กุมารเวชศาสตร์

Pediatrics

ต้นแบบการดูแลรักษาเด็กป่วย
ด้วยมาตรฐานระดับนานาชาติ

นับตั้งแต่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2457 งานบริการผู้ป่วยกุมารเวชกรรมได้เปิดดำเนินการภายใต้แผนกอายุรกรรม ซึ่งในขณะนั้น ให้บริการรักษาผู้ป่วยทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ต่อมา เมื่อคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับการสถาปนาขึ้นในปี พ.ศ. 2490 จึงได้มีการก่อตั้งแผนกกุมารเวชกรรมขึ้น ในด้านการบริหารจัดการ ถ้าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับสภากาชาดไทยก็ใช้ชื่อว่า “แผนกกุมารเวชกรรม (ปัจจุบัน เปลี่ยนเป็น “ฝ่ายกุมารเวชศาสตร์”) ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคณะแพทยศาสตร์ ก็ใช้ชื่อเรียกเป็น “ภาควิชากุมารเวชศาสตร์” 

เมื่อมีการจัดตั้งแผนกกุมารฯ ในระยะแรก สำนักงานของภาควิชาฯ อยู่ที่ชั้นล่างของอาคารแก้ว อัศวานนท์ (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของอาคารเอลิสะเบธ จักรพงษ์) ต่อมา มีการโยกย้ายสถานที่ไปหลายแห่ง จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2539 จึงได้ย้ายหอผู้ป่วยเด็กและภาควิชาฯ มาที่อาคาร สก. จนถึงปัจจุบัน

ในช่วงระยะเวลากว่า 70 ปีที่ผ่านมา ฝ่ายกุมารเวชศาสตร์ ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามพันธกิจและวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ซึ่งสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เพื่อก้าวไปสู่การเป็นสถาบันทางการแพทย์ที่เป็นผู้นำในระดับชาติและนานาชาติ ทั้งในด้านการเรียนการสอน การบริการผู้ป่วย การบริการวิชาการแก่สังคม และการวิจัย ในสาขาวิชากุมารเวชศาสตร์   

เจตจำนง

เป็นสถาบันต้นแบบทางการแพทย์ที่มีคุณธรรม และสร้างมาตรฐานระดับนานาชาติในสาขาวิชากุมารเวชศาสตร์

ภาระหน้าที่

ผลิตบัณฑิต กุมารแพทย์ กุมารแพทย์เฉพาะทางที่มีคุณภาพ กอปรด้วยคุณธรรม สร้างงานวิจัยที่มีคุณค่า ให้บริการทางการแพทย์และวิชาการเพื่อชี้นำสังคม เป็นแหล่งอ้างอิงทางวิชาการของชาติและนานาชาติในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชากุมารเวชศาสตร์ ประชาคมมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความภูมิใจในสถาบัน


ฝ่ายกุมารเวชศาสตร์ ประกอบด้วยสาขาวิชาเฉพาะทาง 16 สาขาวิชา ได้แก่

  1. สาขาวิชาทารกแรกเกิดและปริกำเนิด
  2. สาขาวิชาโรคภูมิแพ้ อิมมูนวิทยาและโรคข้อ
  3. สาขาวิชาโรคระบบหายใจ
  4. สาขาวิชาโรคระบบทางเดินอาหารและโรคตับ
  5. สาขาวิชาเวชพันธุศาสตร์และเมตะบอลิสม
  6. สาขาวิชาโรคติดเชื้อ
  7. สาขาวิชาตจวิทยา
  8. สาขาวิชาโรคระบบต่อมไร้ท่อ
  9. สาขาวิชาโรคระบบประสาทวิทยา
  10. สาขาวิชาโลหิตวิทยาและมะเร็ง
  11. สาขาวิชาโรคไต
  12. สาขาวิชาโรคหัวใจ
  13. สาขาวิชาโภชนาการ
  14. สาขาวิชาพัฒนาการและการเจริญเติบโต
  15. สาขาวิชาผู้ป่วยนอก
  16. สาขาวิชากุมารเวชบำบัดวิกฤต

นอกจากนี้ ยังมีหน่วยวิจัยที่จัดตั้งขึ้นภายใต้โครงการทุนส่งเสริมและสนับสนุนกลุ่มวิจัยของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดังนี้

ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  จำนวน 2 ศูนย์ ได้แก่

  1. ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก
  2. ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านวิจัยโรคติดเชื้อเด็กและวัคซีน


ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์  จำนวน 2 ศูนย์ ได้แก่

  1. ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านเวชพันธุศาสตร์
  2. ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านจีโนมิกส์และการแพทย์แม่นยำ
  3. ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยกุมารเวชศาสตร์ภูมิแพ้และภูมิคุ้มกันทางคลินิก

หน่วยปฏิบัติการวิจัย จำนวน 1 หน่วยปฏิบัติการ ได้แก่

  1. หน่วยปฏิบัติการวิจัยพัฒนาศักยภาพเด็กไทย

หน่วยปฏิบัติการวิจัย จำนวน 1 หน่วยปฏิบัติการ ได้แก่

  1. กลุ่มขับเคลื่อนการวิจัยกุมารเวชศาสตร์โภชนาการ
  2. กลุ่มการวิจัยกุมารเวชศาสตร์ทางเดินอาหารและตับ
  3. กลุ่มวิจัยทางคลินิกเพื่อรักษาโรคเลือดและมะเร็งเด็กแบบองค์รวม

วัน/เวลา และสถานที่ให้บริการ

ฝ่ายกุมารเวชศาสตร์ มีคลินิกให้บริการการตรวจรักษาเด็กแบบผู้ป่วยนอก ณ อาคาร ภปร ชั้น 9 ในวันและเวลาราชการ ดังนี้

1. คลินิกกุมารเวชกรรมทั่วไป

ให้บริการทุกวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 – 16.00 น.

