หน่วยโลหิตวิทยา (Division of Hematology)

หน่วยโลหิตวิทยา ตั้งอยู่ที่ ชั้น 2 โซน C อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ นอกจากนี้สาขาวิชาโลหิตวิทยา ยังมีให้บริการ การตรวจทางห้องปฏิบัติการสำหรับผู้ป่วยโลหิตวิทยา ซึ่งดำเนินการอยู่ที่ห้องปฏิบัติการ ชั้น 3 โซน C อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ มีส่วนงานต่าง ๆ ดังนี้


ห้องรับตัวอย่าง

เป็นห้องที่คัดแยกสิ่งส่งตรวจที่ได้รับจากหน่วยงานภายในและภายนอกโรงพยาบา ต้องมีการตรวจสอบสิ่งส่งตรวจเบื้องต้นให้ถูกต้อง โดยตรวจสอบชื่อ – นามสกุล HN. คนไข้ในใบขอตรวจและสิ่งส่งตรวจ ทุกครั้งก่อนนาไปส่งตามห้องปฏิบัติการ

ห้องปฏิบัติการ Coagulation

ห้องปฏิบัติการโลหิตวิทยา ส่วนงานด้านการแข็งตัวของเลือด เป็นห้องปฏิบัติการที่ตรวจประเมินการทำงานของระบบการแข็งตัวของเลือดทางคลินิกโดยแบ่งได้เป็นการตรวจคัดกรอง (screening test) และการตรวจพิเศษ (special test) เพื่อประเมินการทำงานของระบบการแข็งตัวของเลือดแต่ละกลไกและปัจจัยการแข็งตัวของเลือดที่เฉพาะเจาะจง และการตรวจทางห้องปฏิบัติการขั้นสูง เช่น ตรวจการทำงานหน้าที่ของเกล็ดเลือด, von Willebrand factor, การตรวจแอนติบอดีที่ทำให้เกิด Heparin-induced thrombocytopenia (HIT antibody), การตรวจการทำงานของ von Willebrand cleaving protease ในการวินิจฉัยโรค Thrombotic thrombocytopenic purpura, การตรวจภาวะเลือดแข็งตัวผิดปกติและการตรวจวัดระดับยาต้านการแข็งตัวของเลือด (Anticoagulant) เป็นต้น และถูกตรวจวิเคราะห์โดยนักเทคนิคการแพทย์และอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโลหิตวิทยา ซึ่งส่วนงานด้านการแข็งตัวของเลือดแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ

  1. screening coagulogram เป็นการตรวจคัดกรองว่ามีความผิดปกติด้านการแข็งตัว ได้แก่การทดสอบ APTT, PT, TT และ bleeding time
  2. การตรวจผู้ป่วยเลือดออกจากกลไกการแข็งตัวของเลือด (coagulation defects) ได้แก่การทดสอบ Fibrinogen, Factor II, V, VII, VIII, IX, X, XI, XII, XIII, Mixing study with incubation for screening inhibitor, Factor VIII inhibitor, Factor IX inhibitor และการสลายลิ่มเลือด Euglobulin lysis time
  3. การตรวจผู้ป่วยเลือดออกง่ายจากกลไกการห้ามเลือดปฐมภูมิ (primary hemostatic defects) ได้แก่การทดสอบ von Willebrand Factor (Ag), von Willebrand Factor (GPIbM), von Willebrand factor (collagen binding activity) และ platelet function test (platelet aggregation, platelet aggregation and release)
  4. การตรวจผู้ป่วยที่มีหลอดเลือดอุดตัน (Thrombophilia) ได้แก่การทดสอบ Protein C (functional), Protein S (free antigen), Antithrombin III (functional), Lupus anticoagulant, Protein C / Protein S gene sequencing
  5. การตรวจผู้ป่วยสงสัยเกล็ดเลือดต่ำจาก heparin ได้แก่การทดสอบ HIT screening และการทดสอบ HIT confirm หรือจากวัคซีนคือการทดสอบ VITT (vaccine-induced Immune thrombotic thrombocytopenia, Anti-PF4 Ab by ELISA)
  6. การตรวจผู้ป่วยสงสัยเกล็ดเลือดต่ำจาก TTP ได้แก่การทดสอบ ADAMTS13 (functional) และ ADAMTS13 (antibody)
  7. การตรวจวัดระดับยาต้านการแข็งตัวของเลือด ได้แก่การทดสอบ Enoxa level, fondaparinux level, Unfractionated heparin level, Rivaroxaban level, Apixaban level, Dabigatran level
  8. การตรวจภาวะดื้อต่อยาต้านเกลือด
  9. การตรวจระบบห้ามเลือดแบบองค์รวม (global hemostatic test) คือ การทดสอบ Rotem

