ร้านค้าและศูนย์อาหาร

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มีศูนย์อาหาร ร้านอาหาร และร้านค้าต่างๆ มากมาย โดยมีอาหารหลากหลายประเภท ทั้งอาหารไทยและเทศ อาหารมังสวิรัส อาหารเจ รวมถึงอาหารมุสลิม ไว้คอยให้บริการ สามารถดูสถานที่ตั้งและรายละเอียดเกี่ยวกับร้านค้าต่างๆ ได้ที่นี่…

ร้านชุมชน ฬ ตั้งอยู่บริเวณหลังตึกวชิรุณหิศ เป็นสถานที่รับประทานอาหารและมุมพักผ่อน โดยมีร้านค้าคีออสจำหน่ายอาหาร จำนวน 4 ร้าน  ได้แก่  ร้านข้าวกล่อง  2 ร้าน  ร้านเครื่องดื่ม และร้านขนมและอาหารว่าง ซึ่งแต่ละร้านในชุมชน ฬ.จุฬาถูกคัดสรรมาด้วยคุณภาพ ครบครัน และครบเครื่องด้านความอร่อย ความสดใหม่ สะอาด ถูกสุขอนามัย และตรงตามมาตรฐานของโรงพยาบาล

 

ชุมชน ฬ แห่งนี้ เกิดขึ้นจากนโยบายของทางโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ที่ต้องการเพิ่มจุดบริการอาหารและเครื่องดื่มในบริเวณอาคารต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกและจำหน่ายอาหารให้เพียงพอกับความต้องการของทั้งบุคลากรภายในโรงพยาบาล ผู้ป่วย ญาติผู้ป่วย รวมถึงประชาชนทั่วไปที่มารับประทานอาหารที่โรงพยาบาล โดยร้านชุมชน ฬ นี้จำหน่ายอาหารที่รับประทานได้ง่าย ใครมีเวลาจำกัด สามารถซื้อพกพาไปรับประทานตามสถานที่ต่างๆ ได้ ซึ่งร้านชุมชน ฬ จัดบริการห้องอาหารปรับอากาศขนาดเล็ก ตั้งอยู่ทางเดินฝั่งอาคาร สก ไว้รองรับ

 

ร้านชุมชน ฬ  มีทางเข้าสองทาง คือด้านหลังตึกวชิรุณหิศฝั่งด้านร้าน พัฟแอนด์พาย  และด้านหลังตึกวชิรุณหิศ ฝั่งทางเดินไปอาคาร สก เปิดบริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 05.30 – 16.00 น.

ชุมชน ฬ มีร้านค้าคีออสจำหน่ายอาหาร จำนวน 4 ร้าน  ได้แก่

ร้านขนม ของหวาน และอาหารว่าง นุ๊คแน๊ค

ร้านขนมจีน อาหารกล่อง พิศมัย

ร้านเครื่องดื่มมิลาเนส

ร้านฟู้ดบ็อกซ์

สถานที่ศาสนกิจ

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ให้บริการผู้ป่วยด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัยและมีบุคลากรทางการแพทย์ที่มีคุณภาพ พร้อมดูแลผู้ป่วยโดยไม่เลือก เชื้อชาติ ชนชั้นวรรณะ ศาสนา การเมือง โดยมีเป้าหมายให้ผู้ป่วยมีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์ แข็งแรง สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข นอกจากนี้โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ยังเล็งเห็นความสำคัญของการเยียวยาจิตใจของผู้ป่วย และญาติผู้ป่วยอีกด้วย ดังนั้นสถานที่ศาสนกิจ ซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจของบุคคลหลากหลายศาสนาจึงจำเป็นอย่างยิ่ง ในการสร้างขวัญและกำลังใจให้กับผู้ป่วยและญาติผู้ป่วย  รวมถึงผู้ที่ต้องปฏิบัติศาสนกิจตามหลักศาสนา ความเชื่อ และความศรัทธาของแต่ละบุคคล โดยโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ได้จัดตั้งสถานที่ศาสนกิจ ได้แก่ ห้องปฏิบัติศาสนกิจสำหรับชาวมุสลิม ห้องปฏิบัติศาสนกิจของคริสต์ศาสนิกชน  ห้องปฏิบัติศาสนกิจของพุทธศาสนิกชนอาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ และอาคารวิชิรญาณวงศ์  เพื่อให้ผู้ป่วย ญาติผู้ป่วย และบุคลากรในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้มีศูนย์รวมจิตใจ เพื่อให้มีสุขภาพจิตที่ดี อันเป็นปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลให้มีสุขภาพกายที่ดียิ่งขึ้นต่อไป

