ศูนย์โรคหัวใจ

The Cardiac Center

ให้บริการวินิจฉัยและดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดแบบครบวงจร
เป็นศูนย์กลางการวิจัยและเป็นศูนย์กลางความรู้ เผยแพร่แก่ประชาชนและสังคม

เป็นศูนย์การแพทย์ตติยภูมิให้บริการวินิจฉัยและดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจและ หลอดเลือดแบบครบวงจร มีเทคโนโลยีและเครื่องมือการแพทย์ที่ทันสมัย  ดูแลโดยทีมอาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขา และ บุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูง นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางการวิจัยและเป็นศูนย์กลางความรู้เผยแพร่แก่ ประชาชนและสังคม

ศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ประกอบด้วย สาขาวิชาต่างๆที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สาขาวิชาอายุรศาสตร์หัวใจและหลอดเลือด สาขาวิชาศัลยศาสตร์หัวใจและทรวงอก สาขาวิชากุมารเวชศาสตร์หัวใจ และ สาขาวิชาวิสัญญีวิทยาหัวใจและทรวงอก  ปัจจุบันได้ร่วมกับสาขาวิชาภาพถ่ายรังสีหัวใจโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์จากภาควิชารังสีวิทยาและ คณาจารย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูหัวใจจากภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อให้การบริการผู้ป่วยสมบูรณ์และครบวงจรมากที่สุด

วิสัยทัศน์

เป็นสถาบันต้นแบบทางการแพทย์ที่มีคุณธรรม  ด้วยคุณภาพมาตรฐานระดับนานาชาติ ที่จะก้าวไปข้างหน้าสู่ความเป็นเลิศ ยกระดับความสามารถทางการแพทย์และการรักษา พยาบาลของประเทศให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืน

พันธกิจ

ให้การศึกษา ผลิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางและบุคลากรทางการแพทย์ทุกระดับ ให้บริการรักษาพยาบาล ฟื้นฟูสมรรถภาพ ป้องกันโรค และสร้างเสริมสุขภาพที่เป็นเลิศ ด้วยการค้นคว้า วิจัย สร้างนวัตกรรมทางการแพทย์และการพยาบาลที่มีคุณภาพมาตรฐานระดับนานาชาติ พัฒนาคุณภาพ การบริการอย่างต่อเนื่อง เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของทุกคน

เกี่ยวกับศูนย์โรคหัวใจ

ศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ขึ้นชื่อว่าเป็น “ศูนย์โรคหัวใจ มือวางอันดับต้น ๆ ของประเทศ” ที่พร้อมดูแลหัวใจคุณ มีบริการวินิจฉัยและดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจที่มีความซับซ้อนเป็นพิเศษ อาทิ

  • การผ่าตัดหัวใจพิการแต่กำเนิด
  • การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ
  • การผ่าตัดหลอดเลือดแดงใหญ่
  • การผ่าตัดปลูกถ่ายหัวใจ
  • การผ่าตัดต่อเส้นเลือดหัวใจหรือการผ่าตัดบายพาส
  • การผ่าตัดซ่อมลิ้นหัวใจ
  • การผ่าตัดเปลี่ยนจังหวะหัวใจ (หัวใจเต้นผิดจังหวะ)

ศ.นพ.วิชัย เบญจชลมาศ หัวหน้าศูนย์ โรคหัวใจ กล่าวว่า ศูนย์ฯ แห่งนี้ให้บริการการรักษาโดยบุคลากรทางการแพทย์สหสาขาที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์เฉพาะทางสูง ได้แก่

  • สาขาวิชาอายุรศาสตร์หัวใจและหลอดเลือด
  • สาขาวิชาศัลยศาสตร์ทรวงอก
  • สาขาวิชาโรคหัวใจเด็ก
  • สาขาวิชาวิสัญญีวิทยาหัวใจและทรวงอก
  • สาขารังสีวิทยาการตรวจภาพหัวใจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ และ
  • สาขาเวชศาสตร์ฟื้นฟูหัวใจ

