ไม่มีแผล เจ็บน้อย ฟื้นตัวเร็ว


โรคมะเร็งในระบบทางเดินอาหารเป็นความเจ็บป่วยอันเกิดจากความผิดปกติของอวัยวะภายในร่างกาย เมื่อการดำเนินโรคลุกลามมากยิ่งขึ้นผู้ป่วยจะต้องทนทุกข์ทรมานและไม่สามารถรับประทานอาหารได้เพราะลำไส้เล็กอุดตัน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัดบายพาส ในอดีตการผ่าตัดโรคภายในช่องท้องจะใช้วิธีผ่าแบบเปิดช่องท้อง ซึ่งอาจกระทบต่ออวัยวะข้างเคียง และผู้ป่วยอาจเสียเลือด มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนสูงได้ อีกทั้งยังมีรอยแผลขนาดใหญ่อยู่ที่หน้าท้องอีกด้วย รวมถึงการพักฟื้นในโรงพยาบาลต้องใช้เวลาหลายวัน ต่อมาได้มีการพัฒนาเทคนิคเป็นการผ่าตัดผ่านกล้องที่เจาะรูขนาดเล็กทางหน้าท้อง แต่ผู้ป่วยก็ยังคงมีแผลที่หน้าท้องแม้ว่าแผลจะมีขนาดเล็กลง ล่าสุดศูนย์ความเป็นเลิศด้านการส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ประสบความสำเร็จในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งอุดตันลำไส้เล็กด้วยนวัตกรรมการส่องกล้องทางเดินอาหาร เพื่อผ่าตัด เชื่อมะหว่างกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กในผู้ป่วยที่มีลำไส้เล็กอุดตันโดยไม่มีแผลหน้าท้องได้สำเร็จ

รศ.นพ.ประเดิมชัย คงคำ หัวหน้าศูนย์ส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร ฝ่ายอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กล่าวว่า ระบบทางเดินอาหารบริเวณระหว่างกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นจะมีอวัยวะอื่นๆ ประกอบอยู่เป็นจำนวนมาก อาทิ ท่อนำน้ำดีจากตับหรือตับอ่อนที่ผลิตน้ำย่อยเพื่อมาช่วยย่อยอาหารในลำส้เล็กส่วนแรก อวัยวะที่ทำงานอย่างซับซ้อนในบริเวณนี้ส่งผลให้มีการเกิดโรคมะเร็งในบริเวณดังกล่าวได้ เช่น มะเร็งท่อน้ำดีมะเร็งตับอ่อน มะเร็งตับ รวมถึงมะเร็งลำไส้เล็ก เมื่อรอยโรคลุกลามไปขวางลำไส้เล็กส่วนต้นจะส่งผลให้เกิดการอุดตันของระบบทางเดินอาหาร ดังนั้นผู้ป่วยจะไม่สามารถรับประทานอาหารได้ ทำให้ร่างกายไม่ได้รับสารอาหารไปเลี้ยงร่างกายอย่างเพียงพอ ร่างกายทรุดโทรมและไม่สามารถต่อสู้กับความเจ็บป่วยได้

นวัตกรรมการส่องกล้องทางเดินอาหารเพื่อบายพาสลำไส้ส่วนที่อุดตัน คืนคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ผู้ป่วย
รศ.นพ.ประเดิมชัย กล่าวว่า ผู้ป่วยในกลุ่มโรคมะเร็งระบบทางเดินอาหารระยะลุกลามหรือระยะสุดท้ายที่แพทย์ประเมินแล้วว่าไม่สามารถหายขาดจากโรคได้นั้น โดยปกติแล้วแพทย์จะหลีกเลี่ยงการทำผ่าตัดเนื่องจากผู้ป่วยที่อยู่ในระยะนี้สุขภาพทั่วไปจะไม่ค่อยดีแล้ว ทำให้โอกาสเกิดผลแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดมีสูงขึ้น นวัตกรรมผ่าตัดส่องกล้องเชื่อมกระเพาะอาหาร-ลำไส้เล็กนี้ เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จล่าสุดของศูนย์ความเป็นเลิศด้านการส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ซึ่ง ณ ปัจจุบันนี้ ผู้ป่วยจำนวนกว่า 10 คนได้รับการรักษาด้วยเทคนิคการส่องกล้องผ่านช่องปากจากนั้นขยายลำไส้เล็กให้ใหญ่ขึ้นด้วยการใส่น้ำเข้าไปในบริเวณที่ต้องการ ทำการเจาะเพื่อวางอุปกรณ์เชื่อมระหว่างกระเพาะและลำไส้เล็ก เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับมารับประทานอาหารได้ตามปกติ เมื่อร่างกายไม่ขาดสารอาหารก็สามารถเข้ารับการรักษาตามอาการได้ต่อไป