ห้องปฏิบัติศาสนกิจศาสนาพุทธ  อาคารวชิรญาณวงศ์ 

 

อาคารวชิรญาณวงศ์ ตั้งอยู่ด้านหน้าอาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ก่อสร้างในปี พ.ศ. 2525 เพื่อเป็นอนุสรณ์รำลึกถึงสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น นพวงศ์) พระราชอุปัธยาจารย์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และพระอุปัชฌาจารย์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก โดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดตึกฯ ในวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2526

อาคารวชิรญาณวงศ์ เป็นอาคารทรงไทยประยุกต์ 4 ชั้น โดยชั้นที่ 3 และชั้นที่ 4 ใช้เป็นสถานพยาบาลรักษาพยาบาลพระภิกษุและสามเณรอาพาธ ชั้นที่ 2 เป็นสถานที่ประกอบพิธีทางพระพุทธศาสนา โดยมีห้องแสดงธรรมหรือห้องปฏิบัติธรรม ซึ่งได้เชิญพระภิกษุมาแสดงธรรมอยู่เสมอ เป็นการเปิดโอกาสให้บุคลากรในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ผู้ป่วย และญาติผู้ป่วยที่ไม่มีโอกาสได้เข้าวัดสามารถประกอบพิธีทางศาสนาได้ รวมถึงมีกิจกรรมนั่งสมาธิปฏิบัติธรรมเพื่อให้จิตใจสงบและมีสมาธิในการทำงาน โดยเปิดโอกาสให้นิสิตแพทย์ แพทย์ บุคลากรทั้งในและนอกโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย รวมถึงผู้ป่วย และญาติผู้ป่วยสามารถเข้ามาร่วมกิจกรรมได้

นอกจากนี้ที่อาคารวชิรญาณวงศ์ ยังมีบริการจัดพิธีทำบุญเลี้ยงพระ จัดเลี้ยงภัตตาหารพระภิกษุอาพาธ ในโอกาสต่างๆ เช่น วันคล้ายวันเกิด หรือ ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ล่วงลับ โดยมีทั้งการเลี้ยงพระเช้าและเลี้ยงพระเพล ส่วนในชั้นที่ 1 ของอาคารนั้นใช้เป็นสถานที่เปิดรับบริจาคเงินเพื่อบำรุงพระภิกษุและสามเณรอาพาธในเรื่องการรักษาพยาบาลทางการแพทย์  บริจาคเพื่อรักษาพยาบาลคนไข้สามัญ เพื่อก่อสร้างซ่อมแซมอาคารต่างๆ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดหาเครื่องมือแพทย์ และอื่นๆ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานในโรงพยาบาลและสำนักงานต่างๆ ของสภากาชาดไทย อีกทั้งบริเวณชั้น 1 ของอาคารยังใช้เป็นที่ตั้งของแผนกรับแจ้งความจำนงอุทิศร่างกายเพื่อการศึกษาและวิจัยทางการแพทย์อีกด้วย

 

ห้องปฏิบัติการศาสนาพุทธ

อาคารวชิรญาณวงศ์  ชั้น 2

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

 

 

ห้องปฏิบัติศาสนกิจของศาสนาพุทธ อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น 14

อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น 14 เป็นที่ตั้งของห้องปฏิบัติศาสนกิจหลากหลาย และหนึ่งในนั้นคือ ห้องปฏิบัติศาสนกิจขอศาสนาพุทธ โดยทางโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้จัดให้มีห้องพระขนาดกลาง ภายในห้องบุพรมอย่างดี และมีพระประธานขนาดใหญ่ เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้เข้าไปสักการะบูชา ถัดจากห้องพระยังมีห้องอเนกประสงค์ขนาดกลางซึ่งใช้เป็นสถานที่นั่งสมาธิปฏิบัติธรรม และแสดงธรรมเทศนาของพระภิกษุสงฆ์ โดยในแต่ละสัปดาห์จะมีพระภิกษุสงฆ์ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนมาแสดงธรรมเทศนาแก่ผู้ป่วย ญาติผู้ป่วย และบุคลากรผู้เข้ามารับบริการ ทุกวันพุธ เวลา 12.00 – 13.00 ถือเป็นอีกหนึ่งสถานที่พึ่งทางใจของพุทธศาสนิกชนได้เป็นอย่างดี

นอกจากนี้ด้านในอาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น 14 ยังมีสถานที่สำหรับจำหน่ายสินค้าอุปโภคและบริโภค มีร้านฟู้ดเพลสขนาดใหญ่ ที่ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง  มีศูนย์อาหารที่ทันสมัยและมีอาหารมากมายไว้คอยบริการ มีห้องน้ำสะอาด และยังมีสวนลอยฟ้ากลางแจ้งที่จัดตกแต่งอย่างสวยงาม เป็นพื้นที่สีเขียวที่เหมาะสำหรับพักผ่อนและผ่อนคลายจิตใจสำหรับผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี

 

ห้องปฏิบัติศาสนกิจของศาสนาพุทธ

อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น 14 ระเบียงรมณีย์ โซนศาสนา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

 

ห้องปฏิบัติศาสนกิจของศาสนาอิสลาม

 

ห้องปฏิบัติศาสนกิจของศาสนาอิสลาม หรือ ห้องละหมาด เป็นห้องขนาดใหญ่ กว้างขวาง ตกแต่งผนังห้องด้วยลวดลายสวยงาม และปูพรมลวดลายสวยงาม เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับชาวมุสลิมที่มารักษาตัวที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ แห่งนี้รวมถึงญาติชาวมุสลิมที่มาดูแลผู้ป่วยให้สามารถปฏิบัติศาสนกิจตามความเชื่อและความศรัทธาในศาสนาของตนได้อย่างเต็มที่

ห้องละหมาด ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ แบ่งออกเป็น 2 ห้อง ได้แก่ ห้องละหมาดสำหรับผู้ชาย และห้องละหมาดสำหรับผู้หญิง โดยจะอยู่ติดกัน ซึ่งแต่ละห้องจะมีสิ่งอำนวยความสะดวกเหมือนกัน กล่าวคือ มีมุมสำหรับชำระล้างร่างกาย  มีชั้นวางรองเท้าเป็นระเบียบ และพื้นที่โล่งด้านในสำหรับปฏิบัติศาสนกิจ เป็นต้น อีกทั้งบริเวณด้านนอกห้องปฏิบัติศาสนกิจ ยังเป็นลานโล่งให้ความรู้สึกสงบ ปลอดโปร่ง เหมาะแก่การพักผ่อนทั้งร่างกายและจิตใจ

นอกจากนี้ด้านในอาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น 14 ยังมีสถานที่สำหรับจำหน่ายสินค้าอุปโภคและบริโภคฮาลาลให้กับชาวมุลลิมโดยเฉพาะ มีร้านฟู้ดเพลสขนาดใหญ่ ที่ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง  อีกทั้งยังมีศูนย์อาหารที่ทันสมัยและมีอาหารมากมายไว้คอยบริการ และยังมีสวนลอยฟ้ากลางแจ้งที่จัดตกแต่งอย่างสวยงาม เป็นพื้นที่สีเขียวที่เหมาะสำหรับพักผ่อนและผ่อนคลายจิตใจสำหรับผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี

