ลูกตุ้มระงับปวด


ก้าวใหม่แห่งนวัตกรรมการรักษา ลดความทรมาน
ปลอดภัย สะดวก พกพาได้

เมื่อความก้าวหน้าของวิทยาการทางการแพทย์เติบโตก้าวไกลอย่างไม่หยุดยั้ง ทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการระงับปวด โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย จึงริเริ่มนำอุปกรณ์ “ลูกต้มุ ระงับปวด” ตัวช่วยลดความเจ็บปวดแก่ผู้ป่วยผ่านเทคโนโลยีที่ได้รับการวิจัยและพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ร่วมกับการให้ยาชาเฉพาะส่วนเพื่อลดอาการปวดที่เกิดขึ้นหลังผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัดโดยเฉพาะการผ่าตัดทางออร์โธปิดิกส์ อุปกรณ์ดังกล่าวนับเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมทางการแพทย์ล่าสุดที่นำมาช่วยลดความทรมานของผู้ป่วยได้ ช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วและกลับไปมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น คอลัมน์ “บอกเล่าก้าวทันหมอ” จะมาเล่าถึงความพิเศษของ “ลูกตุ้มระงับปวดหรือกระปุกให้ยาชาเฉพาะที่” ให้ผู้อ่านได้รับทราบ

รศ.(พิเศษ)พญ.วิรินารี คำพิทักษ์ วิสัญญีแพทย์ ฝ่ายวิสัญญีวิทยาโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย อธิบายว่า การรักษาด้วยวิธีการระงับปวดหลังทำการผ่าตัดในอดีตที่นิยมใช้อย่างกว้างขวางคือ การให้ยาระงับปวดผ่านทางหลอดเลือดดำ โดยจะใช้ยาระงับปวดกลุ่มโอปิออยด์ (Opioid Analgesics) อาทิ Morphine Fentanyl Hydromorphone เป็นต้น เนื่องจากมีฤทธิ์ในการระงับปวดเฉียบพลันและอาการปวดเรื้อรังได้ดีเยี่ยมแต่ในทางกลับกันพบว่าผู้ป่วยที่ใช้ยากลุ่มนี้เกิดผลข้างเคียงสูงตามมา ได้แก่ อาการปวดศีรษะรุนแรง เวียนหัว บ้านหมุน คลื่นไส้ อาเจียน และปัสสาวะลำบาก ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ป่วยฟื้นตัวช้า โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดใหญ่ และผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดกระดูกหรือการผ่าตัดทางออร์โธปิดิกส์ ดังนั้นผู้ป่วยจะต้องทนทุกข์ทรมานเป็นอย่างมาก และส่งผลให้ยาระงับปวดที่ให้ทางหลอดเลือดดำตามวิธีการปกติหรือการรับประทานยาระงับปวดหลายประเภทนั้นจะไม่สามารถระงับอาการปวดได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ หากผู้ป่วยรับประทานยามากก็จะยิ่งมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงสูงตามไปด้วย ส่งผลต่อเนื่องให้ร่างกายฟื้นตัวช้า หรือในบางรายที่ต้องเข้ารับการทำกายภาพบำบัดจะสามารถทำได้ช้าและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นภายหลัง
การรักษาก็เกิดขึ้นช้าลงตามลำดับ

วิทยาการก้าวหน้าสู่ตัวช่วยการรักษา ตอบโจทย์การระงับปวดรุนแรงดีเยี่ยม

เมื่อเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการรักษามากกว่าในอดีต “ลูกตุ้มระงับปวด” หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “กระปุกให้ยาชาเฉพาะที่” หลังผ่าตัดโดยใช้ร่วมกับการใช้เครื่องอัลตราซาวด์นำทางในการฉีดยาชาเฉพาะที่เพื่อสกัดกั้นเส้นประสาทส่วนที่ไปเลี้ยงบริเวณที่จะได้รับความเจ็บปวดจากการผ่าตัด ซึ่งเกิดประโยชน์ต่อผู้ป่วยสูงมาก
• ด้านความปลอดภัย แพทย์สามารถระบุตำแหน่งการฉีดยาชาได้อย่างแม่นยำมากกว่าในอดีต
• ด้านภาวะแทรกซ้อน พบน้อยมากหรือไม่พบการเกิดผลข้างเคียง