คำแนะนำในการส่งตรวจ

คำแนะนำทั่วไป

  1. ใช้ใบขอตรวจของศูนย์ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ (ใบขอตรวจบ.6353) โดยทำเครื่อง √ ให้ตรงกับช่องหน้ารหัสรายการทดสอบให้ชัดเจน
  2. ระบุ ชื่อ-นามสกุล, HN ของผู้ป่วย, เพศ, อายุ, ชนิดสิ่งส่งตรวจ, วันเวลาที่จัดเก็บสิ่งส่งตรวจและวันที่ส่งตรวจ ให้ชัดเจนและเขียนด้วยลายมือบรรจง หรือควรใช้สติ๊กเกอร์ชื่อ-นามสกุล เพื่อป้องกันการสะกดผิด
  3. ควรระบุข้อมูลที่สำคัญทางการแพทย์ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการทดสอบ หรือข้อมูลเพิ่มเติม เช่น เบอร์โทรศัพท์สายตรงของผู้ที่รับผิดชอบในการเก็บสิ่งส่งตรวจ เพื่อให้ทางห้องปฏิบัติการสามารถติดต่อกลับได้
  4. ในกรณี เป็นสิ่งส่งตรวจจากผู้ป่วยรายเดียวกันที่ส่งมากกว่า 1 หลอดหรือ 1 รายการทดสอบ หรือในวันเดียวกัน ต้องระบุความแตกต่างของสิ่งส่งตรวจในหลอดเลือดและในใบขอตรวจให้ชัดเจน

คำแนะนำในการจัดเก็บสิ่งส่งตรวจ

  1. สำหรับการเจาะเก็บเลือดเพื่อส่งตรวจทางด้านการแข็งตัวของเลือด ค่า % Hematocrit ของผู้ป่วยต้องไม่เกิน 55%
  2. ควรเจาะเก็บเลือดเป็นหลอดที่ 1 ยกเว้นถ้ามีการเจาะ hemoculture ให้เจาะเป็นหลอดที่ 2
  3. ชนิดหลอดเลือดที่ใช้คือ sodium citrate blood (หลอดจุกฟ้า) ที่มีสารกันเลือดแข็งคือ 3.2% sodium citrate
  4. เจาะเก็บเลือด (Whole blood) ให้ถึงขีดที่กำหนดตามระบุข้างหลอด (ดังรูป)
  5. หลังเจาะเก็บควร mix หลอดเลือดทันที (mixing by inversion) เพื่อป้องกันการเกิด Fibrin หรือ ก้อน clot และไม่ควรเขย่า (Shaking) หลอดเลือดเพราะจะทำให้เม็ดเลือดแดงแตกได้
  6. ในรายการทดสอบดังต่อไปนี้ HL215 Bleeding time, HL097 Platelet aggregation และ HL251 Platelet aggregation and release assay

    จะต้องโทรนัดล่วงหน้าในเวลาทำการเท่านั้น 08.00 -16.00 น. (พักเที่ยง 12.00 – 13.00 น.) เบอร์ 02-256-4000 ต่อ 80347

คำแนะนำในการจัดเก็บสิ่งส่งตรวจ (Coagulation Laboratory) และการส่งตัวอย่างแช่แข็ง (Frozen) สำหรับสิ่งส่งตรวจภายนอก

คำแนะนำในกรณีส่งตัวอย่างแช่แข็ง (Frozen)