 

 

ห้องปฏิบัติศาสนกิจของศาสนาอิสลาม

อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์  ชั้น 14 ระเบียงรมณีย์ โซนศาสนา

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

ห้องปฏิบัติศาสนกิจของศาสนาคริสต์

 

ห้องปฏิบัติการศาสนกิจของศาสนาคริสต์ เป็นห้องสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีขนาดไม่ใหญ่โตนัก แต่ก็ให้บรรยากาศที่สงบและโปร่งสบายด้วยการตกแต่งแบบเรียบหรู เน้นโทนสีขาวและมีสัญลักษณ์กางเขนขนาดใหญ่อยู่ที่ผนังกลางห้อง  มีเก้าอี้เรียงราย สำหรับนั่งอ่านพระคัมภีร์ หรืออธิษฐานตามความเชื่อของศาสนา สำหรับการตกแต่งภูมิทัศน์ได้รับความอนุเคราะห์เงินบริจาคจากภาคีเครือข่ายคริสเตียนต่างๆ จึงทำให้ห้องดูสวยงาม และเต็มไปด้วยศรัทธาแห่งการรักษาทางจิตใจ อีกทั้งบริเวณด้านนอกห้องปฏิบัติศาสนกิจ ยังเป็นลานโล่งให้ความรู้สึกสงบ ปลอดโปร่ง เหมาะแก่การพักผ่อนทั้งร่างกายและจิตใจ

นอกจากนี้ด้านในอาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น 14 ยังมีสถานที่สำหรับจำหน่ายสินค้าอุปโภคและบริโภค มีร้านฟู้ดเพลสขนาดใหญ่ ที่ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง  มีศูนย์อาหารที่ทันสมัยและมีอาหารมากมายไว้คอยบริการ มีห้องน้ำสะอาด และยังมีสวนลอยฟ้ากลางแจ้งที่จัดตกแต่งอย่างสวยงาม เป็นพื้นที่สีเขียวที่เหมาะสำหรับพักผ่อนและผ่อนคลายจิตใจสำหรับผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี

 

ห้องปฏิบัติศาสนกิจของศาสนาคริสต์

อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น 14 ระเบียงรมณีย์  โซนศาสนา

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

 

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มีสถานที่อันเป็นจุดสักการะที่สำคัญ ซึ่งเป็นศูนย์รวมใจของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ดังนี้

 

1. พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ณ ศาลาทินทัต

 

 

 

2. พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ณ ลานพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 8 หน้าอาคาร อปร

 

 

 

3. องค์จำลองพระทีฆายุมหมงคล (หลวงพ่อดำ) ณ ด้านหน้า อาคารวชิรญาณวงศ์  และพระพุทธรูป ภปร ณ อาคารวชิรญาณวงศ์ ชั้น

 


 

 

4. พระพุทธรูปหล่อเหมือน สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก และพระพุทธรูปหล่อ พระพุทธฑีฆายุรมงคล (จำลอง) ณ โถงอาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์

 

 

 

5. พระพุทธรูปหล่อ พระพุทธฑีฆายุรมงคล (จำลอง) ห้องพระพุทธศาสนา ณ อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น 14

 

 

 

6. ศาลพระภูมิ หน้าตึกอำนวยนรธรรม

 

 

สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ

บริการสัญญาณอินเตอร์เน็ตภายในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์  Chula Hospital Wi-Fi เป็นบริการที่อำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้บริการโรงพยาบาลฯ และบุคลากรทางการแพทย์ ได้เชื่อมต่อสัญญาณอินเตอร์เน็ตโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ผ่านตู้คีออส Chula Hospital Wi-Fi ซึ่งตั้งอยู่ภายในอาคารที่ให้บริการ ได้แก่

