ฝ่ายอายุรศาสตร์
Department of Medicine
มุ่งผลิตบัณฑิตและแพทย์เฉพาะทาง
สร้างงานวิจัยและผลงานวิชาการที่มีคุณค่า
ฝ่ายอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ แต่เดิมคือ ภาควิชาอายุรศาสตร์ ในคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ซึ่งอยู่ภายใต้สังกัดมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ขึ้นกับกระทรวงสาธารณสุข ต่อมาจึงได้โอนมาขึ้นอยู่กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2510 จนกระทั่งถึงปัจจุบัน
เจตจำนง
ฝ่ายอายุรศาสตร์ เป็นหน่วยงานในคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มุ่งผลิตบัณฑิตและแพทย์เฉพาะทางที่ใฝ่รู้ คู่คุณธรรม พร้อมทั้งมีการสร้างงานวิจัยและผลงานวิชาการที่มีคุณค่าเป็นแหล่งอ้างอิงทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ มีความเป็นเลิศทางด้านงานบริการ และมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
ภาระหน้าที่
- ผลิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และบัณฑิตวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่มีความรู้คู่คุณธรรม ใฝ่รู้ และมีเจตคติที่ดี
- สร้างงานวิจัยและองค์ความรู้ที่มีคุณค่า เป็นที่ยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ
- ให้บริการทางอายุรกรรมที่มีประสิทธิภาพ เสมอภาค และสร้างความพึงพอใจต่อผู้รับบริการ
- ให้บริการทางวิชาการเพื่อเผยแพร่และแลกเปลี่ยนความรู้ในระดับชาติและนานาชาติ
- สร้างและพัฒนาเครือข่ายด้านการเรียนการสอน การวิจัย บริการทางวิชาการ และบริการทางการแพทย์ในระดับชาติและนานาชาติ
- ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เพื่อดำรงไว้ซึ่งเอกลักษณ์และภูมิปัญญาไทย
- สืบค้นแสวงหาทรัพยากรและมีการบริหารจัดการที่ดี เพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน
- ตรวจสอบและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ
- สร้างคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อบุคลากรในฝ่าย
นอกจากนี้ ฝ่าย/ภาควิชาอายุรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ผลิตและเผยแพร่องค์ความรู้ระดับแนวหน้าภายใต้ชื่อฝ่ายอายุรศาสตร์ ทั้งในรูปแบบของงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์วารสาร และสื่อมัลติมีเดียที่ให้ความรู้ทางการแพทย์แก่ประชาชนทั่วไปผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น รายการโทรทัศน์ หรือช่องยูทูป (YouTube) โดยมุ่งมั่นพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของทุกคน
ฝ่ายอายุศาสตร์ ประกอบด้วยหน่วยงานย่อยทั้งหมด 21 หน่วย ดังนี้
- หน่วยอายุรศาสตร์หัวใจและหลอดเลือด (Division of Cardiovascular Disease)
- หน่วยอายุรศาสตร์โรคระบบหายใจและเวชบำบัดวิกฤติโรคระบบการหายใจ (Division of Pulmonary Disease and Pulmonary Critical Care)
- หน่วยโลหิตวิทยา (Division of Hematology)
- หน่วยโรคทางเดินอาหาร (Division of Gastroenterology)