  1. ผู้รับบริการภายนอกต้องปั่นแยกพลาสมา (plasma) ด้วยความเร็วรอบ 1500 g 15 นาที ภายใน 4 ชั่วโมงหลังจากเจาะเก็บเลือด
  2. แยกพลาสมาใส่ plastic tube ที่ไม่มีสารกันเลือดแข็งใดๆ
  3. แช่แข็งที่อุณหภูมิต่ำกว่า -20 องศาเซลเซียส
  4. รักษาสภาพ Frozen plasma และนำส่งจนถึงห้องปฏิบัติการ

การส่งสิ่งส่งตรวจ

  1. ผู้รับบริการภายใน ส่งสิ่งส่งตรวจได้ที่
    1.1 อาคาร อปร.ชั้น 1 ห้องรับสิ่งส่งตรวจ เปิดให้บริการในวันราชการ เวลา 08.00-16.00 น. โทร 02-256-4000 ต่อ 3509    
    1.2 อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ชั้น 3 โซน C ห้องรับสิ่งส่งตรวจ เปิดให้บริการในวันราชการ เวลา 08.00-16.00 น. โทร 02-256-4000 ต่อ 80350, 80347
    1.3 นอกเวลาราชการสามารถส่งสิ่งส่งตรวจเพื่อรอการตรวจวิเคราะห์ในเวลาทำการได้ที่อาคาร อปร. ชั้น 11 โทร 02-256-4000 ต่อ 3573
  2. ผู้รับบริการภายนอก ส่งสิ่งส่งตรวจได้ที่อาคาร อปร.ชั้น 1 ห้องรับสิ่งส่งตรวจ
    เปิดให้บริการในวันราชการ เวลา 08.00-15.00 น. โทร 02-256-4000 ต่อ 3509

    หากท่านมีข้อสงสัยหรือต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติม
    ค้นหาข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ https://cmdl.md.chula.ac.th/
    หรือโทรติดต่อเบอร์ 02-256-4000 ต่อ 80347

ห้องปฏิบัติการ Hemoglobin typing / Thalassemia

ห้องปฏิบัติการโลหิตวิทยา ส่วนงานทางห้องปฏิบัติการวินิจฉัยโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย (Thalassemia Diagnostic Laboratory) เป็นห้องปฏิบัติการที่ให้บริการตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยและพาหะของโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย รวมถึงฮีโมโกลบินผิดปกติ โดยนักเทคนิคการแพทย์และอาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโลหิตวิทยา การตรวจนี้มีความสำคัญมากในการช่วยวินิจฉัยเพื่อป้องกันการเกิดโรคโลหิตจางชนิดรุนแรงในคู่สามีภรรยาที่วางแผนมีบุตร เพื่อหาสาเหตุของอาการซีด และนำไปสู่การดูแลรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย ห้องปฏิบัติการนี้แบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่

  1. ส่วนงานตรวจวิเคราะห์ชนิดและปริมาณฮีโมโกลบิน (Hb typing) (การทดสอบนี้ได้รับการรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการ ISO 15189 และ ISO 15190) เป็นการตรวจวิเคราะห์หาชนิดและปริมาณของฮีโมโกลบินในสิ่งส่งตรวจจากเลือดและเลือดจากสายสะดือ โดยอาศัยสองหลักการร่วมกัน ได้แก่ หลักการ isoelectric focusing point (IEF) electrophoresis และ high performance liquid chromatography (HPLC) และแปลผลการตรวจโดยอาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโลหิตวิทยา
  2. ส่วนงานตรวจวิเคราะห์ทางอณูชีววิทยาของโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย (molecular thalassemia) เป็นการตรวจวินิจฉัยหาชนิดการกลายพันธุ์ของยีนที่ทำให้เกิดโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย ในสิ่งส่งตรวจจากเลือด, เลือดจากสายสะดือ, น้ำคร่ำ, ชิ้นเนื้อรก และเซลล์เพาะเลี้ยง มีการทดสอบที่เกี่ยวข้อง 5 การทดสอบ ดังนี้

