ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์
ด้านสเต็มเซลล์และเซลล์บำบัด

Excellence Center for Stem Cell and Cell Therapy

ถูกหลักวิชาการ มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย

ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เทคโนโลยีทางการแพทย์เกี่ยวกับสเต็มเซลล์ เซลล์บำบัด และยีนบำบัด มีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว การนำเซลล์และยีนบำบัดไปใช้ในการรักษาโรคต่าง ๆ เริ่มกลายมาเป็นการรักษามาตรฐาน รวมทั้งถูกนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพในโรคที่การรักษาที่มีอยู่เดิมใช้ไม่ได้ผล เช่น โรคกระจกตา โรคมะเร็งบางชนิด และโรคพันธุกรรมชนิดรุนแรง และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอีกมาก นอกจากใช้รักษาโดยตรงแล้ว ยังมีการนำความรู้ไปใช้ในบริการทางการแพทย์อื่น ๆ เช่น ใช้การพยากรณ์โรค การใช้ตรวจสอบเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่มีประสิทธิภาพกว่าเดิม

อย่างไรก็ดี การนำเทคโนโลยีใหม่นี้เข้าสู่การบริการโรคในผู้ป่วยไทย ต้องใช้หน่วยงานที่มีความจำเพาะ มีเจ้าหน้าที่ทั้งแพทย์ นักวิทยาศาสตร์ บุคลากรประจำที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษ มีห้องปฏิบัติการซึ่งได้มาตรฐาน และเครื่องมือวิทยาศาสตร์ชั้นสูง ซึ่งหน่วยงานที่โรงพยาบาลมีอยู่เดิมไม่สามารถรองรับได้ ด้วยโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มีพันธกิจที่สำคัญอย่างหนึ่ง คือ พัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์ของประเทศให้ทัดเทียมนานาชาติ จึงจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านสเต็มเซลล์และเซลล์บำบัด เพื่อเป็นหน่วยงานมุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีใหม่ที่ก้าวหน้านี้มาพัฒนาประยุกต์นำไปใช้กับผู้ป่วยชาวไทยอย่างเหมาะสม ให้ผู้ป่วยทุกระดับเศรษฐานะมีโอกาสเข้าถึงเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ก้าวหน้านี้

ผลงานที่ภาคภูมิใจของศูนย์ ในปี พ.ศ. 2563

  1. การรักษาด้วยแผ่นกระจกตาสร้างจากสเต็มเซลล์ที่ศูนย์พัฒนา ได้รับการยอมรับจากราชวิทยาลัยจักษุแพทย์ประเทศไทยได้เสนอให้แพทยสภารับรองเป็นการรักษามาตรฐานในประเทศ 
  2. พัฒนาเทคโนโลยีในการหาการรักษามะเร็งที่เหมาะสมกับผู้ป่วยเฉพาะราย โดยการเพาะเลี้ยงเซลล์มะเร็งรูปแบบ 3 มิติ (organoid) จากชิ้นเนื้อของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งตับ มะเร็งตับอ่อน มะเร็งท่อน้ำดี แล้วทดสอบยาด้วย high-throughput drug screening platform ได้ผลเบื้องต้นน่าพอใจ อยู่ระหว่างการร่วมมือกับศูนย์มะเร็งครบวงจรเพื่อเปิดเป็นบริการ 
  3. พัฒนาวิธีการใช้ induced pluripotent stem cell สร้างเกล็ดเลือด NK cells และปรับแต่งพันธุกรรม ลด HLA-class I ให้ใช้ได้แบบไม่จำเพาะบุคคลสำเร็จ และอยู่ระหว่างพัฒนาสู่การผลิตทางการแพทย์ชั้นสูงแบบ off-the-shelf 

เจตจำนง

ศูนย์วิจัยและบริการด้านสเต็มเซลล์ เซลล์บำบัดและยีนบำบัดระดับนานาชาติ เป็นหน่วยงานสำคัญของประเทศในการพัฒนาองค์ความรู้ด้านสเต็มเซลล์ เซลล์บำบัด และยีนบำบัด ไปสู่การนำไปใช้ในผู้ป่วยชาวไทยอย่างถูกหลักวิชาการ มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย มีศักยภาพในการสร้างผลิตภัณฑ์การแพทย์ชั้นสูงสำหรับใช้ในประเทศ ลดค่าใช้จ่ายการนำเข้าเทคโนโลยีราคาแพงเพื่อให้ผู้ป่วยทุกเศรษฐานะเข้าถึงการรักษาได้ เป็นศูนย์บริการการแพทย์ด้วยเทคโนโลยีสูงที่เป็นแบบอย่างในประเทศ

ภาระหน้าที่

  1. เป็นแหล่งผลิตเซลล์สำหรับการรักษามาตรฐานและการทดลองทางคลินิก (clinical trial) สำหรับโรคที่มีหลักฐานยืนยันและเป็นปัญหาสำคัญ รวมถึงการพัฒนาการรักษาด้วยเซลล์และยีนบำบัดใหม่ 
  2. แหล่งให้บริการด้านการตรวจวิเคราะห์แยกและเพาะเลี้ยงเซลล์มะเร็งของผู้ป่วย เพื่อการวินิจฉัย พยากรณ์โรค และหาการตอบสนองต่อยา เพื่อหาการรักษาที่เหมาะสมในผู้ป่วยแบบจำเพาะบุคคล
  3. เป็นแหล่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์มูลค่าสูงด้านเซลล์และยีนบำบัด ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาของผู้ป่วย 
  4. เป็นแหล่งวิชาการกระจายความรู้ที่ถูกต้องสู่แพทย์และประชาชนทั่วไป 
  5. เป็นแหล่งผลิตผลงานวิจัยระดับนานาชาติ

การให้บริการของศูนย์

ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านสเต็มเซลล์และเซลล์บำบัด ให้บริการผลิตเซลล์ปลูกถ่ายเพื่อผู้ป่วย โดยร่วมมือกับศูนย์รักษาอื่น ๆ 


การบริจาคเพื่อการวิจัย

สามารถให้การสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์ฯ บริจาคโดยโอนเข้าบัญชี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (กองทุนสเต็มเซลล์เพื่อการรักษาและพัฒนา) ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสภากาชาดไทย เลขที่ 429-021965-9 โดยเงินที่ได้รับบริจาคจะใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการวิจัยพัฒนาการรักษาใหม่ และค่าใช้จ่ายในการตรวจวิเคราะห์รักษาของผู้ป่วยที่ขาดแคลน ทั้งนี้เงินบริจาคให้ศูนย์ฯ สามารถหักภาษีได้ 2 เท่า 

ผศ.ดร.นพ.นิพัญจน์ อิศรเสนา ณ อยุธยา
หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านสเต็มเซลล์และเซลล์บำบัด


วัน/เวลา และสถานที่ให้บริการ

ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านสเต็มเซลล์และเซลล์บำบัด เปิดให้บริการ ณ อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น 8  โซน C

ข้อมูลติดต่อ

ชื่อฝ่าย/ศูนย์

ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านสเต็มเซลล์และเซลล์บำบัด
อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น 8  โซน C

เบอร์โทรศัพท์หน่วยงาน

02 256 4000 ต่อ 80836-7

Nová online kasina s bonusem bez vkladu, doporučená Betzoidem