ฝ่ายจิตเวชศาสตร์

Department of Psychiatry

จิตเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นสถาบันทางจิตเวชศาสตร์
และสุขภาพจิตชั้นนำของประเทศและภูมิภาค

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ได้เริ่มให้บริการรักษาผู้ป่วยจิตเวชมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2502 ในฐานะงานรักษาหนึ่ง ของแผนกอายุรศาสตร์ ก่อนที่จะขยายขอบเขตการรักษาจนสามารถเปิด เป็นฝ่ายจิตเวชศาสตร์ได้ในปี พ.ศ. 2516 และเปิดให้บริการ
หอผู้ป่วยจิตเวชขึ้นเป็นแห่งแรก ของโรงเรียนแพทย์ในประเทศไทย ควบคู่ไปกับการผลิตบุคลากร ทางด้านจิตเวชศาสตร์
มาอย่างต่อเนื่อง 

นอกเหนือจากการผลิตจิตแพทย์แล้วปัจจุบันยังได้พัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนให้ครอบคลุมเรื่องสุขภาพจิตมากยิ่งขึ้นโดยผลิตและพัฒนานักสุขภาพจิต เนื่องจากกระบวนการรักษาทางจิตเวชในปัจจุบัน จะต้องดูแลผู้ป่วยอย่างครอบคลุมในทุกมิติ ดังนั้นการบูรณาการองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องและทํางานร่วมกับ สหสาขาวิชาชีพ จึงเป็นเรื่องสําคัญยิ่ง

รางวัล หรือความภาคภูมิใจของฝ่าย

รศ.พญ.โสฬพัทธ์ เหมรัญชโรจน์ ได้นำคลื่นสมองมาพัฒนาต่อยอดมาปรับเป็นเกมคลื่นสมอง หรือ Game Base Neuro Feedback Cognitive Training เป็นนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ Brain computer interfaces (BCI), BATCANE และ i-ExC Game เพื่อใช้ประโยชน์
ในการบำบัดโรคทางการแพทย์ โดยเฉพาะช่วยชะลอภาวะสมองเสื่อมจากโรคอัลไซเมอร์ ทำสำเร็จเป็นทีมแรกของโลก ได้รับรางวัลเหรียญทองระดับโลกจาก International Tradefair Ideas-Inventions-New productsiENA 2018 at Messe Nurnberg, Germany

เจตจำนง

จิตเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นสถาบันทางจิตเวชศาสตร์ และสุขภาพจิตชั้นนำของประเทศและภูมิภาค

ภาระหน้าที่

  1. ผลิตบุคลากร ได้แก่ บัณฑิตแพทย์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางจิตเวชศาสตร์ และบุคลากรด้านสุขภาพจิตที่มีคุณภาพเป็นเลิศ
  2. ผลิตองค์ความรู้ งานวิจัย และนวัตกรรม ทางสุขภาพจิตที่มีคุณค่าทางวิชาการ และเกิดคุณประโยชน์ต่อสังคม
  3. บริการทางการแพทย์และวิชาการทางสุขภาพจิตที่มีคุณภาพและคุณธรรม
  4. สนับสนุน ส่งเสริมการทำงานทางสุขภาพจิตแบบสหสาขาวิชาชีพตามบริบทของสังคมไทย

การให้บริการของฝ่ายจิตเวชศาสตร์

ฝ่ายจิตเวชศาสตร์ให้บริการตรวจวินิจฉัย และดูแลรักษาผู้ป่วยทางจิต ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตแบบผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน ผู้ป่วยฉุกเฉิน รวมถึงการรับปรึกษาจากแผนกต่าง ๆ บริการสัมภาษณ์และตรวจสุขภาพจิตแก่หน่วยงานภายในและภายนอก รวมทั้งยังได้มุ่งเน้นกระบวนการรักษาโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านจากสาขาวิชาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิตมาดูแลรักษาผู้ป่วยร่วมกันในรูปแบบทีมสหวิชาชีพ ประกอบด้วย จิตแพทย์ พยาบาลจิตเวช นักอาชีวบำบัด นักจิตวิทยา และนักสังคมสงเคราะห์ มาร่วมกันดูแลผู้ป่วยให้ได้รับการรักษาทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม

ซึ่งจำแนกรูปแบบการรักษาออกเป็น 3 กลุ่มงาน ได้แก่

  1. จิตเวชศาสตร์ทั่วไป
  2. จิตเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ
  3. จิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น

วัน/เวลา และสถานที่ให้บริการ

General Psychiatry

วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.30 – 15.30 น.

อาคาร ภปร ชั้น 12

คลินิกพิเศษนอกเวลาราชการ

วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 16.30 – 20.00 น.

วันเสาร์และอาทิตย์ เวลา 08.30 – 12.00 น.

อาคาร ภปร ชั้น 12

ข้อมูลติดต่อ

ชื่อฝ่าย/ศูนย์


เบอร์โทรศัพท์หน่วยงาน

เว็บไซต์หน่วยงาน

ฝ่ายจิตเวชศาสตร์ (สำนักงานฝ่ายจิตเวชศาสตร์)
อาคารรัตนวิทยาพัฒน์ ชั้น 15

02 256 4000 ต่อ 61502

http://psychiatry.md.chula.ac.th

ชื่อฝ่าย/ศูนย์


เบอร์โทรศัพท์หน่วยงาน

หน่วยบริการผู้ป่วยนอก OPD
ตึก ภปร. ชั้น12 จิตเวชทั่วไป

02 256 5182 ,02 256 5180

ชื่อฝ่าย/ศูนย์


เบอร์โทรศัพท์หน่วยงาน



ชื่อฝ่าย/ศูนย์

เบอร์โทรศัพท์หน่วยงาน


ชื่อฝ่าย/ศูนย์

เบอร์โทรศัพท์หน่วยงาน

หน่วยบริการผู้ป่วยนอก OPD
ตึก ภปร. ชั้น12 จิตเวชเด็กและวัยรุ่น

02 256 5183 ,02 256 5176



ศูนย์ฝึกสมอง อาคาร ส.ธ. ชั้น 7

02 256 4000 ต่อ 70710-11


ศูนย์ดูแลภาวะสมองเสื่อม อาคาร ส.ธ. ชั้น 15

02 256 4000 ต่อ 71501-3