    2.1 DNA detection for alpha thalassemia (การทดสอบนี้ได้รับการรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการ ISO 15189 และ ISO 15190) ใช้หลักการ multiplex GAP PCR และ multiplex ARMS PCR เป็นการตรวจวินิจฉัยความผิดปกติของ alpha globin gene ซึ่งมีสาเหตุจากการขาดหายไปของยีน (deletion) และไม่ได้เกิดจากการขาดหายไปของยีน (non-deletion) โดยครอบคลุมชนิดการกลายพันธุ์ที่พบบ่อยในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จำนวน 13 ชนิด ได้แก่ —SEA, —THAI,MED, —FIL, –a20.5, –a3.7, –a4.2, initiation codon (-T), codon 30 (-GAG), codon 59 (G>A), Hb Quong Sze, Hb Constant Spring และ Hb Paksé

    2.2 DNA detection for beta thalassemia (การทดสอบนี้ได้รับการรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการ ISO 15189 และ ISO 15190)  ใช้หลักการ reverse dot blot hybridization เป็นการตรวจวินิจฉัยความผิดปกติของ beta-globin gene ซึ่งส่วนใหญ่มีสาเหตุจากการเปลี่ยนแปลงของเบส (point mutation) โดยครอบคลุมชนิดการกลายพันธุ์ที่พบบ่อยในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จำนวน 17 ชนิด ได้แก่ -28 (A>G), Hb C, codon 17 (A>T), Hb Malay, Hb E, codon 26 (G>T), codon 27/28 (+C), IVS I-1 (G>T), IVS I-5 (G>C), codon 35 (C>A), codon 41 (-C), codon 41/42 (-TTCT), codon 43 (G>T), codon 71/72 (+A), codon 95 (+A), IVS II-654 (G>T) และ Hb Khon Kaen

    2.3 DNA analysis for β gene deletion (HPFH) ใช้หลักการ singleplex GAP PCR เป็นการตรวจวินิจฉัยความผิดปกติของ beta globin cluster ซึ่งมีสาเหตุจากการขาดหายไป (deletion) ของ delta และ/หรือ beta และ/หรือ gamma-globin gene โดยครอบคลุมชนิดการกลายพันธุ์ที่พบบ่อยในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จำนวน 9 ชนิดการกลายพันธุ์ ได้แก่ 3.48 kb deletion, Hb Lepore δβ hybrid, HPFH-6, Sicilian (δβ)0 thalassemia, Vietnamese (δβ)0thalassemia, Chinese Gγ (A γδβ)0thalassemia, Asian-Indian inversion-deletion Gγ (Aγδβ)0 thalassemia type A, Asian-Indian inversion-deletion Gγ (Aγδβ)0 thalassemia type B และ SEA (β)0 thalassemia

    2.4 Alpha globin gene sequencing ใช้หลักการ direct sequencing เป็นการตรวจวินิจฉัยความผิดปกติของ alpha globin gene ที่เกิดการกลายพันธุ์แบบการเปลี่ยนแปลงของเบส (point mutation) และ/หรือการกลายพันธุ์แบบ frameshift mutation โดยครอบคลุมชนิดการกลายพันธุ์ที่เกิดขึ้นบริเวณ HBA1 และ HBA2 gene

    2.5 Beta globin gene sequencing ใช้หลักการ direct sequencing เป็นการตรวจวินิจฉัยความผิดปกติของ beta globin gene ที่เกิดการกลายพันธุ์แบบการเปลี่ยนแปลงของเบส (point mutation) และ/หรือการกลายพันธุ์แบบ frameshift mutation โดยครอบคลุมชนิดการกลายพันธุ์ที่เกิดขึ้นบริเวณ HBB gene

