ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์
การผ่าตัดส่องกล้องโรคจมูกและไซนัส
Endoscopic Nasal and Sinus Surgery Excellence Center
เป็นศูนย์การผ่าตัดส่องกล้องโรคจมูกและไซนัสระดับเอเชีย
จุดเริ่มต้นของศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์การผ่าตัดส่องกล้องโรคจมูกและไซนัสแห่งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มาจากการดำเนินงานของกลุ่มงานด้านการผ่าตัดส่องกล้อง (Endoscope) โรคจมูกและไซนัสของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เมื่อประมาณ 20 กว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งการส่องกล้องได้เข้ามามีส่วนช่วยในการผ่าตัดโรคอื่น ๆ ที่มีความซับซ้อนในอวัยวะใกล้เคียงนอกเหนือจากจมูกและไซนัส เช่น ลูกตา และฐานสมอง ได้ด้วย ต่อมาโรงพยาบาลจึงได้จัดตั้งให้เป็นศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์การผ่าตัดส่องกล้องโรคจมูกและไซนัส เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ทางศูนย์ฯ ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในด้านการบริการ มีเครื่องมือที่ทันสมัยและริเริ่มการผ่าตัดที่ไม่เคยทําในประเทศไทยมาก่อนให้เกิดขึ้นที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เป็นครั้งแรก
ทางศูนย์ฯ ยังได้เริ่มจัดประชุมอบรมการฝึกผ่าตัดส่องกล้องโรคจมูกและไซนัสในร่างอาจารย์ใหญ่ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2542 และจัดเป็นประจําเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ทําให้ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์แห่งนี้มีชื่อเสียง และเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในระดับนานาชาติ อีกทั้งยังมีการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอดสาขา rhinology, allergy and skull base ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2549 เป็นหลักสูตร 1 ปี ต่อมาในปี พ.ศ. 2558 ได้ปรับเปลี่ยนหลักสูตรเป็น 2 ปี เพื่อเพิ่มเติมความรู้และความเชี่ยวชาญในการผ่าตัด รวมถึงความรู้ทั้งเชิงกว้างและเชิงลึกในการทำวิจัย และทางศูนย์ฯ ยังได้เพิ่มหลักสูตรปริญญาเอก และปริญญาโทนานาชาติ ด้าน clinical science in rhinology ด้วย ปัจจุบันได้รับการยอมรับว่าเป็นศูนย์การผ่าตัดส่องกล้องโรคจมูก ไซนัส และฐานสมองชั้นนําในระดับอาเซียน
เจตจำนง
ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ “การผ่าตัดส่องกล้องโรคจมูกและไซนัส” แห่งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เป็นศูนย์การผ่าตัดส่องกล้องโรคจมูกและไซนัสระดับเอเชีย
ภาระหน้าที่
- ให้บริการตรวจวินิจฉัยรักษาและผ่าตัด และเป็นศูนย์รับผู้ป่วยส่งต่อโรคจมูกและไซนัสที่จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดด้วยการส่องกล้องเอ็นโดสโคป
- ฝึกอบรมหลักสูตรแพทย์ประจำบ้านสาขาโสต ศอ นาสิกวิทยา แพทย์ประจำบ้านต่อยอดอนุสาขานาสิกวิทยาและภูมิแพ้ และหลักสูตรนานาชาติ Clinical Fellowship in Rhinology
- จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการของภูมิภาคเอเชีย เกี่ยวกับ nasal and sinus cadaver dissection workshop
- พัฒนาวิชาการศึกษาวิจัยและค้นคว้าองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับการผ่าตัดโรคจมูกและไซนัสด้วยการส่องกล้องเอ็นโดสโคป
ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์การผ่าตัดส่องกล้องโรคจมูกและไซนัส แห่งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ถือเป็นหน่วยงานที่อยู่ภายใต้การดูแลของอาจารย์แพทย์ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โดยโครงสร้างการดำเนินงานภายในศูนย์นี้ จะมีหัวหน้าศูนย์ฯ กรรมการบริหารศูนย์ฯ งานธุรการของศูนย์ฯ และงานวิชาการและบริการทางการแพทย์ของศูนย์ฯ
ซึ่งประกอบด้วย แพทย์ พยาบาล ผู้ช่วยพยาบาล และนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ ดังนี้
รศ.ดร.นพ.มล.กรเกียรติ์ สนิทวงศ์
หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์การผ่าตัดส่องกล้องโรคจมูกและไซนัส