รศ.(พิเศษ)พญ.วิรินารี กล่าวว่า ลูกตุ้มระงับปวดจะนำมาใช้กับผู้ป่วยที่มีอาการปวดรุนแรงหรืออาการปวดฉับพลนั หลังทำการผ่าตัด โดยมากจะเป็นผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดกระดกู และข้อผ่าตัดข้อเข่าเทียมในผู้ป่วยสูงอายุ ผ่าตัดข้อสะโพกหัก ผ่าตัดกระดูกข้อเท้า ผ่าตัดหน้าท้อง ผ่าตัดทรวงอก โดยนำเทคโนโลยีระงับปวดด้วยเครื่องอัลตราซาวด์นำทางมาใช้ร่วมด้วย ทำให้แพทย์สามารถมองเห็นเส้นประสาทและเนื้อเยื่อบริเวณโดยรอบเส้นประสาทได้อย่างชัดเจน ซึ่งวิธีการนี้จะช่วยให้วิสัญญีแพทย์สามารถฉีดยาชาเฉพาะส่วนรอบเส้นประสาทได้อย่างแม่นยำ และเพิ่มประสิทธิภาพการระงับปวดหลังการผ่าตัดได้ดีมากยิ่งขึ้น ทำให้ผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวได้รับยาระงับปวดกลุ่มโอปิออยด์ (Opioid Analgesics) น้อยลง

การรักษาด้วยอุปกรณ์ “ลูกตุ้มระงับปวด” ให้ยาชาเฉพาะส่วน ตอบโจทย์ครอบคลุมรอบด้านทั้งในมุมมองของแพทย์ผู้ทำการรักษา และผู้ป่วยยังได้รับประโยชน์สูงสุดอีกด้วย
• แพทย์สามารถให้ยาชาผ่านสายที่ติดไว้ ณ จุดที่มีเส้นประสาทหรือแขนงประสาทไปเลี้ยงบริเวณที่ผ่าตัดเพื่อระงับปวดได้ ดังนั้นผู้ป่วยจะไม่รู้สึกเจ็บหรือปวดรุนแรงในบริเวณที่ผ่าตัด
• แพทย์สามารถกำหนดความเข้มข้นของยาและปริมาณยาต่อชั่วโมงให้เหมาะสมกับผู้ป่วยได้
• ไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียง ไม่ส่งผลต่ออาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อแต่อย่างใด
• สามารถให้ยาระงับปวดได้อย่างต่อเนื่องจนกระทั่งถอดสายออกโดยไม่ต้องกลับมาฉีดซ้ำ
• สะดวกสบายต่อผู้ป่วย เนื่องจากผู้ป่วยสามารถห้อยลูกตุ้มระงับปวดไว้ที่คอหรือแขวนไว้ที่ไหล่ และสามารถเคลื่อนไหวหรือเดินไปมาได้ โดยพกพาต่อเนื่องได้ในช่วงระยะความเจ็บปวดหลังการผ่าตัดยังคงมีความรุนแรงอยู่ ซึ่งโดยปกติจะเป็นเวลาประมาณ 3 – 4 วัน หลังทำการผ่าตัด
• ช่วยลดปริมาณการรับประทานยาแก้ปวดและการให้ยาระงับปวดผ่านหลอดเลือดดำได้ ซึ่งถือเป็นผลดีต่อผู้ป่วยโรคหัวใจและผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากผู้ป่วยกลุ่มนี้ไม่สามารถรับประทานยาแก้ปวดในปริมาณมากได้
• ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องทำกายภาพบำบัด สามารถทำกายภาพบำบัดได้ทันที ทำให้ผลลัพธ์ทางกายภาพหลังผ่าตัดได้ผลดี
• ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็ว สามารถกลับบ้านได้เร็วขึ้น

รศ.(พิเศษ)พญ.วิรินารี กล่าวทิ้งท้ายว่า ลูกตุ้มระงับปวดหรือกระปุกให้ยาชาเฉพาะที่ถือเป็นวิทยาการทางการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพในการรักษาสูงสุด ช่วยลดความทรมานของผู้ป่วยได้อย่างตรงจุด ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วยิ่งขึ้น ลดการพึ่งพาคนรอบข้าง สามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ และมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นกลับไปดำรงชีวิตร่วมกับครอบครัวได้อย่างมีความสุข

“เป้าหมายสำคัญของการใช้อุปกรณ์ลูกตุ้มระงับปวด คือการได้มอบคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุดแก่ผู้ป่วย
การได้เห็นผู้ป่วยไม่ต้องทุกข์ทรมานจากอาการเจ็บปวดรุนแรงหลังการผ่าตัด คือหัวใจสำคัญของการรักษา”