นอนกัดฟัน…เรื่องเล็กที่ไม่ควรมองข้าม

บอกเล่า ก้าวทันหมอ

“นอนกัดฟัน…เรื่องเล็กที่ไม่ควรมองข้าม”

คุณนอนกัดฟันหรือไม่? ถ้าคำตอบคือ “ไม่แน่ใจ” หรือ “ไมรู้” เช่นนั้นแล้วคุณเคยประสบกับปัญหาตื่นเช้ามาแล้วรู้สึกไม่สดชื่น ปวดศรีษะ ปวดข้อต่อขากรรไกร หรือฟันโยกอย่างหาสาเหตุไม่ได้มาก่อนหรือไม่? ถ้าคำตอบ คือ “ใช่” แสดงว่าคุณอาจกำลังประสบกับโรคความผิดปกติจากการหลับอย่างไม่รู้ตัว จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่าประชากรโลกกว่าร้อยละ 45 เคยมีอาการผิดปกติอย่างใดอย่างหนึ่งจากการนอน เช่น นอนละเมอ นอนกรนหรือนอนกัดฟัน ในขณะที่ร้อยละ 35 มีอาการนอนไม่หลับ เมื่อนอนหลับอย่างไม่มีคุณภาพ รู้สึกง่วงและหาวอยู่ตลอดเวลา แน่นอนว่าสิ่งที่ตามมาคือ ประสิทธิภาพในการทำงานหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ในช่วงระหว่างวันลดลง

อ.พญ.บุษราคัม ชัยทัศนีย์ คณะกรรมการประจำศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ถึงอันตรายเล็ก ๆ ที่ไม่ควรมองข้ามจากการนอนกัดฟัน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงที่อาจนำไปสู่โรคผิดปกติจากการหลับได้อ.พญ.บุษราคัม อธิบาย่า การนอนกัดฟันนั้นเป็นความเสี่ยงที่พบได้จากโรคปกติจากการนอนหลับ  ส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่มารักษาที่ศูนย์นิทราเวชมักไม่ค่อยรู้ว่าตัวเองมีปัญหานอนกัดฟันแต่มาตรวจพบที่หลัง สาเหตุการนอนกัดฟันเกี่ยวข้องกับการทำงานของกล้ามเนื้อบดเคี้ยวขณะหลับเป็นผลทำให้มีการกัดเน้นฟัน ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งปกติที่น่าสนใจ คือการนอนกัดฟันจะพบในช่วงวัยเด็กมากที่สุด ร้อยละ 15-40 ขณะที่ในช่วงวัยผู้ใหญ่จะพบเพียงร้อยละ 8-10

แต่ไม่ใช้ทุกคนที่มีอาการนอนกัดฟันจะต้องประสบกับปัญหาโรคผิดปกติจากการหลับ กล่าวคือการนอนกัดฟันยังสามารถเกิดจากปัจจัยชั่วคราวได้อีกด้วย เนื่องจากการนอนกัดฟันของแต่ละคนมีความถี่ไม่เท่ากัน ถ้าการนอนกัดฟันเป็นเพียงสภาวะชั่วคราวที่เกิดจากความเครียด

“การใช้ยาหรือสารเสพติดบางประเภท หรือการดื่มแอลกอฮอล์ ก็ให้สังเกตอาการไปก่อน แต่หากมีอาการที่เกี่ยวข้องกับการกัดฟันมากขึ้น เช่น นอนกัดฟันอย่างรุนแรง ตื่นเช้ามาปวดขากรรไกร ปวดศีรษะ เสียวฟัน ฟันสึก มีแผลในปากหรือกระพุ้งแก้มจนถึงขั้นฟันโยก หรือมีคนใกล้ตัวบอก ก็ควรมาเขารับการตรวจวนิจิฉยัเพราะอาจมีความผิดปกติจากการหลับอื่น ๆ เช่น ภาวะหยุดหายใจ ขณะหลับจากการอุดกั้นร่วมด้วย หรือหากนอนละเมอร่วมกับนอนกัดฟัน ก็ควรพบแพทย์  เพราะสาเหตุเหล่านี้สามารถรักษาได้”