รศ.นพ.ทรงกลด เอี่ยมจตุรภัทร
รศ.พญ.สุพินดา ชูสกุล
อ.นพ.ขจร เสรีศิริขจร
ผศ.นพ.เจษฎา กาญจนอัมพร
Dr.Minh Phuoc Hoang
Fellow
พญ.ลลิตา พระธานี
Fellow
นพ.ทศพล โลหะวิจารณ์
Fellow
พญ.ทิพย์ญาดา ปภัสสรศิริ
Fellow
นางสาวจินตนา พลายเวช
พยาบาล
นางสาวณัฐหทัย ช่างทองมะดัน
ผู้ช่วยพยาบาล
นางสาวธนัญญา จันทะคัด
ผู้ช่วยพยาบาล
นายชยุตม์ ตันตระกูล
นักวิทยาศาสตร์การแพทย์
นางสาวจันทิมา พรรณาโส
นักวิทยาศาสตร์การแพทย์
นายพีรพัฒน์ กิตติพรนนท์
เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป
รายชื่อแพทย์ประจำบ้านต่อยอดของศูนย์ฯ
ปีการศึกษา | รายชื่อแพทย์ประจำบ้านต่อยอด |
---|---|
2549 | พญ.พวงมะลิ ประเวศวรารัตน์ |
2550 | นพ.คงกฤช กาญจนไพศิษฐ์ พญ.วรรธนีย์ อภิวัฒนเสวี |
2551 | พญ.นทมณฑ์ ชรากร |
2552 | นพ.พิชัย ลิมป์ชาติไพบูลย์ นพ.ญาณินทร์ ฉัตรวิวัฒน์ |
2553 | พญ.สุกัญญา วราธนสิน พญ.ณภรณ์ สุกแสงปัญญา |
2554 | พญ.รุ้ง โกมลหิรัญ พญ.วนศรี ไพศาลตันติวงศ์ |
2555 | พญ.มัลลิกา แสงวารี พญ.รมณา ภัทรธนศิล |
2556 | นพ.วิรัช จิตสุทธิภากร นพ.ชัยรัตน์ วุฒิวงศานนท์ |
2557 | นพ.วิญญู รักษากุล พญ.ภิญทิพ พิชญาพงศ์ |
2558 | พญ.วรรณรวี ไทยตระกูล พญ.จุฬวดี เลี่ยนบรรจง |
2559 | พญ.อรอุษา ทวีวุฒิทรัพย์ นพ.ดิชพงศ์ กาญจนวาสี |
2560 | นพ.ขจร เสรีศิริขจร พญ.สุขุมาลย์ ไชยสวัสดิ์ Dr.Thwe Phyo Kan Nyunt |
2561 | พญ.สุมนมาลย์ วิจิตรรุ่งเรือง พญ.สมปรารถนา จันทรากูล |
2562 | พญ.ลลิตา พระธานี Dr.Minh Phuoc Hoang |
2563 | พญ.ทิพย์ญาดา ปภัสสรศิริ นพ.ทศพล โลหะวิจารณ์ |
รูปผลงานและรางวัลของบุคลากรในศูนย์
การให้บริการของศูนย์
ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์การผ่าตัดส่องกล้องโรคจมูกและไซนัส เปิดให้บริการอย่างครบวงจรในโรคที่เกี่ยวข้องกับจมูกและไซนัสทั้งหมด ซึ่งรวมถึงการอักเสบจากภูมิแพ้ การอักเสบจากการติดเชื้อ ความผิดปกติของโครงสร้าง และเนื้องอก มีการส่องกล้องตรวจในโพรงจมูก มีการตรวจทางห้องปฏิบัติการ มีการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์โดยเครื่องระบบ cone beam และให้การรักษาทั้งการรักษาด้วยยาและการผ่าตัดส่องกล้อง รวมถึงการผ่าตัดในอวัยวะข้างเคียงจมูกและไซนัสที่ใช้การส่องกล้องผ่านจมูกและไซนัส
ตัวอย่างการใช้ส่องกล้องเอนโดสโคปในการผ่าตัด ได้แก่
- การผ่าตัดโรคของไซนัสทั้งการอักเสบ ริดสีดวงจมูก และเนื้องอก
- การผ่าตัดลดขนาดของกระดูกในจมูกเพื่อลดอาการคัดจมูก
- การผ่าตัดลดแก้ไขผนังกั้นช่องจมูกคด
- การผ่าตัดแก้ไขโรคท่อน้ำตาส่วนล่างอุดตัน
- การผ่าตัดตาเพื่อแก้ไขตาโปนในโรคคอพอกตาโปน
- การผ่าตัดลดความดันของเส้นประสาทตา
- การผ่าตัดผูกเส้นเลือดในโรคเลือดกำเดาส่วนหลัง
- การผ่าตัดซ่อมรอยรั่วระหว่างจมูก-ไซนัสกับฐานสมองส่วนหน้า
- การผ่าตัดเนื้องอกของต่อมใต้สมอง
นอกจากนี้ ศูนย์ฯ ได้ทำหน้าที่เป็นศูนย์รับผู้ป่วยโรคจมูกไซนัส และฐานสมองส่วนหน้าที่ถูกส่งตัวมาเพื่อผ่าตัดด้วยการส่องกล้อง
วัน/เวลา และสถานที่ให้บริการ
ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านการผ่าตัดส่องกล้องโรคจมูกและไซนัส เปิดให้บริการตรวจวินิจฉัยและรักษาทุกวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.30 – 16.00 น.
(ยกเว้นวันจันทร์ช่วงบ่าย และวันศุกร์ช่วงบ่าย) ณ อาคาร ภปร ชั้น 10
ตารางวันและเวลาออกตรวจของอาจารย์แพทย์
รายชื่ออาจารย์ | วันออกตรวจ | เวลาออกตรวจ |
---|---|---|
รศ.นพ.ทรงกลด เอี่ยมจตุรภัทร | วันอังคาร | 09.00 – 12.00 น. 13.00 – 16.00 น. |
รศ.ดร.นพ.มล.กรเกียรติ์ สนิทวงศ์ | วันศุกร์ | 09.00 – 12.00 น. |
รศ.พญ.สุพินดา ชูสกุล | วันจันทร์ วันพุธ | 09.00 – 12.00 น. 09.00 – 12.00 น. |
ผศ.นพ.เจษฎา กาญจนอัมพร | วันพุธ วันพฤหัสบดี | 09.00 – 12.00 น. 09.00 – 12.00 น. |
อ.นพ.ขจร เสรีศิริขจร | วันอังคาร วันพฤหัสบดี | 13.00 – 16.00 น. 13.00 – 16.00 น. |
ข้อมูลติดต่อ
ชื่อฝ่าย/ศูนย์
ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ การผ่าตัดส่องกล้องโรคจมูกและไซนัส
อาคาร ภปร ชั้น 10
เบอร์โทรศัพท์หน่วยงาน
02 256 5231
เว็บไซต์หน่วยงาน