ฝ่ายวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กับ เทคโนโลยีด้านวิสัญญีที่ทันสมัย ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ


นอกจากความเชี่ยวชาญของแพทย์ในการรักษาผู้ป่วยแล้ว เทคโนโลยีและเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยก็มีส่วนช่วยให้การรักษาผู้ป่วยมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพราะนอกจากจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติแล้ว  ยังช่วยอำนวยความสะดวกให้แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์สามารถทำงานได้ง่ายขึ้น สะดวกรวดเร็วมากขึ้นอีกด้วย ด้วยเหตุนี้ฝ่ายวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานสำคัญในการให้ยาระงับความรู้สึกแก่ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัด จึงนำเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัยสูงสุดเข้ามาใช้ในการรักษาผู้ป่วย ถือได้ว่าครอบคลุมและครบครัน มากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ

ศ.นพ.สมรัตน์ จารุลักษณานันท์ หัวหน้าฝ่ายวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กล่าวว่า โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เป็นโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์ต้นแบบในการให้บริการทางการแพทย์และการเรียนการสอน จึงมีการพัฒนาการให้ยาระงับความรู้สึกแบบทั้งตัวและแบบเฉพาะส่วนอย่างต่อเนื่องด้วยมาตรฐานและความปลอดภัยระดับสูง โดยยังคงความเป็นตันแบบทั้งด้านบุคลากรและด้านเทคโนโลยี ในด้านบุคลากรโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มีการผลิตวิสัญญีแพทย์และต่อยอดเพื่อให้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางในการรักษาผู้ป่วย เช่น วิสัญญีแพทย์ด้านการระงับปวด เวชบำบัดวิกฤต วิสัญญีแพทย์สำหรับผู้ป่วยผ่าตัดโรคหัวใจและวิสัญญีแพทย์สำหรับผู้ป่วยเด็ก เป็นต้น โดยจะต้องไปดูงานหรือศึกษาต่อยังต่างประเทศเพื่อให้เห็นมุมมองที่หลากหลาย สามารถนำกลับมาพัฒนาและปรับใช้ในประเทศได้ ส่วนด้านเทคโนโลยีนั้น ฝ่ายวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ก็ได้นำเครื่องมือที่ทันสมัยมาใช้อย่างหลากหลายเพื่อตอบสนองกับความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง เพื่อพัฒนาสู่ความเป็นเลิศในแต่ละหน่วยย่อยต่อไป ซึ่งเครื่องมือทันสมัยที่นำมาใช้ มีดังนี้

เครื่องวัดระดับความลึกของความรู้สึก

ผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึกจะมีระดับความลึกของความรู้สึกที่เหมาะสม เครื่องมือนี้จะวัดความเปลี่ย่นแปลงของคลื่นไฟฟ้าสมอง โดยเครื่องจะแสดงผลเป็นตัวเลข ตั้งแต่ 0 หมายถึง หมดสติ ไปจนถึงระดับ 100 หมายถึงตื่นเต็มที่สำหรับระดับความลึกที่อยู่ในเกณฑ์ดีในการให้ยาระงับความรู้สึก คือ ระดับ 40 – 60 ดังนั้น การมีเครื่องวัดระดับความลึกของความรู้สึกทำให้แพทย์สามารถควบคุมระดับความลึกของความรู้สึกของผู้ป่วยได้ และทำให้ผู้ป่วยปลอดภัยมากยิ่งขึ้น โดยฝ่ายวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ได้มีการจัดหาเครื่องมือวัดระดับความลึกของการให้ยาระงับความรู้สึกสำหรับใช้ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง ที่เข้ารับการผ่าตัดใหญ่

เครื่อง Electronic Medical Record (EMR) หรือเครื่องมือบันทึกทางวิสัญญีแพทย์

เครื่องนี้จะแสดงค่าที่สำคัญต่างๆ ของผู้ป่วย เช่น ความดันโลหิต ชีพจร เป็นต้น รวมถึงจะเก็บข้อมูลของผู้ป่วยในห้องผ่าตัดไว้ที่ Central Monitor และจะส่งข้อมูลไปยังห้องสำคัญต่างๆ เช่น ห้องพักฟื้นผู้ป่วย และสำนักงานฝ่ายวิสัญญีวิทยาชั้น 15โซน C อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ในลักษณะ Telemedicine เพื่อให้แพทย์อาวุโสสามารถเห็นข้อมูลของผู้ป่วยในห้องผ่าตัด แม้ไม่ได้อยู่ในห้องผ่าตัด ซึ่งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เปืนโรงพยาบาลต้นแบบที่มีระบบ EMR ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีทั้งเครื่อง ให้ยาระงับความรู้สึก (Anestheticstation) แบบอเมริกาและแบบยุโรป ทั้งนี้เพื่อฝึกให้แพทยีได้เรียนรู้และสามารถใช้เครื่องมือได้อย่างหลากหลาย ซึ่งเครื่อง EMR นี้มีความแม่นยำ ชี้อมูลที่บันทึกเป็นข้อมูลตามความเป็นจริง ไม่สามารถดัดแปลงหรือแก้ไขได้ ดังนั้นเมื่อมีข้อมูลผู้ป่วยในห้องผ่าตัดแสดงผ่านทางหน้าจอพร้อมกันตามจุดสำคัญ ทำให้แพทย์เห็นข้อมูลผู้ป่วย และเมื่อเห็นข้อมูลว่าผู้ป่วยเริ่มมีความผิดปกติเกิดขึ้น เช่น ความดันโลหิตลดต่ำลง แพทย์ที่อยู่นอกห้องผ่าตัดก็สามารถรีบเข้าไปช่วยเหลือแพทย์ที่กำลังเฝ้าระวังได้อย่างทันท่วงที