2. คลินิกเด็กดี

ให้บริการทุกวันอังคาร เวลา 13.00 – 16.00 น.

3. คลินิกดูแลเด็กต่อเนื่อง

ให้บริการทุกวัน ยกเว้นวันพุธ เวลา 13.00 – 16.00 น.

4. คลินิกเฉพาะโรคตามสาขาวิชา ดังนี้

วัเวลาคลินิก
วันจันทร์
09.00 – 12.00 น.

1. คลินิกโรคเลือด
2. คลินิกโภชนาการ
13.00 – 16.00 น.
1. คลินิกโรคระบบหายใจ
2. คลินิกโรคผิวหนัง
3. คลินิกพัฒนาการและการเจริญเติบโต

วันอังคาร09.00 – 12.00 น.
1. คลินิกโรคติดเชื้อ
2. คลินิกปัญหาการเรียนและพฤติกรรม
คลินิกทดสอบการแพ้ยาและแพ้อาหาร
คลินิกโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง

13.00 – 16.00 น.
1. คลินิกการเจริญเติบโตและติดตามการเจริญเติบโต (Growth and growth monitoring center)
(เฉพาะสัปดาห์ที่ 1 ของเดือน)
2. คลินิกเด็กดีและทารกแรกเกิดที่มีความเสี่ยงสูง
3. คลินิกติดตามเด็กที่มีปัญหาการเจริญเติบโตและพัฒนาการ (เฉพาะสัปดาห์ที่ 1 ของเดือน)

วันพุธ09.00 – 12.00 น.
1. คลินิกโรคไต
2. คลินิกโรคตับ
3. คลินิกโรคข้อและรูมาติสซั่ม (เพื่อให้ยาวัตถุชีวภาพ)
4. คลินิกการเปลี่ยนผ่าน (DM Transition Clinic) (เฉพาะสัปดาห์ที่ 4 ของเดือน)

13.00 – 16.00 น.
1. คลินิกโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน
2. คลินิกโรคข้อและรูมาติสซั่ม
3. คลินิกโรคหัวใจ
4. คลินิกวัยรุ่น

วันพฤหัสบดี09.00 – 12.00 น.
1. คลินิกโรคเลือด
2. คลินิกการเจริญเติบโตและพัฒนาการ
(เฉพาะผู้ป่วยใหม่)
3. คลินิกโรคระบบทางเดินอาหาร
4. คลินิกโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน
5. คลินิกโรคข้อและรูมาติสซั่ม

13.00 – 16.00 น.
1. คลินิกโรคระบบประสาท
2. คลินิกโรคระบบต่อมไร้ท่อ
3. คลินิกเวชพันธุศาสตร์และโรคทางเมแทบอลิซึม

วันศุกร์09.00 – 12.00 น.
1. คลินิกโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง
2. คลินิกโรคปอดเรื้อรัง
(เฉพาะสัปดาห์ที่ 1, 3 และ 5 ของเดือน)

13.00 – 16.00 น.
1. คลินิกเบาหวาน (เฉพาะสัปดาห์ที่ 4 ของเดือน)
2. คลินิกโรคหัวใจ

นอกจากนี้ ยังมีคลินิกที่ให้บริการผู้ป่วยเด็ก นอกเหนือจากที่อาคาร ภปร ชั้น 9 ดังนี้

1. คลินิกโรคอ้วนในเด็กและวัยรุ่น

ทุกวันศุกร์สัปดาห์ที่ 1 และ 3 เวลา 09.00 – 12.00 น. ณ อาคาร ส.ธ. ชั้น 12

2. คลินิกบูรณาการสุขภาพครอบครัว

ทุกวันศุกร์  เวลา 13.00 – 16.00น. ณ อาคาร ภปร ชั้น 8

3. คลินิกบูรณาการครอบครัว (Transgender Clinic)

ทุกวันศุกร์ สัปดาห์ที่ 4เวลา 13.00 – 16.00น. ณ อาคาร ภปร ชั้น 8

4. คลินิกเลเซอร์และหัตถการโรคผิวหนังเด็ก

ทุกวันพุธและพฤหัสบดี เวลา 13.00 – 15.00 น. ณ อาคาร สก. ชั้น 13

5. คลินิกโรคการนอนหลับในเด็ก

ทุกวันอังคาร เวลา 13.00 – 16.00 น. ณ ศูนย์นิทราเวช อาคารคลินิกพิเศษ 14 ชั้น ชั้น 5

ข้อมูลติดต่อ

ชื่อฝ่าย/ศูนย์

ฝ่ายกุมารเวชศาสตร์ อาคาร สก. ชั้น 11

เบอร์โทรศัพท์หน่วยงาน

02 256 4951, 02 256 4971

เบอร์โทรผู้ป่วยนอก

02 256 5248

เว็บไซต์หน่วยงาน