จับตาความเคลื่อนไหว โรคไข้ซิกา ภัยใหม่จากยุงลาย


นอกจากโรคไข้เลือดออกแล้ว หากกล่าวถึงโรคระบาดที่ถูกพูดถึงอย่างมากในช่วงเวลานี้คงหนีไม่พ้นเรื่อง ของ โรคไข้ซิกา ที่มียุงลายเป็นพาหะ และได้ระบาดหนักในแถบละตินอเมริกา โดยเฉพาะประเทศบราซิลที่ระบาด อย่างรุนแรง จนรัฐบาลต้องประกาศระงับการตั้งครรภ์ ถึงขนาดที่องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ได้ออกมา แถลงถึงการแพร่ระบาดของไวรัสซิกา เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 ที่ผ่านมา ให้เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข ระหว่างประเทศ บอกเล่าก้าวทันหมอฉบับนี้ จึงขอพาคุณผู้อ่านมาพูดคุยกับ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อํานวยการศูนย์โรคติดต่อและโรคอุบัติซ้ํา สภากาชาดไทย และศาสตราจารย์สาขาประสาทวิทยา ภาควิชา อายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ฯ เพื่อพูดคุยอัพเดทสถานการณ์เกี่ยวกับโรคนี้กันค่ะ

โรคไข้ซิกาคืออะไร

โรคไข้ซิกา (Zika fever) เกิดจากเชื้อไวรัสซิกา (Zika virus ZIN) เป็นไวรัสที่อยู่ในตระกูลเดียวกับ ไวรัสไข้เหลือง ไวรัสเดงกี ไวรัสเวสต์ไนล์ และไวรัสไข้สมองอักเสบเจอี ซึ่งมียุงลายเป็นพาหะนําโรค ส่วนชื่อซิกา (Zika) เป็นชื่อป่าในประเทศยูกันดาซึ่งเป็นสถานที่แรกที่แยกเชื้อได้จากลิง Rhesus ที่นํามาศึกษาในปี พ.ศ. 2490 และเมื่อปี พ.ศ. 2511 ก็พบเชื่อนี้ในคน ในประเทศไนจีเรีย และพบได้ในประเทศแถบทวีปแอฟริกา ทวีปอเมริกา ทวีปเอเซียใต้ และหมู่เกาะในแถบมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก

ไข้ซิกาในประเทศไทย

ในประเทศไทยมีรายงานตรวจพบเชื้อไวรัสซิกา เมื่อ พ.ศ. 2506 และหลังจากนั้นมีรายงานพบผู้ป่วยหญิง จากแคนาดา ติดเชื้อไวรัสซิกา หลังเดินทางมาประเทศไทยในช่วงเวลา 21 มกราคม ถึง 2 กุมภาพันธ์ 2556 โดยพักในกรุงเทพฯ และภูเก็ต และมีอาการบนเครื่องบินขณะเดินทางกลับแคนาดา อีกทั้งเมื่อเร็วๆ นี้ยังมีรายงาน ผู้ป่วยชาวไทยที่เดินทางไปไทเป ถูกตรวจพบเชื้อที่สถานีตรวจคัดกรองไข้ สนามบินนานาชาติเถาหยวน ไต้หวัน แต่ขณะนี้ได้รับการรักษาแล้ว

อาการของโรค

เนื่องจากไวรัสซิกาเป็นนักเลียนแบบตัวฉกาจ อาการของไข้ซิกามีความคล้ายคลึงกับอาการของโรค ไข้เลือดออก โรคชิคุนกุนยา และไข้สมองอักเสบ Japanese encephalitis: JE) แต่ส่วนใหญ่ผู้ติดเชื้อมักไม่แสดง อาการ โดยมักแสดงอาการหลังได้รับเชื้อ 4 – 7 วัน อาการทั่วไปที่พบก็คือ มีไข้ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ มีผื่นแดง เยื่อบุตาอักเสบ ตาแดง ปวดข้อ ซึ่งมักมีอาการเหล่านี้อยู่ประมาณ 2 – 7 วัน ส่วนใหญ่อาการเหล่านี้จะหายเองได้ ภายในหนึ่งสัปดาห์ ไม่มีความจําเป็นต้องนอนโรงพยาบาล แต่ในหญิงตั้งครรภ์จําเป็นต้องดูแลเป็นพิเศษ เนื่องจาก การติดเชื้อนี้อาจส่งผลต่อทารกในครรภ์ทําให้มีความเสี่ยงต่อการพิการแต่กําเนิด มีขนาดศีรษะที่เล็กผิดปกติ (microcephaly) หรือเสียชีวิตได้