โดยรักษาควบคู่ไปกับการพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์ ซึ่งในการรักษาปัจจุบันมีเทคโนโลยีเครื่องพยุงหัวใจที่สามารถฝังไว้ในร่างกาย ทำให้ผู้ป่วยสามารถนำกลับบ้านได้โดยไม่ต้องพักฟื้นที่โรงพยาบาล ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ปัจจุบันมีเทคโนโลยีเครื่องพยุงหัวใจที่สามารถฝังไว้ในร่างกาย ทำให้ผู้ป่วยสามารถนำกลับบ้านได้โดยไม่ต้องพักฟื้นที่โรงพยาบาล ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ในอดีตศูนย์โรคหัวใจให้บริการเพียงแค่การวินิจฉัยโรคหัวใจในเด็ก แต่ปัจจุบันได้พัฒนาโดยมีการทำหัตถการมากขึ้น เพื่อลดการผ่าตัดใหญ่ ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วและมีบาดแผลน้อย อีกทั้งสามารถตรวจวินิจฉัยความผิดปกติของหัวใจได้ตั้งแต่ในครรภ์ ทำให้ทีมแพทย์และผู้ปกครองเด็กสามารถเตรียมพร้อมเพื่อผ่าตัดหัวใจให้กับทารกหลังคลอดได้ในเวลาที่เหมาะสม

ในขณะเดียวกัน กลุ่มผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่ที่เป็นโรคหัวใจก็มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกปี และกลุ่มผู้ป่วยสูงวัยก็มีแนวโน้มเป็นผู้ป่วยที่มีอายุมากขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย แต่การผ่าตัดเพื่อทำการรักษาไม่ได้ขึ้นอยู่กับอายุ แต่ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละบุคคลว่ามีความพร้อมมากเพียงใด โดยศูนย์ โรคหัวใจแห่งนี้ การันตีด้วยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการผ่าตัดหัวใจที่ดีอันดับต้น ๆ ของประเทศไทย ดังนั้นปัญหาโรคเกี่ยวกับหัวใจจึงอาจไม่ใช่ฝันร้ายสำหรับผู้ป่วยและญาติอีกต่อไป

ข้อมูลติดต่อ

ชื่อฝ่าย/ศูนย์

ศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น 4 โซน D

เบอร์โทรศัพท์หน่วยงาน

02-256-4000 (ต่อ 80442-80445)

เว็บไซต์หน่วยงาน

กลุ่มงานภาวะหัวใจล้มเหลว และอายุรศาสตร์ การปลูกถ่ายหัวใจ
(Heart Failure and Transplant Cardiology)

เกี่ยวกับ Heart Failure and Transplant Cardiology

  1. ดูแลผู้ป่วยแบบใด ?
    • ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว (Heart failure) ซึ่งเกิดจากสภาวะ ที่กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง และไม่สามารถสูบฉีด เลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ตามปกติ ทำให้มีอาการ เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก ไม่สามารถนอนราบได้ ขาบวม ท้องบวม และน้ำหนักตัวเพิ่มสูงผิดปกติ ภาวะหัวใจล้มเหลวนี้เป็นภาวะเรื้อรัง สามารถรักษาได้ แต่ไม่หายขาด จำเป็นต้องใช้ยาหลายชนิด เพื่อการดูแลผู้ป่วย ในผู้ป่วยที่มีอาการมากหรือรุนแรงอาจต้องใช้การรักษาสูงขึ้นกว่าการรักษาด้วยยา ได้แก่ การรักษาด้วยการฝังเครื่องประสานการทำงานของหัวใจ (Cardiac implantable electronic devices) หรือ การผ่าตัดใส่ เครื่องพยุงหัวใจ (mechanical circulatory support) หรือ การปลูกถ่ายหัวใจ (heart transplant) เป็นต้น
    • ผู้ป่วยก่อนและหลังปลูกถ่ายหัวใจ เป็นการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องจากภาวะหัวใจล้มเหลวครบวงจร
  2. ให้ความรู้ แก่บุคลากรทางการแพทย์ (นิสิตแพทย์ แพทย์ประจำบ้าน และ แพทย์ประจำบ้านต่อยอด) และประชาชน รวมถึง จัดการประชุมทางวิชาการแก่บุคลากรทางการแพทย์ เป็นประจำทุกปีในระดับชาติ และ นานาชาติ (heart failure preceptorship program)
  3. ผลิตงานวิจัย เกี่ยวกับ Heart failure และ transplant cardiology สำหรับสังคมไทยและระดับนานาชาติ