  1. อาคารอุปการเวชชกิจ   สามารถใช้บริการได้   2 ชั่วโมง
  2. อาคาร 14 ชั้น            สามารถใช้บริการได้  24 ชั่วโมง

 

ขั้นตอนการเข้าใช้บริการ CHULA HOSPITAL WI-FI

  1. สอดบัตรผู้ป่วยเข้าที่ตู้บริการ Chula Hospital Wi-Fi   เพื่อขอรับรหัสเข้าใช้งาน
  2. เข้าระบบเชื่อมต่อ Wi-Fi ในเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ เลือกเครือข่าย “Chula Hospital WiFi”
  3. ลงทะเบียนด้วยหมายเลขผู้ใช้งาน และรหัสเข้าใช้งานที่ได้จากตู้บริการฯ เพื่อทำการเชื่อมต่อเครือข่าย
  4. สามารถใช้งานอินเตอร์เน็ตได้ทันที เมื่อลงทะเบียนสำเร็จ

 

ตู้กดบัตรคิวอัตโนมัติ หรือที่เรียกว่า Smart Kiosk  เป็นเทคโนโลยีที่ดึงข้อมูลส่วนตัวของผู้ป่วยจากบัตรประจำตัวผู้ป่วยของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์​ หรือใช้หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน โดยสามารถเชื่อมโยงเข้ากับข้อมูลในทะเบียนราษฎร์ ทำให้สามารถตรวจสอบสิทธิการรักษาของผู้ป่วยได้ (หากผู้ป่วยมีการลงทะเบียนสิทธิไว้ล่วงหน้า) โดยไม่ต้องยื่นตรวจสอบเอกสารเพิ่มเติม ซึ่งจะช่วยลดขั้นตอนและลดเวลาในการเข้าคิว ยื่นเอกสารเพื่อรับบัตรคิวตามระบบคิวปกติ  ผู้ป่วยสามารถลงทะเบียน ตรวจรับสิทธิในการรักษา และรับบัตรคิวเพื่อเข้ารับการรักษาได้ที่ตู้นี้ตู้เดียว

บัตรคิวที่ได้จากตู้กดบัตรคิวอัตโนมัตินี้สามารถใช้เป็นใบนำทางสำหรับเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาได้ทันที โดยในบัตรคิวจะระบุหมายเลขคิว สถานที่ที่ผู้ป่วยต้องไปติดต่อ และรายละเอียดขั้นตอนที่ต้องเตรียมพร้อมสำหรับการติดต่อในลำดับต่อไป

 

สำหรับตู้กดบัตรคิวอัตโนมัติที่ให้บริการในโรงพยาบาลมี 3 ประเภท ได้แก่

 

1. ตู้สีฟ้า – ให้บริการผู้ป่วยบัตรทอง / ผู้พิการ / ประกันสังคมส่งต่อจากโรงพยาบาลอื่น และผู้ที่มีปัญหาทางสถานะ

2. ตู้สีเทาเขียว – ให้บริการผู้ป่วยที่ใช้สิทธิอปท. / สมัครข้าราชการจ่ายตรง / เจ้าหน้าที่และครอบครัวสภากาชาดไทย / คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ / ศิษย์เก่าคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ / นิสิตแพทย์ / นักศึกษาพยาบาล และบริการแก้ไขชื่อ-สกุล

3. ตู้สีเทาเหลือง – ให้บริการผู้ป่วยทั่วไป / ข้าราชการ / ผู้ป่วยบัตรทอง / ประกันสังคมโรงพยาบาลจุฬาฯ

 

ขั้นตอนการใช้บริการตู้บัตรคิวอัตโนมัติ (SMART KIOSK)

1. เตรียมบัตรประจำตัวผู้ป่วยโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ หรือบัตรประจำตัวประชาชน หรือเลข สำหรับการเริ่มต้นใช้งานเครื่องกดบัตรคิว

