็น เป็นต้น รวมถึงผลิตภัณฑ์เวชสำอาง แบรนด์ดังต่างๆ ซึ่งมีให้เลือกหลากหลาย ในร้านมีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำและให้บริการอย่างเป็นมิตร
สถานที่ตั้ง
ร้านเวชภัณฑ์คุณภาพ by KCMH อาคาร ภปร ชั้น 2
เปิดบริการ วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 08:30 – 19:30 น.
และวันเสาร์ เวลา 08:00 – 14:00 น.
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มีบริการธนาคารสำนักงานย่อยต่างๆ ได้แก่ ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงเทพ และธนาคารกสิกรไทย รวมถึงบริการตู้เอทีเอ็มตามจุดต่างๆ เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้รับความสะดวกรวดเร็วในการทำธุรกรรมทางการเงิน โดยมีรายละเอียดการให้บริการ ดังนี้
สำนักงานย่อยธนาคารไทยพาณิชย์
ตั้งอยู่ที่ อาคารภปร ชั้น G
เปิดบริการวันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 08.30 – 15.30 น.
บริการตู้เอทีเอ็มธนาคารไทยพาณิชย์
อาคาร ภปร ชั้น G
อาคาร สก. ชั้น1
อาคารอุปการเวชกิจ ชั้น G
หน้าอาคาร ส.ธ. ชั้น 1
หอพักนวไชยยันต์ ชั้น 1
สำนักงานย่อยธนาคารกรุงเทพ
ตั้งอยู่ที่ อาคาร ภปร ชั้น M
เปิดบริการ วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 08.30 – 15.30 น.
บริการตู้เอทีเอ็มธนาคารกรุงเทพ
อาคาร ภปร ชั้น M
อาคาร สก ชั้น 1
สำนักงานย่อยธนาคารกสิกรไทย
ตั้งอยู่ที่ อาคาร ภปร ชั้น M
เปิดบริการ วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 08.30 – 15.30 น.
บริการตู้เอทีเอ็มธนาคารกสิกรไทย
อาคาร ภปร ชั้น M
อาคาร สก ชั้น 1
อาคารอุปการเวชกิจ ชั้น 1
อาคารจอดรถ 3 ชั้น 1
อาคาร ส.ธ. ชั้น 1
บริการตู้เอทีเอ็มธนาคารกรุงไทย
ตู้เอทีเอ็ม
อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น 1 และชั้น 14
อาคารอุปการเวชกิจ ชั้น 1
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มีบริการที่ทำการไปรษณีย์ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการที่ต้องการจัดส่งจดหมาย เอกสาร หรือพัสดุต่างๆ โดยจำหน่ายตราไปรษณียากร ไปรษณียบัตร กล่อง และซองเอกสารต่างๆ พร้อมบริการส่งไปรษณีย์ธรรมดา ไปรษณีย์และพัสดุลงทะเบียนทั้งในและต่างประเทศ
* ที่ทำการไปรษณีย์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ไม่มีบริการส่งไปรษณีย์และพัสดุด่วนพิเศษ (Express Mail Service หรือ EMS ) บริการธนาณัติ และตั๋วแลกเงิน
สถานที่ตั้ง
ที่ทำการไปรษณีย์ไทย อาคารผ่าตัดเก่า (111)
เปิดบริการ วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 08:30 – 15:30 น.
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มีบริการรถตู้รับ – ส่ง ผู้ป่วยและญาติผู้ป่วย เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางไปยังอาคารที่รับการรักษา
1 . อาคาร ภปร อาคารไนติงเกล และอาคาร ส.ธ. โดยรถที่ใช้เป็นรถตู้ ให้บริการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
จุดบริการรับ – ส่ง ผู้ป่วยและญาติผู้ป่วย มีดังนี้
- จุดหน้าห้องฉุกเฉิน (ศูนย์รับ-ส่งผู้ป่วย) อาคารจักรพงษ์
- จุดหน้าอาคาร ไนติงเกล-โอลิมปิค
- จุดหน้าอาคาร ส.ธ.
วันและเวลาให้บริการ
รถตู้รับ -ส่งผู้ป่วยและญาติ (ผู้สูงอายุ) ให้บริการในวันจันทร์ – วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 07.00 น. – 16.00 น.
โดยรถจะวิ่งวน รับ -ส่งผู้ป่วยและญาติ (ผู้สูงอายุ) จากจุดที่ 1 ถึงจุดที่ 3 ใช้เวลาประมาณ 15 นาที
2. ให้บริการรถตู้รับ-ส่งบริเวณใกล้เคียงฟรี! (ไม่มีค่าใช้จ่ายนอกเหนือจากค่าที่จอดรถ) ท่านสามารถจอดรถได้ที่
-
- อาคารสยามกิตติ์
-
- อาคารจามจุรีสแควร์
จุดรับ-ส่งในรพ.จุฬาลงกรณ์
-
- อาคารนวัตบริบาล และ
-
- อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์
วันและเวลาให้บริการ
วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 07.00 – 15.00 น.
หยุดวันเสาร์ – วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์
นอกจากนี้ยังมีบริการเสริม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เปิดให้บริการรับจอดรถ (Valet Parking) โดยสามารถใช้บริการได้ที่
ตั้งแต่วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 06.00-21.00 น. |
การรับสิทธิ์ส่วนลดค่าจอดรถ ณ จุดบริการ E-Stamp
ผู้ใช้บริการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ที่นำรถยนต์มาจอดในลานจอดรถหน้าอาคาร ภปร หรือ อาคารนวัตบริบาล สามารถรับสิทธิ์ส่วนลดค่าจอดรถได้โดยการนำบัตรจอดรถ พร้อมหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
มาแสดงเพื่อรับส่วนลด ณ จุดบริการ E-Stamp ดังนี้
เวลา 21.00 น. เป็นต้นไป |