- หน่วยโรคต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสม (Division of Endocrinology and Metabolism)
- หน่วยตจวิทยา (Division of Dermatology)
- หน่วยโรคไต (Division of Nephrology)
- หน่วยโรคติดเชื้อ (Division of Infectious Diseases)
- หน่วยประสาทวิทยา (Division of Neurology)
- หน่วยโรคข้อและรูมาติสซั่ม (Division of Rheumatology)
- หน่วยโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกันทางคลินิก (Division of Allergy and Clinical Immunology)
- หน่วยระบาดวิทยา (Division of Clinical Epidemiology)
- หน่วยเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ (Division of Geriatric Medicine)
- หน่วยโภชนาการคลินิก (Division of Clinical Nutrition)
- หน่วยโรคมะเร็ง (Division of Oncology)
- หน่วยพิษวิทยา (Division of Toxicology)
- หน่วยเวชศาสตร์ฉุกเฉิน (Division Emergency Medicine)
- หน่วยอายุรศาสตร์โรงพยาบาลและผู้ป่วยนอก (Division Perioperative and Ambulatory Medicine)
- หน่วยเวชพันธุศาสตร์และจีโนมิกส์ (Division Medical Genetic and Genomics)
- หน่วยอายุรศาสตร์ทั่วไป (Division General Medicine)
- หน่วยอายุรศาสตร์เวชบำบัดวิกฤต (Division Critical Care Medicine)
รศ.นพ.วิโรจน์ ศรีอุฬารพงศ์
หัวหน้าฝ่ายอายุรศาสตร์
การให้บริการของฝ่าย
ฝ่ายอายุรศาสตร์ได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดการเรียนการสอนอยู่เสมอ มีการปรับปรุงหลักสูตรเพื่อให้เหมาะสมกับการพัฒนาทางการแพทย์ ความก้าวหน้าทางการวิจัย รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม โดยให้การสนับสนุนในรูปแบบต่าง ๆ ได้แก่
1. ด้านการเรียนการสอน
ฝ่ายอายุรศาสตร์รับผิดชอบการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนให้มีความสอดคล้องกับความต้องการด้านวิชาการและทางวิชาชีพของประเทศ ด้วยกระบวนการสอนที่สนับสนุนให้คณาจารย์มีการเตรียมการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ และมีแนวทางในการประเมินผลในแต่ละหลักสูตรที่ชัดเจน รวมถึงการสรรหาอาจารย์ที่มีคุณสมบัติและคุณวุฒิเหมาะสม โดยส่งเสริมการอบรม สัมมนาในหลักสูตรต่าง ๆ ที่จะทำให้การปฏิบัติงานของอาจารย์มีประสิทธิภาพสูงสุด
2. ด้านการวิจัย
ฝ่ายอายุรศาตร์สนับสนุนหน่วยงานย่อยต่าง ๆ ในการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ จึงให้ความสำคัญกับการค้นคว้าและพัฒนาการวิจัย เพื่อให้เป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาและเผยแพร่องค์ความรู้สู่ชุมชน และเป็นแหล่งอ้างอิงของวงวิชาการทั้งในระดับชาติและนานาชาติ โดยจัดให้มีทีมบริการอาจารย์ผู้สนใจ เช่น คำแนะนำปรึกษาด้านสถิติ แนะนำแหล่งทุน การเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอทุนสนับสนุน/เพื่อพิจารณาจริยธรรมการวิจัยและการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัย ฯลฯ ซึ่งปัจจุบัน ทางฝ่ายอายุรศาตร์ได้มีการจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการวิจัยแล้ว 3 หน่วยงาน และยังมีแผนงานสนับสนุนให้มี “โครงการจัดตั้งเป็นศูนย์แพทย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง” อย่างต่อเนื่องตามศักยภาพของหน่วยงานย่อยนั้น ๆ อีกด้วย