  • ในกรณีที่ลืมนำบัตรทั้งสองชนิดมา ผู้ป่วยสามารถกรอกข้อมูลได้ด้วยตนเอง โดยใช้ตัวเลือกจากเมนูบนหน้าจอของเครื่องกดบัตรคิวเพื่อระบุข้อมูลส่วนตัวของตนเองให้ครบถ้วน แล้วจึงดำเนินการทำรายการตามขั้นตอนปกติ

 

2. เริ่มต้นทำรายการที่ตู้บัตรคิวอัตโนมัติด้วยการเสียบบัตรประจำตัว เพื่อเชื่อมต่อข้อมูลส่วนตัวกับฐานข้อมูลของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และฐานข้อมูลโรงพยาบาล

  • หากใช้บัตรประจำตัวผู้ป่วยให้เสียบเข้าช่องด้านซ้าย
  • หากใช้บัตรประจำตัวประชาชนให้เสียบเข้าช่องขวา

 

3. ตรวจสอบสิทธิการรักษา และทำรายการนัดพบแพทย์ในระบบคิว

 

4. รับบัตรคิวจากตู้บัตรคิวอัตโนมัติ โดยในบัตรคิวจะประกอบด้วยข้อมูลส่วนตัวที่ควรตรวจสอบให้ถูกต้องเพื่อใช้เป็นใบนำทางในการเข้าพบแพทย์ ดังนี้

  • หมายเลขประจำตัวผู้ป่วย
  • ชื่อ-นามสกุล
  • ประเภทผู้ป่วย เช่น ผู้ป่วยทั่วไป, ผู้ป่วยประกันสังคม, ผู้ป่วยสิทธิอปท. เป็นต้น
  • เคาน์เตอร์ หรือคลินิก ที่จะต้องไปติดต่อ
  • รายละเอียดของการนัดหมาย ได้แก่ วันที่นัดหมาย, เวลาที่นัดหมาย, คลินิกหรือหน่วยงานที่นัดหมาย และสถานที่ที่นัดหมาย

 

5. นำบัตรคิวที่ได้มารอเรียกคิวเพื่อเข้าพบแพทย์ ดังนี้

  • ผู้ป่วยจากตู้สีฟ้า
    หากเป็นผู้ป่วยเก่า มาตรวจตามนัด  รอเรียกคิวช่อง 1-5 เพื่อบันทึกสิทธิและรับคูปองหากเป็นผู้ป่วยใหม่ / ผู้ป่วยผิดนัด / มาไม่ตรงนัด  ให้ติดต่อพยาบาลคัดแยกอาการก่อน จากนั้นรอเรียกคิวช่อง  1-5 เพื่อตรวจสอบสิทธิและรอรับคูปอง
  • ผู้ป่วยจากตู้สีเทา-เขียว รอเรียกบัตรคิวช่อง 16-19
  • ผู้ป่วยจากตู้สีเทา- เหลือง
    หากบัตรคิวขึ้นต้นด้วยตัวอักษร​ B ให้กรอกใบแจ้งอาการ และติดต่อพยาบาลคัดแยกอาการ  จากนั้นรอเรียกคิวลงทะเบียน ช่องที่ 8-13หากบัตรคิวขึ้นต้นด้วยตัวอักษร C ให้กรอกใบแจ้งอาการและรอเรียกคิวลงทะเบียนช่องที่ 8-13หากบัตรคิวขึ้นต้นด้วยตัวอักษร D ให้กรอกใบแจ้งอาการหรือเตรียมใบตรวจทางห้องปฏิบัติการ รอเรียกคิวช่องที่ 14-15 เพื่อบันทึกสิทธิประกันสังคม

 

6. นำใบนำทางไปติดต่อเข้าพบแพทย์ตามชั้นตรวจที่แจ้งไว้

 สำหรับผู้ที่มาใช้บริการที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สามารถใช้บริการห้องน้ำได้ตามอาคารต่างๆ ดังนี้