สถานการณ์และความคืบหน้าโรคซิกา

เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมา ทั้งโลกมีความตื่นตัวอย่างมากเกี่ยวกับโรคซิกา หลังพบหญิงตั้งครรภ์ 6 ราย จากนักท่องเที่ยวอเมริกันที่กลับจากอเมริกาใต้ทั้งหมด 107 ราย มีอาการเข้าข่ายติดเชื้อไวรัสซิกา ซึ่งติดเชื้อในช่วง ไตรมาสแรก (3 เดือนแรก) โดย 5 ใน 6 ราย มีความผิดปกติเกิดขึ้น รายแรกคลอดลูกออกมา มีสมองลีบ อีกสองรายมีอาการแท้งและพบว่ามี ไวรัสอยู่ในตัวเด็กด้วย หนึ่งรายตัดสินใจทําแท้ง เนื่องจากเจาะน้ำคร่ำแล้วพบว่ามีไวรัส ส่วนราย สุดท้ายมีความผิดปกติ แต่ไม่ทราบรายละเอียด เหตุการณ์นี้ทําให้สรุปได้ว่าไวรัสซิกาทําให้เด็กมีสมองลีบจริง นอกจากนั้น ในนิตยสารนิวแลนด์ ระบุว่ามีผู้หญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อในช่วงท้ายของ ไตรมาสแรก และมีการตรวจเด็กทารกในครรภ์ พบว่ามีสมองตีบ จึงตัดสินใจเอาเด็กออกและเมื่อนําเด็กออกมาก็พบว่าเด็กมีสมองลีบจริง ทั้งนี้เมื่อนำสมองเด็กและอวัยวะเด็กมาตรวจดูจาก กล้องอิเล็กตรอน พบว่าในสมองเด็กมีไวรัสที่มีชีวิตอยู่และยังเป็นไวรัสที่สามารถงอกเงยได้อีกด้วย นอกจากนั้น เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวง สาธารณสุขของฝรั่งเศส ออกมาเปิดเผยว่าพบผู้ป่วยเพศหญิงในกรุงปารีส ติดเชื้อซิกา ซึ่งติดต่อผ่านทางเพศสัมพันธ์จากคู่นอนของเธอที่เพิ่งเดินทางกลับมาจากประเทศบราซิล และหลังจากนั้นก็มีผลวิจัยชี้ว่าไวรัสซิกาสามารถพบได้ในน้ําอสุจิของเพศชาย และสามารถติดต่อกัน ได้ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งสามารถติดต่อกันได้ไม่ว่าจะเป็นคู่รักชายหญิง หรือคู่รักร่วมเพศ ดังนั้นจึงควรป้องกันด้วยการสวมถุงยางอนามัย

อย่างไรก็ดี ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา แนะนําว่าไม่ต้องกังวลมาก เพราะการติดเชื้อซิกา ผ่านการมีเพศสัมพันธ์นั้นน้อยมาก แต่เพื่อความสบายใจก็สามารถสังเกตอาการตาม ข้อบ่งชี้ คือ มีไข้ ออกผื่น ตาแดง ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ อ่อนเพลีย หากมีอาการดังกล่าวให้ ไปพบแพทย์ ซึ่งไม่จําเป็นต้องเจาะเลือดตรวจ ยกเว้นเพียงกลุ่มเสี่ยงคือ หญิงตั้งครรภ์

ความร่วมมือในการวิจัยและป้องกันโรคไข้ซิกา

ทางจุฬาฯ ได้ร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุขมากว่า 10 ปี และได้เกิดศูนย์โรค ติดเชื้ออุบัติใหม่ สภากาชาดไทยขึ้น เพื่อศึกษาวิจัยโรคติดต่ออุบัติใหม่ที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยทางกระทรวงสาธารณสุขได้มีการอัพเดทข้อมูลความเคลื่อนไหวต่างๆ จากองค์การอนามัยโลก (WHO) ในเรื่องนี้ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ได้ชี้แจงว่า

ไวรัวซิก้า
เป็นนักเลียนแบบตัวฉกาจ

“ณ ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขก็ได้ส่งตัวอย่าง มาให้ตรวจมากพอสมควรแต่ต้องมีการคัดกรอง เนื่องจากไข้ออกผื่นมีได้เป็นร้อยชนิด หากเรา สนใจแต่ไวรัสซิกาอย่างเดียว แล้วมีตัวอื่นที่ ร้ายแรงกว่า รักษาได้ แล้วไม่ใช้ไวรัส เราอาจจะ หลงลืมไป เพราะฉะนั้นอย่าตื่นเต้นกับตัวนี้มาก เพราะตัวนี้มา แต่ตัวอื่นที่มีอยู่เป็นร้อยตัวเราก็ ไม่ควรเลิกสนใจเพราะในการดูแลคนไข้หลักการ ดูแลคือต้องดูว่าในแต่ละเดือนแต่ละปี โรคประจํา ถิ่นเรามีอะไรอยู่แล้ว ไม่ใช่สนใจแต่โรคใหม่”
และเมื่อพูดถึงเรื่องแนวโน้มของโรค ไข้ซิกา และโรคอุบัติใหม่ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต คุณหมอกล่าวว่า ในส่วนของโรคไข้ ซิกานั้นยังคงทําการวิจัยและติดตามความเคลื่อนไหวอย่างใกล้ชิด ส่วนโรคอุบัติใหม่นั้น ได้มีการค้นพบโรคใหม่อยู่อย่างต่อเนื่อง แต่ทางศูนย์โรคติดเชื้ออุบัติใหม่ สภากาชาดไทยของเราก็ได้เตรียมรับมือเป็นอย่างดี แต่เหตุผลที่ทางศูนย์ยังไม่ประกาศให้รับรู้เนื่องจากเกรง ว่าประชาชนจะตื่นตระหนก จึงทําได้เพียง เฝ้าระวังและจับตาดูอย่างใกล้ชิดต่อไป