วิธีการรักษาทั่วไป

ผ่าตัดเปิดหน้าท้อง : ขั้นตอนการรักษาคือ ต้องผ่าตัดเอาก้อน
มะเร็งออก แต่ส่วนใหญ่กว่าจะตรวจพบมะเร็งก็เกินระยะของ
การผ่าตัดไปแล้ว ผู้ป่วยจึงต้องเข้ารับการรักษาด้วยเคมีบ􀁬ำบัด
หรือการฉายแสง ซึ่งวิธีดังกล่าวก็เกิดผลข้างเคียงท􀁬ำให้ล􀁬ำไส้
ส่วนที่ดีเสียหาย

ผ่าตัดบายพาส : ในผู้ป่วยที่โรคลุกลามและประเมินแล้วว่า
ไม่สามารถผ่าตัดเอามะเร็งส่วนดังกล่าวออกได้ แพทย์จะทำการ
ผ่าตัดบายพาสเพื่อเชื่อมระหว่างกระเพาะไปต่อกับลำไส้เล็กด้วย
การผ่าตัดเปิดหน้าท้อง เพื่อให้ผู้ป่วยยังสามารถรับประทาน
ได้ตามปกติ ควบคู่กับการรักษาตามอาการของโรคต่อไป
การผ่าตัดมี 2 แบบ แบบที่ 1 คือการเปิดหน้าท้อง ข้อเสียคือ
แผลที่หน้าท้องจะมีขนาดใหญ่ ส่วนแบบที่ 2 คือการเจาะรูที่
หน้าท้องเป็นรูเล็กๆ หลังจากนั้นใช้กล้องเข้าไปทำการผ่าตัด
ข้อดีคือ แผลเล็กกว่า ฟื้นตัวเร็วกว่า แต่อย่างไรก็ตามผู้ป่วยก็
ยังมีแผลที่บริเวณหน้าท้อง

ส่องกล้องใส่ท่อเบียดเข้าไปบริเวณลำไส้เล็กผ่านจุดที่ลำไส้อุดตัน : ข้อเสียคือ เมื่อมะเร็งลุกลามมากขึ้น ตัวมะเร็งจะเข้าไปกดเบียดท่อ จนในที่สุดก็จะเกิดการอุดตันท่อเหล็กคงรูปที่ใส่ไว้ซึ่งถ้าถึงจุดที่มีการอุดตันของท่อเหล็กอีกครั้ง การแก้ไขจะทำได้ค่อนข้างยาก

ข้อดีของการผ่าตัดด้วยวิธีส่องกล้อง

  • ใช้เวลาในการผ่าตัดส่องกล้องรวดเร็วประมาณ 30 – 60 นาที
  • ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็ว โดยใช้เวลาเพียง 1 – 2 วัน ซึ่งเร็วกว่าการผ่าตัดแบบเปิดช่องท้องที่ส่วนใหญ่ต้องใช้เวลาพักฟื้นนานหลายวัน
  • ไม่มีแผลที่บริเวณหน้าท้อง ในขณะที่การผ่าตัดแบบเปิดช่องท้องจะมีแผลกว้างถึง 12 – 20 เซ็นติเมตร
  • ลดการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อและอวัยวะภายใน ทำให้เจ็บน้อย ลดการเสียเลือด
  • ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนและโรคแทรกซ้อนต่างๆ ที่เกิดจากการให้ยาสลบ เนื่องจากการส่องกล้องและทำผ่าตัดบายพาส แพทย์สามารถลดระดับความรู้สึกตัว โดยเป็นแค่ระดับของการให้ยานอนหลับก็เพียงพอแล้ว
  • แพทย์มองเห็นรายละเอียดของตำแหน่งที่ต้องการผ่าตัดได้ชัดเจนด้วยกำลังขยายของกล้อง ทำให้รักษาได้อย่างตรงจุดจึงลดการกระทบต่ออวัยวะอื่นๆ

การรักษาด้วยวิธีนี้เหมาะกับใครบ้าง?
• ผู้ป่วยโรคมะเร็งระบบทางเดินอาหารที่ไม่สามารถรับประทานอาหารได้
• ผู้ป่วยที่ประเมินแล้วว่ามีปริมาณน้ำในช่องท้องไม่สูงมาก เพราะหากมีปริมาณน้ำอยู่ในช่องท้องเป็นจำนวนมาก การส่องกล้องแล้วเจาะออกนอกกระเพาะอาหารเพื่อบายพาสไปสู่ลำไส้เล็กจะทำได้ยากและมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนได้สูง

การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการรักษา
ก่อนเข้ารับการรักษาแนะนำให้ผู้ป่วยงดอาหารและเจาะเลือดตรวจค่าการแข็งตัวของเลือดว่าปกติหรือไม่ หากร่างกายพร้อมสามารถเข้ารับการผ่าตัดได้ทันที

การรักษาด้วยวิธีนี้ถือเป็นข้อมูลทางเลือกที่แพทย์แนะนำให้แก่ผู้ป่วยมะเร็งซึ่งคาดคะเนว่าจะมีชีวิตอยู่ได้อีกประมาณ 1 – 2 ปี โดย
รศ.นพ.ประเดิมชัย กล่าวย้ำว่า การรักษาด้วยเทคนิคการส่องกล้องเพื่อเชื่อมกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กเป็นเทคโนโลยีใหม่จำเป็นต้องใช้ความเชี่ยวชาญของแพทย์ ประกอบกับเครื่องมือที่ทันสมัยอันจะนำมาสู่การรักษาที่ได้ประสิทธิภาพสูงสุด จากข้อมูลของการทำหัตถการนี้ในผู้ป่วยในช่วงที่ผ่านมา นอกจากผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาทั้งหมดไม่พบผลข้างเคียงแล้ว หลังจากการผ่าตัดส่องกล้อง ผู้ป่วยยังไม่ต้องกลับมาเข้ารับการเปลี่ยนอุปกรณ์อีกครั้ง ตราบใดที่ผู้ป่วยยังสามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ หรือหากท่านใด
เกิดความกังวลก็อาจจะเข้ามาเอ็กซเรย์เพื่อตรวจสอบว่าอุปกรณ์มีการขยับหรือเลื่อนไปหรือไม่ แต่ทั้งนี้ในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาด้วยวิธีนี้ทั้งหมดจนถึงปัจจุบันพบว่า อุปกรณ์ที่ติดตั้งนั้นอยู่ในตำแหน่งเดิมและยังสามารถใช้งานได้ตามปกติจนถึงวันที่ผู้ป่วยสิ้นชีวิต

นวัตกรรมส่องกล้องเพื่อผ่าตัดบายพาสเชื่อมกระเพาะอาหาร-ลำไส้เล็ก และควบคู่ไปกับการผ่าตัดบายพาสเชื่อมกระเพาะอาหารกับท่อน้ำดีได้รับการรายงานจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และตีพิมพ์ลงในวารสารวิชาการทางการแพทย์ชื่อ Endoscopy (Kongkam P, Luangsukrerk T, Harinwan K, Vanduangden K, Plaidum S, Rerknimitr R, Kullavanijaya P. Combination of endoscopic-ultrasound guided choledochoduodenostomy and gastrojejunostomy resolving combined distal biliary and duodenal obstruction. Endoscopy. 2020 Nov 19. doi : 10.1055/a-1294-9399. Epub ahead of print.
PMID : 33212523.) ซึ่งเป็นวารสารวิชาการทางด้านการส่องกล้องทางเดินอาหารที่มีชื่อเสียงและได้รับการจัดลำดับเป็นวารสารวิชาการลำดับที่ 1 ในวงการการส่องกล้องทางเดินอาหาร เหตุที่รายงานของผู้ป่วยรายนี้ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร เนื่องจากเป็นการรักษาที่มีความซับซ้อนผ่านการส่องกล้องเพื่อทำบายพาสครั้งเดียวทั้ง 2 จุดโดยไม่ต้องผ่าตัดเปิดหน้าท้อง และนี่คือความมุ่งมั่นในการให้บริการด้านสุขภาพแก่คนไทยด้วยมาตรฐานระดับทัดเทียมนานาชาติ ส่งเสริมวิชาทางการแพทย์สมัยใหม่ โดยมีอุปกรณ์ที่ทันสมัย ให้บริการรวดเร็วฉับไวและครบวงจรจากทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและเจ้าหน้าที่ที่ผ่านการฝึกฝนมาเป็นอย่างดี

“มุ่งมั่นให้บริการด้านสุขภาพแก่คนไทยในระดับทัดเทียมสากล ส่งเสริมวิชาทางการแพทย์สมัยใหม่
โดยมีอุปกรณ์ที่ทันสมัย ให้บริการฉับไวและครบวงจร”