3. ด้านการบริการวิชาการ
ฝ่ายอายุรศาตร์ให้บริการทางการแพทย์และทางวิชาการแก่สังคม ทั้งด้านการเผยแพร่องค์ความรู้ เช่น การจัดสัมมนา การจัดประชุมวิชาการ การสนับสนุนวิทยากรจากภาควิชา ฯลฯ และยังมีการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารทางวิชาการแพทย์ด้านอายุรกรรมที่ถูกต้อง โดยออกวารสารชื่อ “วารสารจุฬาอายุรศาสตร์” เพื่อเผยแพร่ความก้าวหน้าและความรู้ใหม่ ๆ ทางอายุรแพทย์ให้แก่แพทย์ที่เป็นศิษย์เก่า และโรงพยาบาลต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน
4. ด้านบริการและสนับสนุน
ฝ่ายอายุรศาสตร์มีหน่วยงานสนับสนุนในด้านต่าง ๆ ประกอบด้วย 21 หน่วยงานย่อย และ 20 หน่วยการรักษา โดยสนับสนุนการบริการจัดการ รวมถึงงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของคณะแพทยศาสตร์ และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และส่งเสริมสาขาวิชาที่มีความพร้อมให้พัฒนาองค์ความรู้ในแนวลึกทางวิชาชีพให้เป็นผู้นำทางวิชาการของอายุรแพทย์ในระดับชาติ และระดับนานาชาติ เช่น ศูนย์โรคลมชัก ศูนย์โรคหลอดเลือดสมอง และศูนย์โรคพาร์กินสัน เป็นต้น
คลินิกเฉพาะโรค ฝ่ายอายุรศาสตร์
คลินิก | วัน | เวลา | สถานที่ |
---|---|---|---|
โรคหัวใจ (Heart Clinic) | อังคาร, พฤหัส | บ่าย | ภปร 1 |
เครื่องกระตุ้นหัวใจ (Pacemaker Clinic) | พฤหัส | บ่าย | ภปร 1 |
หัวใจเต้นผิดจังหวะ (Arrhythmia Clinic) | อังคาร | บ่าย | ภปร 1 |
เมตาบอลิกอายุรกรรม | พฤหัส | บ่าย | ภปร 1 |
โรคทางเดินอาหารและโรคตับ | จันทร์ | บ่าย | ภปร 1 |
โรคท้องผูกและทางเดินอาหาร | พุธ | บ่าย | ภปร 1 |
พันธุศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด | อังคาร | บ่าย | ภปร 1 |
Peri operative care | จันทร์-ศุกร์ | เช้า | ภปร 1 |
Warfarin Clinic | อังคาร, พฤหัส | บ่าย | ภปร 1 |
อายุรศาสตร์ส่งต่อ | จันทร์-ศุกร์ | เช้า | ภปร 1 |
อายุรกรรมประสาท 1 (ปวดศีรษะ) | พุธ | เช้า | ภปร 3 |
อายุรกรรมประสาท 2 | จันทร์,อังคาร พุธ,พฤหัส | บ่าย เช้า | ภปร 3 |
ทางเดินอาหารและโรคตับ | พฤหัส | บ่าย | ภปร 3 |
โรคข้อ | พฤหัส | บ่าย | ภปร 3 |
ผู้สูงอายุ | อังคาร,พฤหัส,ศุกร์ | เช้า | ภปร 3 |
โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน | พุธ | เช้า | ภปร 3 |
โรคภูมิแพ้ | ศุกร์ | เช้า | ภปร 3 |
โรคไต | พุธ | บ่าย | ภปร 3 |
ไต 2 (โภชนาการ) | อังคาร | บ่าย | ภปร 3 |
โภชนาการ | จันทร์ | เช้า | ภปร 3 |
Medical Oncology | อังคาร | เช้า/บ่าย | ภปร 3 |
เคมีบำบัด (Med onco) | อังคาร | เช้า | ภปร 3 |
รังสีร่วมรักษาโรคตับ | พฤหัส | บ่าย | ภปร 3 |
โรคหลอดเลือดสมอง | พฤหัส | เช้า | ภปร 3 |