การส่งสิ่งส่งตรวจ

  1. ผู้รับบริการภายใน ส่งสิ่งส่งตรวจได้ที่
    1.1 อาคาร อปร.ชั้น 1 ห้องรับสิ่งส่งตรวจ เปิดให้บริการในวันราชการ เวลา 08.00-16.00 น. โทร 02-256-4000 ต่อ 3509
    1.2 อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ชั้น 3 โซน C ห้องรับสิ่งส่งตรวจ เปิดให้บริการในวันราชการ เวลา 08.00-16.00 น. โทร 02-256-4000 ต่อ 80351, 80352
    1.3 นอกเวลาราชการสามารถส่งสิ่งส่งตรวจเพื่อรอการตรวจวิเคราะห์ในเวลาทำการได้ที่อาคาร อปร. ชั้น 11 โทร 02-256-4000 ต่อ 3573
  2. ผู้รับบริการภายนอก ส่งสิ่งส่งตรวจได้ที่อาคาร อปร.ชั้น 1 ห้องรับสิ่งส่งตรวจ เปิดให้บริการในวันราชการ เวลา 08.00-15.00 น. โทร 02-256-4000 ต่อ 3509

    หากท่านมีข้อสงสัยหรือต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติม
    ค้นหาข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ https://cmdl.md.chula.ac.th/
    หรือโทรติดต่อเบอร์  02-256-4000 ต่อ 80351, 80352

ห้องปฏิบัติการ Flow Cytometry

เป็นห้องปฏิบัติการที่ตรวจวิเคราะห์เซลล์มะเร็งเม็ดเลือดและมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ด้วยการวัดลักษณะความหลากหลายของเซลล์ด้วยเทคนิค Flow Cytometry โดยมีนักเทคนิคการแพทย์หรือนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในการตรวจวิเคราะห์ ด้วยเทคนิค Flow Cytometry คอยให้บริการตรวจวิเคราะห์ และ ยังมีแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ สาขาโลหิตวิทยา อายุรศาสตร์โรคเลือด ที่ได้รับการฝึกอบรมทางด้าน Flow Cytometry ที่เกี่ยวข้องกับโรคมะเร็งทางโลหิตวิทยา มาตรวจสอบและรับรองผลการตรวจวิเคราะห์ของผู้ป่วยทุกราย
โดยทางห้องปฏิบัติการ Flow Cytometry เป็นส่วนหนึ่ง ห้องปฏิบัติการพิเศษทางโลหิตวิทยา หน่วยโลหิตวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดยมีที่ตั้งอยู่ในอาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น 3 โซน C
เปิดให้บริการ วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.00-16.00 น. เว้นวันหยุดราชการ ทางห้องปฏิบัติการ Flow Cytometry ได้เปิดบริการการทดสอบทดสอบ ทั้งหมด 12 รายการทดสอบ ดังนี้

  1. Acute myeloid leukemia (AML)
  2. Acute lymphoblastic leukemia (ALL)
  3. B-cell Non-Hodgkin lymphoma
  4. Chronic lymphocytic leukemia CLL
  5. Hairy cell leukemia HCL
  6. LGL/PTCL
  7. Sezary/MF/L-HES
  8. Myelodysplastic syndrome (MDS)
  9. Plasma cell disorder
  10. Paroxysmal nocturnal hemoglobinuria (PNH)
  11. EMA
  12. Minimal residual disease of leukemia or lymphoma (MRD)