บุคลากร

  1. แพทย์เฉพาะทางอนุสาขา heart failure and transplant cardiology 4 ท่าน
  2. พยาบาลประจำ heart failure and transplant cardiology สังกัดศูนย์โรคหัวใจและฝ่ายการพยาบาล 3 ท่าน
  3. เภสัชกร 3 ท่าน สังกัดโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ 2 ท่าน สังกัด คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 1 ท่าน
  4. เภสัชกร resident 3 ท่าน หมุนเวียน 1 ท่าน ปฏิบัติงานผู้ป่วยนอก และ 1 ท่านปฏิบัติงานผู้ป่วยใน
  5. นักกำหนดอาหาร (dietician) 1 ท่าน
  6. นักวิทยาศาสตร์ 1 ท่าน
  7. เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 1 ท่าน
  8. และ หน่วยงานอื่นซึ่งประสานงาน ปรึกษาเพิ่มเติม ได้แก่ นักกายภาพ (Cardiac rehabilitation) in collaboration ศัลยศาสตร์ หัวใจและทรวงอก และ แต่ละอนุสาขาของอายุรศาสตร์หัวใจ และ แผนกอื่น ๆ

การเข้ารับบริการของผู้ป่วย

รับการปรึกษาและ ส่งต่อจากแพทย์ (อายุรแพทย์หัวใจ และหรือ ศัลยแพทย์หัวใจและทรวงอก) ภายในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และ นอกโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ อีกต่อหนึ่ง ไม่รับผู้ป่วย walk in หรือ self – referral

ข้อมูลติดต่อ

เบอร์โทรศัพท์หน่วยงาน

02 -256 -5371 02 -256 -4000 ต่อ 81132 -3

เว็บไซต์หน่วยงาน

ขอบเขตการให้บริการ

ให้บริการตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยทางระบบหัวใจและหลอดเลือดด้วยเครื่องมือที่ทันสมัยและส่งต่อผู้ป่วยไปยังช่องทางการรักษาที่ถูกต้องและทันเวลา
1) ให้บริการการตรวจวินิจฉัยทางโรคหัวใจและหลอดเลือด ดังนี้คือ