โรคโซเกร็น | ศุกร์ | เช้า | ภปร 3 |
Adverse drug reaction | พุธ (สัปดาห์ 1,3) | เช้า | ภปร 3 |
โรคปอด (ภปร 3) | จันทร์ | เช้า | ภปร 3 |
โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง | จันทร์ | บ่าย | ภปร 3 |
เปลี่ยนตับ ฝ่ายอายุรกรรม | ศุกร์ | เช้า | ภปร 3 |
ความจำ | จันทร์,อังคาร พุธ | บ่าย เช้า | ภปร 3 |
เนื้องอกตับ (HCC Clinic) | พฤหัส | บ่าย | ภปร 3 |
หัตถการ | จันทร์-ศุกร์ | ภปร 3 | |
เบาหวาน-ธัยรอยด์และระบบฮอร์โมน | จันทร์,อังคาร,พฤหัส,ศุกร์ | เช้า | ภปร 3 |
Cognitive test (ในเวลา) | อังคาร พุธ | บ่าย เช้า | ภปร 3 |
เนื้อเยื่อเกี่ยวพันปอด (ILC clinic) | พฤหัส | บ่าย | ภปร 3 |
เบาหวานครบวงจร | พฤหัส,ศุกร์ | เช้า | ภปร 3 |
Immune Clinic 2 | พุธ | เช้า | ภปร 3 |
Dermato Immulogy | พุธ | เช้า | ภปร 3 |
เปลี่ยนตับ (โภชนาการ) | ศุกร์ | เช้า | |
Pre-Kidney Transplantation | พุธ | บ่าย | ภปร 11 |
Post-Kidney Transplantation | พุธ | บ่าย | ภปร 11 |
โรคลมชัก | จันทร์,อังคาร พฤหัส | บ่าย เช้า | ภปร 11 |
Syncope clinic | ศุกร์ | เช้า | ภปร 12 |
Arrhythmia clinic | อังคาร | บ่าย | ภปร 12 |
Cath clinic | อังคาร,พฤหัส | บ่าย | ภปร 12 |
ECHO | จันทร์,อังคาร,พุธ พฤหัส,ศุกร์ | เช้า/บ่าย เช้า | ภปร 12 |
ภาวะสมองเสื่อม | พฤหัส | บ่าย | ภปร 12 |
ผิวหนังทั่วไป | จันทร์-ศุกร์ | เช้า | ภปร 14 |
ผิวหนังเรื้อรัง | อังคาร | บ่าย | ภปร 14 |
ผิวหนังเหตุอาชีพและสิ่งแวดล้อม | จันทร์-ศุกร์ | เช้า | ภปร 14 |
ปาราสิต | จันทร์, อังคาร, พุธ, ศุกร์ | เช้า | ภปร 14 |
เลเชอร์ผิวหนัง1 | จันทร์ – ศุกร์ | เช้า | ภปร 14 |
เลเซอร์ผิวหนัง2 | พฤหัส | บ่าย | ภปร 14 |
เลเชอร์ผิวหนัง3 | อังคาร ศุกร์ | บ่าย เช้า | ภปร 14 |
โรคผมและหนังศีรษะ | จันทร์ | บ่าย | ภปร 14 |
หัตถการผิวหนัง | จันทร์ – ศุกร์ | เช้า | ภปร 14 |
ผิวหนังและแสงแดด | จันทร์ | บ่าย | ภปร 14 |
รักษาด้วยแสงสีแดง (PDT clinic) | พุธ | เช้า | ภปร 14 |
ผิวหนังสะเก็ดเงิน | จันทร์ | บ่าย | ภปร 14 |
ทดสอบแสงอาทิตย์ | จันทร์-ศุกร์ | เช้า | ภปร 14 |
โรคของต่อมไขมัน | อังคาร | บ่าย | ภปร 14 |
ข้อสะเก็ดเงิน | จันทร์ | บ่าย | ภปร 14 |
โรคทางเมตาบอลิซึมและสะเก็ดเงิน | จันทร์ | บ่าย | ภปร 14 |
ตับและสะเก็ดเงิน | จันทร์ | บ่าย | ภปร 14 |
สะเก็ดเงินและอาหารสุขภาพ | จันทร์ (wk 1,3) | บ่าย | ภปร 14 |
เนื้องอกผิวหนัง 2 | จันทร์ – ศุกร์ | เช้า | ภปร 14 |
รักษาฝ้าและโรคของเม็ดสี | พฤหัส (สัปดาห์ 2,4) | บ่าย | ภปร 14 |
โรคปอด | อังคาร | บ่าย | ภปร 14 |
โรคติดเชื้อ “ประญัติ ลักษณะพุกก์” | พุธ | บ่าย | ภปร 14 |
ฉายแสง | จันทร์ – ศุกร์ | เช้า-บ่าย | ภปร 14 |
ประเมินใช้ยาพ่นสูดและวัดค่าแรงสูด | อังคาร | บ่าย | ภปร 14 |
แสงอาทิตย์และใจสบาย | พฤหัส | บ่าย | ภปร 14 |
ผิวหนังทางไกล | จันทร์ | บ่าย | ภปร 14 |
พีโพรม ผิวหนังแสงอาทิตย์และพันธุศาสตร์ | พฤหัส | บ่าย | ภปร 14 |