สำหรับสิ่งส่งตรวจสำหรับส่งตรวจวิเคราะห์ สามารถส่งสิ่งส่งตรวจได้ ดังต่อไปนี้

  1. .เลือดครบส่วน (whole blood) หรือไขกระดูก (Bone marrow) ปริมาตร 3 mL ใส่หลอดที่มีสารกันการแข็งตัวของเลือดชนิด EDTA
  2. น้ำไขสันหลัง (CSF) ปริมาตรอย่างน้อย 1 mL ใส่หลอด transfix EDTA CSF Sample โดยต้องติดต่อห้องปฏิบัติการเพื่อรับหลอดชนิดพิเศษดังกล่าวกับทางห้องปฏิบัติการก่อนการเก็บสิ่งส่งตรวจ และเมื่อเก็บสิ่งส่งตรวจแล้วควรรีบนำส่งห้องปฏิบัติการทันทีที่เจาะเสร็จ
  3. น้ำจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย (body fluid) ปริมาตร 10 mL ใส่ sterile tube พร้อมฝาปิด และนำส่งห้องปฏิบัติการทันทีที่เจาะเสร็จ
    *ยกเว้น
    – การทดสอบ Myelodysplastic syndrome (MDS) จะรับสิ่งส่งตรวจเป็น ไขกระดูก (Bone marrow) ปริมาตร 3 mL ใส่หลอดที่มีสารกันการแข็งตัวของเลือดชนิด EDTA เท่านั้น
    – การทดสอบ Paroxysmal nocturnal hemoglobinuria (PNH) และ EMA จะรับสิ่งส่งตรวจเป็น เลือดครบส่วน (whole blood) ปริมาตร 3 mL ใส่หลอดที่มีสารกันการแข็งตัวของเลือดชนิด EDTA เท่านั้น และต้องส่งตัวอย่างก่อน เวลา 14.00 น ของทุกวันทำการ

ผู้รับบริการสามารถส่งตรวจวิเคราะห์ สำหรับการทดสอบของห้องปฏิบัติการ Flow Cytometry ได้ทุกวันทำการจันทร์-พฤหัสบดี เวลา 8.00 น.-16.00 น. สำหรับวันศุกร์และก่อนวันหยุดนักขัตฤกษ์ ส่งสิ่งส่งตรวจได้ในเวลา 8.00น.-14.00 น. และห้องปฏิบัติการปิดบริการ ในวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดทำการ
โดยสามารถติดต่อเพื่อส่งสิ่งส่งตรวจ ได้ที่ ห้องรับสิ่งส่งตรวจ อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น 3 โซน C โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
การทดสอบในห้องห้องปฏิบัติการ FLOW CYTOMETRY มีระยะเวลาการรอคอยผล 7 วันทำการ
ถ้าผู้รับบริการมีข้อสอบถามสามารถติดต่อได้ที่ โทร.02-256-4000 ต่อ 80348 หรือ 80350
ห้องปฏิบัติการ FLOW CYTOMETRY มีความยินดีอย่างยิ่งที่จะให้บริการผู้รับบริการทุกท่าน

ห้องปฏิบัติการ Bone marrow และ cytospin

เป็นห้องปฏิบัติการที่ทำการนำเซลล์เม็ดลือดที่ได้จากการเจาะเลือด เจาะไขกระดูกสันหลัง มาไถสไลด์และย้อมด้วยสี เพื่อตรวจดูความผิดปกติของเซลล์เม็ดเลือดเพื่อประกอบการตรวจวินิจฉัยโรคทางโลหิตวิทยา และยังทำการเตรียมสไลด์และย้อมสีเพื่อการตรวจดูเซลล์ ใน CSF และbody fluid

ทางห้องปฏิบัติการมีนักเทคนิคการแพทย์และเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการคอยให้บริการการทดสอบ และยังมี แพทย์ที่ได้รับวุฒิบัตรหรืออนุบัตร สาขาโลหิตวิทยา อายุรศาสตร์โรคเลือด และอาจารย์แพทย์ที่มีความรู้ความชำนาญกับโรคมะเร็งทางโลหิตวิทยา มาตรวจดูความผิดปกติของเซลล์และรับรองผลการตรวจวิเคราะห์ของผู้ป่วยทุกราย

โดยทางห้องปฏิบัติการ bone marrow และ cytospin เป็นส่วนหนึ่ง ห้องปฏิบัติการพิเศษทางโลหิตวิทยา หน่วยโลหิตวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดยมีที่ตั้งอยู่ในอาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น 3 โซน C

เปิดให้บริการ วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.00-16.00 น. เว้นวันหยุดราชการ
ทางห้องปฏิบัติการ bone marrow และ cytospin ได้เปิดบริการการทดสอบทดสอบ ทั้งหมด 2 รายการทดสอบ ดังนี้