เครื่องมือเฝ้าระวังระบบหัวใจและความดันโลหิต

จะแสดงเป็นรูปจำลองการไหลเวียนโลหิตของหัวใจ และแสดงค่าสำคัญต่างๆ ที่บอกว่าผู้ป่วยอยู่ในภาวะไดและต้องการความช่วยเหลือใด เช่น ผู้ป่วยต้องการยาขยายหลอดเลือด หรื่อยาที่ทำให้เส้นเลือดหดตัว ซึ่งเครื่องนี้สามารถบอกได้อย่างรวดเร็ว

นอกจากนี้ยังมีเครื่องมืออื่นๆ อีกมากมาย เช่น เครื่องวีดิทัศน์ช่วยในการสอดท่อช่วยหายใจ เครื่องมือวัดความหย่อนคลายของกล้ามเนื้อ เป็นต้น ฝ่ายวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ยังนำเครื่องอัลตราซาวน์มาใช้กับงานวิสัญญีแพทย์สำหรับใช้ในการแทงเส้นเลือดต่างๆ ในภาวะวิกฤต หรือในการผ่าตัดใหญ่ การฉีดระงับความปวดที่เส้นประสาทและการใช้สำหรับระบบหายใจอีกด้วย

ด้านงานวิจัย ฝ่ายวิสัญญีวิทยาโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มีงานวิจัยความปลอดภัยของผู้ป่วยหรือ Perioperative and Anesthetic Adverse Events in Thailand (PAAd THAI) Study ซึ่งพบว่าประเทศไทยมีความปลอดภัยในการให้ยาระงับความรู้สึกอยู่ในระดับดี และทำให้ทราบถึงความก้าวหน้าด้านความปลอดภัยในผู้ป่วยผ่าตัดอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังพบด้วยว่าในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยลดลงร้อยละ 50 และมีจำนวนผู้ป่วยที่ใส่ท่อหายใจลำบากลดลงถีงรอยละ 50 อีกด้วย งานวิจัยนี้เป็นความร่วมมือกับโรงเรียนแพทย์ 8 แห่ง และโรงพยาบาลสังก้ตกระทรวงสาธารณสุขและกรุงเทพิมหานครอีก 14 แห่ง

ศ.นพ.สมรัตน์ กล่าวเพิ่มเติมว่าโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เป็นโรงพยาบาลที่รองรับผู้ป่วยรายที่ยากต่อการผ่าตัด เช่น ผู้ป่วยสูงอายุที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดใหญ่การให้ยาระงับความรู้สึกจึงต้องเป็นไปอย่างเฉพาะเจาะจงและเหมาะสม เพื่อให้ผู้ป่วยสูงอายุที่เข้ารับการผ่าตัดใหญ่สามารถฟื้นตั๋วอย่างดี ซึ่งผู้ป่วยแต่ละรายจะมีความเฉพาะเจาะจูงในการให้ยาระงับความรู้สึกที่แตกต่างกันไป จะเห็นได้ว่าการให้ยาระงับความรู้สึกมีผลอย่างมากต่อผลลัพธ์ของผู้ป่วย หากให้ยาอย่างเหมาะสมผู้ป่วยไม่เพียงแค่ฟื้นจากการผ่าตัดเท่านั้น แต่ยังสามารถปรับตัวและกลับไปใช้ชีวิตอย่างปกติได้เร็วขึ้น

ในอนาคตฝ่ายวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ในฐานะโรงพยาบาลตั้นแบบมีแนวทางที่จะพัฒนาความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เช่นระบบการสื่อสาร 56 เมือประเทศมีความพร้อม กล่าวคือเครื่องมือและข้อมูลจะถูกเชื่อมต่อเข้าด้วยกันทั้งหมดู ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ปลอดภัยและแม่นยำมากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้การรักษาผู้ป่วยเป็นไปอย่างรวดเร็ว ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งยังส่งผลให้เกิดงานวิจัยจากเทคโนโลยีเหล่านี้ที่จะช่วยสนับสนุนงานด้านศัลยกรรมเวชบำบัดวิกฤต และการระงับปวดในระดับชั้นนำของประเทศและภูมิภาค