โลหิตวิทยา | จันทร์,อังคาร,พุธ,พฤหัส | เช้า | ภูมิสิริฯ 1 C |
BMT | จันทร์,พุธ,พฤหัส | เช้า | ภูมิสิริฯ 1 C |
Transplant ID | จันทร์ | เช้า | ภูมิสิริฯ 1 C |
Hemophilia clinic | อังคาร (wk 4) | เช้า | ภูมิสิริฯ 1 C |
ฮอร์โมนและเบาหวาน | จันทร์-ศุกร์ | เช้า/บ่าย | ภูมิสิริฯ 4 |
ฮอร์โมน | จันทร์-ศุกร์ | เช้า | ภูมิสิริฯ 4 |
เบาหวานและต่อมไร้ท่อทางไกล | จันทร์-ศุกร์ | เช้า/บ่าย | ภูมิสิริฯ 4 |
Advanced diabetes clinic | พุธ | บ่าย | ภูมิสิริฯ 4 |
บริการผู้ป่วยที่มีก้อนไทรรอยด์ | ศุกร์ | บ่าย | ภูมิสิริฯ 4 |
เคมีบำบัด อาทร | จันทร์-ศุกร์ พฤหัส | เช้า เช้า/บ่าย | อาทรล่าง |
เนื้องอกผิวหนัง 1 | จันทร์-ศุกร์ | เช้า | ภูมิสิริฯ 5 C |
วิจัยผิวหนัง | จันทร์-ศุกร์ | เช้า/บ่าย | ภูมิสิริฯ 5 C |
ประสาทวิทยา | จันทร์-ศุกร์ | เช้า/บ่าย | ภูมิสิริฯ 7 |
ความจำ | จันทร์-ศุกร์ | เช้า/บ่าย | ภูมิสิริฯ 7 |
การตรวจไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (EMG) | จันทร์-ศุกร์ | เช้า/บ่าย | ภูมิสิริฯ 7 |
ALS (Multidisciplinary) | จันทร์-ศุกร์ | เช้า/บ่าย | ภูมิสิริฯ 7 |
Myasthenia gravis | จันทร์-ศุกร์ | เช้า/บ่าย | ภูมิสิริฯ 7 |
เส้นประสาทและกล้ามเนื้อ | จันทร์-ศุกร์ | เช้า/บ่าย | ภูมิสิริฯ 7 |
Cognitive Test | จันทร์-ศุกร์ | เช้า/บ่าย | ภูมิสิริฯ 7 |
โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง | จันทร์-ศุกร์ | เช้า | ภูมิสิริฯ 10 A |
คลินิกโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง | จันทร์-ศุกร์ | เช้า | ภูมิสิริฯ 10 A |
คลินิกคัดกรองมะเร็งลำไส้ | พุธ | บ่าย | ภูมิสิริฯ 10 A |
คลินิกทางเดินอาหารและตับ | จันทร์-ศุกร์ | เช้า/บ่าย | ภูมิสิริฯ 10 A |
คลินิกคัดกรองมะเร็งตับ | พุธ | เช้า | ภูมิสิริฯ 10 A |
คลินิกโรคท่อน้ำดีและตับอ่อน | อังคาร | บ่าย | ภูมิสิริฯ 10 A |
โรคความดันหลอดเลือดแดงปอดสูง | พฤหัส | บ่าย | ภูมิสิริฯ 10 A |
ผู้สูงวัยสุขภาพดี | จันทร์ พุธ | เช้า เช้า/บ่าย | สธ.4 |
ฉีดยาลดเกร็ง | จันทร์ | บ่าย | สธ.12 |
พาร์กินสัน | อังคาร | บ่าย | สธ.12 |
กลุ่มโรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ | พุธ | เช้า | สธ.12 |
พันธุกรรมประสาทวิทยาทางด้านการเคลื่อนไหว | พุธ | เช้า | สธ.12 |
ผ่าตัดผู้ป่วยพาร์กินสัน | พฤหัส (สัปดาห์ 1,3) พฤหัส (สัปดาห์ 4) | เช้า เช้า-บ่าย | สธ.12 |
ประเมินอาการผู้ป่วยพาร์กินสัน | พฤหัส (สัปดาห์ 2) | เช้า | สธ.12 |
อะโปมอร์ฟีน | พฤหัส (สัปดาห์ 2) | เช้า | สธ.12 |
เดินดี | ศุกร์ (สัปดาห์ 1) | เช้า | สธ.12 |
พาร์กินสันแจ่มใส | ศุกร์ (สัปดาห์ 2) | เช้า | สธ.12 |
Neurophysiological | ศุกร์ (สัปดาห์ 2,4) | บ่าย | สธ.12 |
Home Adaptation | ศุกร์ (สัปดาห์ 3) | เช้า | สธ.12 |
ข้อมูลติดต่อ
ชื่อฝ่าย/ศูนย์
ฝ่ายอายุรศาสตร์
อาคารรัตนวิทยาพัฒน์ ชั้น 18
เบอร์โทรศัพท์หน่วยงาน
02 256 4000 ต่อ 61803-4
เว็บไซต์หน่วยงาน