 

อาคาร ชั้นที่ให้บริการห้องน้ำ
1. อาคาร ภปร ทุกชั้น โดยชั้นใต้ดินมีบริการห้องน้ำ 24 ชั่วโมง
2. อาคาร ส.ธ. ทุกชั้น
3. อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ทุกชั้น
4. อาคาร 14 ชั้น ชั้น 1
5. อาคาร สก. ชั้น 1
6. อาคารนวมินทราชินี ชั้น 1
7. อาคารคัคณางค์ ชั้น 1
8. อาคารอุปการเวชกิจ ชั้น 1
9. อาคารว่องวานิช ชั้น 1
10.  อาคาร อปร ชั้น 1

 

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มีบริการห้องยาที่ไม่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์ โดยจำหน่ายยา และวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ต่างๆ อย่างครบครัน  เช่น อุปกรณ์ช่วยเดิน รถเข็น เป็นต้น รวมถึงผลิตภัณฑ์เวชสำอาง แบรนด์ดังต่างๆ ซึ่งมีให้เลือกหลากหลาย ในร้านมีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำและให้บริการอย่างเป็นมิตร

สถานที่ตั้ง

ร้านเวชภัณฑ์คุณภาพ by KCMH อาคาร ภปร ชั้น 2
เปิดบริการ วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 08:30 – 19:30 น.
และวันเสาร์ เวลา 08:00 – 14:00 น.

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มีบริการธนาคารสำนักงานย่อยต่างๆ ได้แก่ ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงเทพ และธนาคารกสิกรไทย รวมถึงบริการตู้เอทีเอ็มตามจุดต่างๆ เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้รับความสะดวกรวดเร็วในการทำธุรกรรมทางการเงิน โดยมีรายละเอียดการให้บริการ ดังนี้

 

สำนักงานย่อยธนาคารไทยพาณิชย์

ตั้งอยู่ที่ อาคารภปร ชั้น G

เปิดบริการวันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 08.30 – 15.30 น.

 

 

 

บริการตู้เอทีเอ็มธนาคารไทยพาณิชย์

อาคาร ภปร ชั้น G

อาคาร สก. ชั้น1

อาคารอุปการเวชกิจ ชั้น G

หน้าอาคาร ส.ธ. ชั้น 1

หอพักนวไชยยันต์ ชั้น 1

 

 

สำนักงานย่อยธนาคารกรุงเทพ 

ตั้งอยู่ที่ อาคาร ภปร ชั้น M

เปิดบริการ วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 08.30 – 15.30 น.

 

 

 

บริการตู้เอทีเอ็มธนาคารกรุงเทพ

อาคาร ภปร ชั้น M

อาคาร สก ชั้น 1

 

 

สำนักงานย่อยธนาคารกสิกรไทย

ตั้งอยู่ที่ อาคาร ภปร ชั้น M

เปิดบริการ วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 08.30 – 15.30 น.

 

 

 

บริการตู้เอทีเอ็มธนาคารกสิกรไทย

อาคาร ภปร ชั้น M

อาคาร สก ชั้น 1

อาคารอุปการเวชกิจ ชั้น 1

อาคารจอดรถ 3 ชั้น 1

อาคาร ส.ธ. ชั้น 1

 

 

 

บริการตู้เอทีเอ็มธนาคารกรุงไทย

ตู้เอทีเอ็ม

อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น 1 และชั้น 14

อาคารอุปการเวชกิจ ชั้น 1

 

 

 

 

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มีบริการที่ทำการไปรษณีย์ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการที่ต้องการจัดส่งจดหมาย เอกสาร หรือพัสดุต่างๆ โดยจำหน่ายตราไปรษณียากร ไปรษณียบัตร กล่อง และซองเอกสารต่างๆ  พร้อมบริการส่งไปรษณีย์ธรรมดา ไปรษณีย์และพัสดุลงทะเบียนทั้งในและต่างประเทศ

 

* ที่ทำการไปรษณีย์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ไม่มีบริการส่งไปรษณีย์และพัสดุด่วนพิเศษ (Express Mail Service หรือ EMS ) บริการธนาณัติ และตั๋วแลกเงิน 

 

สถานที่ตั้ง

ที่ทำการไปรษณีย์ไทย อาคารผ่าตัดเก่า (111)
เปิดบริการ วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 08:30 – 15:30 น.