  1. การตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ (Echocardiography) โดยมี การตรวจตั้งแต่ขั้นพื้นฐานด้วยระบบภาพ 2 มิติ (2D) จนถึง การตรวจขั้นสูง (Advanced echocardiography) ได้แก่ ­
    • 2-dimenstional echocardiography เป็นการตรวจการทำงานของหัวใจขั้นพื้นฐานเพื่อดูความผิดปกติของการทำงานของหัวใจตลอดจนลิ้นหัวใจ และหากมีขึ้นบ่งชี้ในการดูผนังหัวใจรั่วสามารถที่จะฉีดน้ำเกลือ (agitated saline) ได้
    • ­
    • 3-dimensional echocardiography ซึ่งช่วยให้แพทย์ประเมินความผิดปกติได้ชัดเจนขึ้นได้ในแนวลึกแบบ 3 มิติ สามารถเห็นภาพในทำให้วางแผนการรักษาได้อย่างถูกต้อง
    • ­
    • การตรวจ speckle tracking ซึ่งบอกการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจได้ละเอียดและสามารถพยากรณ์โรคได้ดีขึ้น
  2. การตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจผ่านหลอดอาหาร (Transesophageal Echocardiography-TEE) โดยมีการให้ conscious sedation ระหว่างทำหัตถการ ทำให้ผู้ป่วยไม่เจ็บปวดขณะทำการตรวจ รวมถึงการมีห้องพักพื้นที่มีการตรวจติดตามสัญญาณชีพของผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดทำให้ผู้ป่วยปลอดภัยมากขึ้นภายหลังการทำหัตถการ
  1. การตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจร่วมกับการกระตุ้นหัวใจ (Stress echocardiography) เพื่อตรวจสมรรถภาพของการทำงานของหัวใจในขณะออกกำลังกาย ทั้งเพื่อประเมินความผิดปกติของหลอดเลือดหัวใจรวมถึงลิ้นหัวใจร่วมด้วย
    • Treadmill stress echocardiography
    • Dobutamine – Atropine stress echocardiography
    • Supine ergometry stress echocardiography
  2. การตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการวิ่งสายพาน (Exercise stress test – EST) เพื่อประเมินสมรรถภาพร่างกายและความผิดปกติของหลอดเลือดหัวใจรวมถึงการเต้นของหัวใจ
  3. การตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการใช้เวชศาสตร์นิวเคลียร์ (Myocardial perfusion – MIBI) ร่วมกับทางสาขาวิชาเวชศาสตร์นิวเคลียร์
  4. การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram – ECG)
    • 12-lead ECG
    • 16-lead ECG
    • Flecainide and Ajmaline challenge test ในผู้ป่วยสงสัยโรคไหลตาย Brugada syndrome
  1. การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจติดตามตัว แบบ24 ชั่วโมงแบบ 48 ชั่วโมง แบบ 72 ชั่วโมง (Holter monitoring)
  2. การตรวจเตียงกระดกเพื่อวินิจฉัยการเป็นลมหมดสติ (Tilt table test – TTT)
  3. การบันทึกความดันโลหิตติดตามตัว 24 ชั่วโมง (Ambulatory blood pressure monitoring)
  4. การตรวจวัดการอุดตันและความแข็งตัวของหลอดเลือดแดงส่วนปลาย (Ankle brachial index – ABI and Cardo Ankle vascular index – CAVI)
  5. การตรวจประเมินสมรรถภาพโดยให้ผู้ป่วยเดินเร็วเป็นเวลา 6 นาที (Six-minute walk test – 6MWT)

2) การตรวจด้วยคลื่นสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้าหัวใจ (cardiac MRI) ซึ่งเป็นการตรวจหัวใจให้ระเอียดมากขึ้น รวมถึงการบอกโครงสร้างหัวใจและหลอดเลือดที่ผิดปกติของหัวใจได้เป็นอย่างดี

ทั้งนี้การให้บริการของห้องตรวจฯ มุ่งเน้น เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ป่วย แบบ one-stop service ภายใต้การดูแลโดยอาจารย์แพทย์เฉพาะทางและการดูแลอย่างใกล้ชิดจากทีมพยาบาลและเจ้าหน้าที่  ทีผ่านการฝึกอบรบมาเป็นอย่างดี รวมถึงอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ที่ทันสมัย มีความปลอดภัย

นอกจากนี้ห้องตรวจยังมีการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทางการแพทย์ โดยมีการเชื่อมโยงกับระบบ Hospital information system (HIS) อย่างเป็นระบบและทำให้เกิดความถูกต้อง สะดวกในการทำงานและการให้บริการ รวมถึงการเรียนการสอน และงานวิจัย

ทั้งห้องตรวจ adult noninvasive cardiovascular laboratory ยังเน้นในส่วนของการเรียนการสอน โดยทางห้องตรวจได้เปิด ศูนย์การเรียนรู้และฝึกอบรมการตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจขึ้นสูง เป็นแห่งแรกในประเทศไทย ทั้งนี้เพื่อเป็นต้นแบบและแหล่งศึกษาดูงานของบุคคลากรทั้งภายในและภายนอกประเทศอีกด้วย