โรคลมหลับ


โรคลมหลับ (Narcolepsy) เป็นโรคเกี่ยวกับการนอนหลับที่มีอาการง่วงนอนตลอดเวลา และหลับในช่วงเวลาต่างๆอย่างผิดปกติ ในบางครั้งอาจมีอาการคล้ายหลับ (คือมีกล้ามเนื้ออ่อนแรง คอตก เป็นต้น) ขณะที่มีอารมณ์เปลี่ยนแปลง ผู้ป่วยมักมีอาการง่วงนอนตลอดเวลา และไม่ว่าจะนอน เท่าใดก็ยังรู้สึกง่วง หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมจะมีคุณภาพชีวิตที่แย่ลงอย่างมาก อาจเกิดการหลับในสถานการณ์ที่ไม่เหมาะสมและอันตรายได้ เช่น ขับรถ กำลังผ่าตัดผู้ป่วย

สาเหตุของโรค

ยังไม่ทราบแน่ชัด โรคนี้มีความผิดปกกติที่สมองควบคุมการหลับและตื่น โดยมีการหลับแทรก เข้ามาในขณะที่ยังตื่นอยู่ อาการของโรค เช่น ง่วงนอนตลอดเวลา แขนขาอ่อนแรงขณะจะตื่น(ผีอำ) เห็นภาพลวงตาช่วงที่จะหลับ

โรคนี้ไม่ใช่โรคทางจิตเวช พบว่าผู้ป่วยโรคนี้มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นโรคนี้ด้วย จากการศึกษาพบว่าผู้ป่วยบางรายมีสารเคมีในสมองที่ชื่อว่า hypocretin ต่ำกว่าปกติ นักวิจัยบางรายได้เสนอ ว่าโรคนี้เกิดจาก ความผิดปกติทางพันธุกรรมร่วมกับปัจจัยภายนอกบางอย่าง

อาการของโรค

  1. ง่วงนอนมากผิดปกติ มักเป็นอาการแรกของผู้ป่วยโรคนี้ ผู้ป่วยจะหลับในสถานการณ์ ต่างๆเช่น ในห้องเรียน หลังอาหาร โรงภาพยนต์ ขณะเขียนหนังสือ หรือแม้แต่ขณะ กำลังสนทนา การนอนช่วงสั้นๆจะช่วยให้ สดชื่นขึ้นได้
  2. Cataplexy (ผลอยหลับ คือมีกล้ามเนื้ออ่อนแรง คอตก เวลาที่มีอารมณ์เปลี่ยนแปลง เป็นต้น)
  3. Sleep paralysis (ผีอำ) เป็นภาวะที่ไม่สามารถขยับตัวได้ขณะกำลังจะตื่น (คล้ายผีอำ) เป็นอาการที่ น่าตกใจแต่ไม่อันตราย
  4. Hypnagogic hallucination (เห็นภาพหลอนขณะกำลังจะหลับ) เห็นภาพหลอนขณะที่กำลังจะหลับ โดยอาจเห็นเป็นสัตว์ประหลาดหรือสิ่งที่น่ากลัวต่างๆได้

อาการอื่น ๆ ของโรค

  1. พฤติกรรมที่ทำโดยไม่รู้สึกตัว ขณะหลับอาจทำกิจกรรมต่างๆได้ เช่น ขับรถ ทำอาหาร ซึ่งอาจเป็นอันตรายได้
  2. นอนไม่หลับในเวลากลางคืน สมองควบคุมการหลับตื่นผิดปกติทำให้นอนไม่หลับตอนกลาง คืนได้
  3. ไม่มีสมาธิ
  4. ปวดศีรษะ
  5. ขี้ลืม
  6. ซึมเศร้า

การให้การวินิจฉัย

การวินิจฉัยโรคลมหลับ ทำได้โดยตรวจการนอนหลับ (polysomnogram) และตรวจความ ง่วงนอน (multiple sleep latency test (MSLT) ในเช้าวันรุ่งขึ้นต่อจากการตรวจการนอนหลับ โดยผู้ป่วยโรคนี้ ต้องได้รับการตรวจประเมินว่าไม่ใช่โรคร้ายแรงอื่นๆก่อนตรวจการนอนหลับโดย MSLT จะตรวจโดยให้ผู้ป่วยงีบ ประมาณ 20 นาทีห่างกันทุก 2 ชั่วโมง จำนวน 4-5 รอบ และบันทึกผล

การรักษา

ในปัจจุบันแม้ว่ายังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถให้การรักษาเพื่อบรรเทาอาการได้ เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่เหมือนคนปกติได้

  1. การรักษาภาวะง่วงนอนมากกว่าปกติ

  • โดยใช้ยา การใช้คาเฟอีนมักไม่ได้ผล ยาที่ใช้ได้ผลคือยากระตุ้นประสาท เช่น methylphenidate, amphetamine, modafinil
  • พฤติกรรมบำบัด เช่น
  • การนอนและตื่นให้เป็นเวลาสม่ำเสมอทุกๆวัน
  • งีบหลับในตอนกลางวัน
  • ระมัดระวังในการทำกิจกรรมที่อาจเกิดอันตรายหากมีอาการของโรคเกิดขึ้น เช่น การขับรถ การทำอาหาร
  1. การรักษาภาวะผลอยหลับ

  • โดยการใช้ยา เช่น venlafaxine

ปัจจัยที่ส่งเสริมการรักษา

ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคแก่ผู้ป่วย ครอบครัว เพื่อน ผู้ร่วมงาน หากเป็นเด็กควรแจ้งให้ทาง โรงเรียนทราบด้วย

สามารถติดต่อเพื่อขอรับคำปรึกษาและตรวจวินิจฉัยโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ที่
ศูนย์นิทราเวช อาคารผู้ป่วยในพิเศษ 14 ชั้น ชั้น 5 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
โทร 02 649 4037

หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.sleepcenterchula.org
และเฟสบุ๊ก https://www.facebook.com/sleepcenterchula/