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มีบริการรถตู้รับ – ส่ง ผู้ป่วยและญาติผู้ป่วย เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางไปยังอาคารที่รับการรักษา

1 . อาคาร ภปร  อาคารไนติงเกล และอาคาร ส.ธ. โดยรถที่ใช้เป็นรถตู้ ให้บริการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
จุดบริการรับ – ส่ง ผู้ป่วยและญาติผู้ป่วย มีดังนี้

  1. จุดหน้าห้องฉุกเฉิน (ศูนย์รับ-ส่งผู้ป่วย) อาคารจักรพงษ์
  2. จุดหน้าอาคาร ไนติงเกล-โอลิมปิค
  3. จุดหน้าอาคาร ส.ธ.

 

 

วันและเวลาให้บริการ

รถตู้รับ -ส่งผู้ป่วยและญาติ (ผู้สูงอายุ) ให้บริการในวันจันทร์ – วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 07.00 น. – 16.00 น.

โดยรถจะวิ่งวน รับ -ส่งผู้ป่วยและญาติ (ผู้สูงอายุ) จากจุดที่ 1 ถึงจุดที่ 3 ใช้เวลาประมาณ 15 นาที

 

2. ให้บริการรถตู้รับ-ส่งบริเวณใกล้เคียงฟรี! (ไม่มีค่าใช้จ่ายนอกเหนือจากค่าที่จอดรถ) ท่านสามารถจอดรถได้ที่

    • อาคารสยามกิตติ์

    • อาคารจามจุรีสแควร์

จุดรับ-ส่งในรพ.จุฬาลงกรณ์

    • อาคารนวัตบริบาล และ

    • อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์

วันและเวลาให้บริการ

วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 07.00 – 15.00 น.
หยุดวันเสาร์ – วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์

 


 

นอกจากนี้ยังมีบริการเสริม
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เปิดให้บริการรับจอดรถ (Valet Parking)
โดยสามารถใช้บริการได้ที่

  • ด้านหน้าอาคาร ภปร ชั้น G
  • อาคารนวัตบริบาล ชั้น 1

ตั้งแต่วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 06.00-21.00 น.
(ไม่มีค่าบริการเพิ่มเติมนอกเหนือจากอัตราค่าที่จอดรถ)

 

การรับสิทธิ์ส่วนลดค่าจอดรถ ณ จุดบริการ E-Stamp
ผู้ใช้บริการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ที่นำรถยนต์มาจอดในลานจอดรถหน้าอาคาร ภปร หรือ อาคารนวัตบริบาล สามารถรับสิทธิ์ส่วนลดค่าจอดรถได้โดยการนำบัตรจอดรถ พร้อมหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้

  • ใบเสร็จค่ารักษาพยาบาล
  • ใบนำทาง
  • ใบสรุปรายการยา
  • บัตรนัดตรวจ หรือ กายภาพบำบัด
  • ใบสั่งตรวจทางห้องปฎิบัติการ
  • ใบรับรองแพทย์
  • เอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

มาแสดงเพื่อรับส่วนลด ณ จุดบริการ E-Stamp ดังนี้
เวลา 06.00-21.00 น.

  • จุดบริการ E-Stamp ด้านหน้าอาคาร ภปร ชั้น G
  • ด้านหน้าอาคารนวัตบริบาล ชั้น 1

เวลา 21.00 น. เป็นต้นไป
ติดต่อจุดชำระเงิน ณ บริเวณประตูทางออก