โรคเกาต์ป้องกันได้เริ่มจากการกิน
โรคเกาต์เป็นโรคข้ออักเสบที่เกิดจากภาวะกรดยูริคในเลือดสูง แล้วเกิดการตกตะกอนเป็นผลึกยูเรตสะสมอยู่ในข้อจนทำให้เกิดอาการปวด บวม อักเสบของข้อได้ โดยกรดยูริคเกิดจากการสารจำพวกพิวรีน ซึ่งพบได้ในอาหารบางประเภท สามารถแบ่งกลุ่มอาหารได้ 3 กลุ่ม คือ
- อาหารที่มีพิวรีนน้อย ได้แก่ นมและผลิตภัณฑ์จากนม ไข่ ผัก ผลไม้ ธัญพืชยกเว้นพืชตระกูลถั่ว วุ้น น้ำตาล ไขมัน
- อาหารที่มีพิวรีนปานกลาง ได้แก่ เนื้อหมู เนื้อวัว ปลาหมึก ปู ปลากระพงแดง สะตอ ถั่วลิสง ใบขี้เหล็ก ข้าวโอ็ต ผักโขม หน่อไม้ ดอกกะหล่ำ
- อาหารที่มีพิวรีนสูง ได้แก่ เนื้อไก่ เป็ด ห่าน เครื่องในสัตว์ ไข่ปลา ปลาซาร์ดีน กะปิ กุ้งชีแฮ้ ซุปก้อน น้ำซุปกระดูก ยีสต์ เห็ด กระถิน ชะอม พืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วแดง ถั่วดำ เป็นต้น
การป้องกันการเกิดโรคเกาต์
- ควบคุมการรับประทานอาหารที่มีพิวรีนสูง
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
- ดื่มน้ำมากๆเพื่อช่วยในการขับถ่ายกรดยูริค
- ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
- หลีกเลี่ยงภาวะเครียด
- ดูแลรักษาความอบอุ่นของร่างกาย (โรคเกาต์มักกำเริบในเวลาอากาศเย็น และเวลากลางคืน)
สามารถติดต่อเพื่อขอรับคำปรึกษาและตรวจวินิจฉัยโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ที่
แผนกผู้ป่วยนอก อาคาร ภปร ชั้น 1
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
โทรศัพท์ 02 256 4000