เปิดตัวนวัตกรรมรักษาผู้ป่วยโรคหืดขั้นรุนแรง แห่งแรกในประเทศไทย


นับเป็นอีกหนึ่งความภาคภูมิใจของประเทศไทยและโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ อีกทั้งยังเป็นความหวังใหม่ของ ผู้ป่วยโรคหืดขั้นรุนแรง เมื่ออาจารย์แพทย์จากหน่วยโรคระบบการหายใจ และภาวะวิกฤติการหายใจ ฝ่ายอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สามารถส่องกล้องเพื่อรักษาโรคหืดได้เป็นแห่งแรกของประเทศ โดยได้จัดงานแถลงข่าว “รพ.จุฬาลงกรณ์ ส่องกล้องรักษาโรคหืด แห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย” เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ 2560 ที่ผ่านมา ณ ห้องอเนกประสงค์ ระเบียงรมณีย์ ชั้น 14 อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย จะนําทุกท่านมาอัพเดตนวัตกรรมใหม่ล่าสุด กับ อ.นพ.ธิติวัฒน์ ศรีประสาธน์ ผู้นํานวัตกรรมมาใช้รักษาโรคขั้นรุนแรง

อ.นพ.ธิติวัฒน์ ศรีประสาธน์ หน่วยโรค ระบบการหายใจและภาวะวิกฤติการหายใจ ฝ่ายอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กล่าวว่า จากสถิติผู้ป่วยโรคหืด หรือผู้ที่มีอาการอักเสบเรื้อรังของหลอดลมในประเทศไทยมีจํานวนมากถึงร้อยละ 5 ของจํานวนประชากรทั้งหมด หรือประมาณ 3-4 ล้านคน จากประชากรทั้งประเทศกว่า 70 ล้านคน ทั้งนี้ ร้อยละ 2 ของผู้ป่วยโรคหืด ภาวะโรคหืดขั้นรุนแรง ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการดําเนินชีวิตของผู้ป่วย จึงมุ่งหวังที่จะให้การส่องกล้องรักษาโรคหืดนี้ ช่วยให้ผู้ป่วยโรคหืดขั้นรุนแรงมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เมื่อได้รับการรักษาแล้วก็จะลดอาการของโรคหืดกําเริบหรือเหนื่อยหอบอีกสามารถใช้ชีวิตประจําวัน และทํางานได้เป็นปกติ ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล ไม่ต้องคอยพ่นยาเหมือนเช่นที่ผ่านมา และยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการใช้ยาที่มีราคาแพง

อ.นพ.ธิติวัฒน์ กล่าวว่า นวัตกรรมที่ใช้ รักษาผู้ป่วยโรคหืดขั้นรุนแรงนี้เรียกว่า การขยายหลอดลมด้วยความร้อน (Bronchial Thermoplasty) จากการวิจัยในต่างประเทศพบว่า การจี้กล้ามเนื้อเรียบบริเวณหลอดลมด้วยความร้อนจะสามารถลดจํานวนผู้ป่วยที่ต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลได้ถึงร้อยละ 70 ลดโอกาสกําเริบของโรคได้มากถึง 5 เท่า


แม้ในขณะนี้จะยังไม่สามารถใช้สิทธิ์เบิกค่ารักษาพยาบาลจากกองทุนรักษาพยาบาลภาครัฐใดๆ ได้ แต่ในอนคตก็มีแนวโน้ม ที่จะนำวัตกรรมดังกล่าว เข้าสู่ระบบเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพได้มากขึ้น

และสามารถควบคุมอาการกําเริบได้นานถึง 5 ปี โดย ไม่มีผลข้างเคียง นั่นคือปอดไม่ถูกทําลาย ซึ่งภายหลังจากที่ทําการรักษาด้วยนวัตกรรมเป็นผลสําเร็จ ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ขณะนี้มีผู้เข้ารับการรักษา แล้วจํานวน 5 ราย โดยผู้ป่วย 2 ราย ได้สิ้นสุดการรักษาเรียบร้อยแล้ว และอีก 3 ราย อยู่ระหว่างการเข้ารับการรักษา

สําหรับนวัตกรรมส่องกล้องและหลอดลมด้วยความร้อนสําหรับผู้ป่วยโรคหืดขั้นรุนแรง จะให้ การรักษาผู้ป่วยที่อยู่ในอาการสลบ โดยนำสายที่มีขนาดความกว้าง 2.3 มิลลิเมตร ใส่ผ่านกล้องเข้าไป ในหลอดลม ซึ่งเป็นเซอร์จากสายดังกล่าวจะเปลี่ยนจากคลื่นวิทยุเป็นความร้อนที่ 65 องศาเซลเซียส จากนั้นก็จะเข้าไปยังหลอดลมส่วนปลายเพื่อทําลายกล้ามเนื้อเรียบบริเวณดังกล่าวให้บางลงทําให้ ผนังหลอดลมบางลงลดอาการกําเริบ สําหรับการจี้หลอดลมแต่ละครั้งจะใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง โดยจะต้องให้ได้ประมาณ 70-100 จุด โดยจะ ทํา 3 ครั้ง ห่างกัน 3 สัปดาห์ที่ปอดขวาล่าง ปอดซ้ายล่างและปอตบน 2 ข้างตามลําดับ

จากคําบอกเล่าของ นางสุดสงวน สงวนแก้ว ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยนวัตกรรม ใหม่นี้ กล่าวว่า ก่อนเข้ารับการรักษา ตนมีอาการโรคหืดขั้นรุนแรงมาก ต้องใช้ยาในปริมาณมาก

ทําให้เกิดผลข้างเคียง คือ ผมร่วง ตลอดระยะเวลา 8ปีที่ผ่านมา ต้องเสียเงินค่ารักษาสูงเกือบ 1 ล้านบาทแต่ภายหลังเข้ารับการรักษา ด้วยวิธีนี้แล้ว ก็สามารถหายใจได้คล่องขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นทําให้ การใช้ชีวิตประจําวันเปลี่ยนไปอย่างมาก

เมื่อสอบถามถึงค่ารักษาพยาบาลด้วย การใช้นวัตกรรมดังกล่าว อ.นพ.ธิติวัฒน์ กล่าวว่าค่ารักษาพยาบาล สําหรับการส่องกล้องและกล้ามเนื้อเรียบบริเวณหลอดลมจำนวน 3 ครั้ง ประมาณ 200,000 บาท แม้ในขณะนี้จะยังไม่สามารถใช้สิทธิ์เบิกค่ารักษาพยาบาลจากกองทุนรักษาพยาบาล ภาครัฐใดๆ ได้ แต่ในอนาคตก็มีแนวโน้มที่จะนํา นวัตกรรมดังกล่าวเข้าสู่ระบบ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึง การรักษาพยาบาลที่ทันสมัยและ มีประสิทธิภาพได้มากขึ้น

นวัตกรรมส่องกล้องและหลอดลมด้วย ความร้อนสําหรับผู้ป่วยโรคหืดขั้นรุนแรง โดย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ นับเป็นความสําเร็จแห่งที่ 3 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็น แห่งเดียวในประเทศไทยที่ประสบความสําเร็จในการรักษาผู้ป่วยโรคหอด้วยวิธีการนี้ จึงเป็นอีกหนึ่ง ทางเลือกในการรักษาผู้ป่วยโรคหืดที่มีภาวะรุนแรง โดยไม่ต้องพ่นยา รับประทานยาและฉีดยาสเตียรอยด์ ในปริมาณมากเหมือนเช่นเคยอีกต่อไป