สำหรับการรักษาการนอนกัดฟันในอดีตนั้นส่วนใหญ่จะเป็นการรักษาที่ปลายเหตุ คือการใส่เฝือกสบฟัน (Occlusal Splint) เป็นเครื่องมือที่ใช้ใส่ในช่องปากเพื่อป้องกันการสึกของฟันมี 2 ชนิด ได้แก่ ชนิดนุ่มและชนิดแข็งซึ่งทั้งสองชนิดมีข้อดีและข้อเสียที่ต่างกัน เช่น เฝือกสบฟันชนิดนุ่ม เมื่อใช้ไปนานๆ อาจฉีกขาดได้ หรือเฝือกสบฟันชนิดแข็ง หากใช้ไปสักระยะหนึ่งอาจเกิดรอยสึกหรือแตกได้ แต่ปัจจุบันการนอนกัดฟันสามารถรักษาให้หายขาดได้ ถ้าการนอนกัดฟันนั้นเป็นอาการหนึ่งที่เกิดขึ้นจากโรคผิดปกติจากการหลับ เช่น ภาวะหยุดหายใจ ขณะหลับหรือโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea: OSA)

สำหรับขั้นตอนการรักษาและวินิจฉัยภาวะดังกล่าวของศนูย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ แพทย์จะเริ่มต้นจากการซักประวัติและตรวจร่างกายผู้ป่วยโดยละเอียด จากนั้นแพทย์จะพิจารณาตรวจการนอนหลับ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในการวินิจฉัยเพื่อประเมินระดับความรุนแรงของโรคและพิจารณาแนวทางในการรักษา รวมถึงการวินิจฉัยแยกโรคความผิดปกติจากการนอนหลับอื่นๆ ที่อาจตามมา เช่น อาการนอนกรน

นอนกัดฟัน หลับไม่สนิท ง่วงนอนตอนกลางวัน เป็นต้น การตรวจการนอนหลับ (Polysomnography : PSG) หรือ Sleep Test คือการตรวจเพื่อวินิจฉัย ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ รวมทั้งโรคความผิดปกติจากการหลับอื่น โดยแพทยจะติดอุปกรณ์ติดตามการเปลียนแปลงทางสรีรวิทยาของร่างกายระหว่างหลับ ได้แก่ คลื่นไฟฟ้าสมอง คลื่นไฟฟ้าหัวใจ การเคลื่อนไหวของลูกตา ความลึกและรูปแบบของการหายใจ เสียงกรน ระดับออกซิเจนในเลือด การขยับหรือกระตุกของขา รวมถึงการถ่ายวิดีโอขณะผู้ป่วยนอนหลับเพื่อสังเกตท่าทางการนอน และความผิดปกติทางพฤติกรรมที่อาจเกิดขึ้น เช่น การนอนละเมอหรือนอนกัดฟัน โดยผู้ป่วยที่เข้ามารักษาที่ศูนย์นิทราเวช ส่วนใหญ่แล้วหามีสภาวะหยุดหายใจขณะหลับร่วมกับอาการนอนกัดฟัน เมื่อเข้ามารักษาแล้วจะสามารถหลับได้อย่างเต็มอิ่มและมีคุณภาพเพิ่มขึ้น

สำหรับผู้สงสัยว่าอาการนอนกัดฟันของตนเองอาจเป็นปัจจัยที่มาจากภาวะหยุดหายใจขณะหลับ หรือกำลังประสบกับปัญหาเรื่องการนอน ไม่ว่าจะเป็นนอนหลับยาก มีอาหารง่วงนอน ทั้งวัน นอนละเมอ นอนกรน หรือฝันร้ายมากจนหลับไม่สนิ อ.พญ.บุษราคัม แนะนำว่าควรมาพบแพทย์เฉพาะทางด้านโรคความผิดปกติจากการหลับ (Sleep Medicine Specialist) เพื่อซักประวัติ ตรวจร่างกายอย่างละเอียดเพื่อพิจารณาส่งตรวจการนอนหลับชนิดที่เหมาะสม