  1. Bone marrow aspiration
  2. Cytospin

สำหรับสิ่งส่งตรวจสำหรับส่งตรวจวิเคราะห์

  1. การส่งทดสอบการทดสอบ Bone marrow aspiration เป็นการทำหัตถการเจาะกระดูกไขสันหลังด้วยแพทย์ โดยมีนักเทคนิคการแพทย์และเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ คอยช่วยเหลือแพทย์ในการเก็บสิ่งส่งตรวจ และไถสไลด์เพื่อมาย้อมสี Wright’s stain และ Iron stain การส่งทดสอบ Bone marrow aspiration ต้องมีการนัดหมายกับห้องปฏิบัติการล่วงหน้าเพื่อให้นักเทคนิคการแพทย์และเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ เตรียมอุปกรณ์และทำการช่วยเหลือแพทย์ในการเก็บสิ่งส่งตรวจ
    โดยสามารถนัดหมายได้ตั้งแต่วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 8.00 น.-14.00น. เว้นวันหยุดราชการ
  2. การส่งการทดสอบ Cytospin สามารถส่งสิ่งส่งตรวจเป็นน้ำเจาะจากไขสันหลัง (CSF) หรือ body fluid เก็บสิ่งส่งตรวจลงขวดแก้ว sterile ติดสติกเกอร์ชื่อคนไข้ พร้อมระบุชนิดของสิ่งส่งตรวจให้ชัดเจน
    ประมาณ 1-2 ml. แต่ไม่เกิน 10 ml. และส่งห้องปฏิบัติการทันที

โดยสามารถส่งสิ่งส่งตรวจ ได้ทุกวันทำการ วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 8.00 น.-14.30 น.
โดยสามารถติดต่อเพื่อส่งสิ่งส่งตรวจ ได้ที่ห้องรับสิ่งส่งตรวจ อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น 3 โซน C โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
การทดสอบในห้องห้องปฏิบัติการ bone marrow และ cytospin มีระยะเวลาการรอคอยผล 10 วันทำการ
ถ้าผู้รับบริการมีข้อสอบถามหรือต้องการโทรนัดหมายห้องปฏิบัติการสามารถติดต่อได้ที่ โทร.02-256-4000 ต่อ 80347
ห้องปฏิบัติการ bone marrow และ cytospin มีความยินดีอย่างยิ่งที่จะให้บริการผู้รับบริการทุกท่าน

ห้องปฏิบัติการ Next Generation Sequencing (NGS)

ทำหน้าที่ตรวจวิเคราะห์ความผิดปกติของสารพันธุกรรมในผู้ป่วยโรคมะเม็ดเลือด ด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง Next Generation Sequencing (NGS) เพื่อหาลำดับดีเอ็นเอในปริมาณมาก และมีความไวสูง สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ความแม่นยำในด้านการตรวจวินิจฉัย วางแผนในการรักษา รวมถึงมีประโยชน์ในการเลือกใช้ยาในตรงตามลักษณะการกลายพันธุ์ของยีนแต่ละบุคคล ปฏิบัติงานโดยเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ และ Geneticist ผู้เชี่ยวชาญในการวิเคราะห์ผลความผิดปกติของสารพันธุกรรมโรคมะเร็งเม็ดเลือด

ห้องปฏิบัติการ Next Generation Sequencing (NGS) เป็นส่วนหนึ่งของห้องปฏิบัติการพิเศษทางโลหิตวิทยา หน่วยโลหิตวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดยมีที่ตั้งอยู่ในอาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น 3 โซน C เปิดให้บริการ วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.00-16.00 น. เว้นวันหยุดราชการ

ปัจจุบันได้เปิดบริการการทดสอบทดสอบ ทั้งหมด รายการทดสอบ ดังนี้

  1. Myeloid panel 40 genes
  2. Familial MDS/AML panel
  3. NGS lymphoma panel
  4. IGHV somatic mutation (for CLL)
  5. Clonality/Minimal residual disease (CLL/MM)

สิ่งส่งตรวจที่ใช้ในการส่งตรวจวิเคราะห์ ได้แก่ เลือดครบส่วน (whole blood) หรือไขกระดูก (Bone marrow) ปริมาตร 3 mL ใส่หลอดที่มีสารกันการแข็งตัวของเลือดชนิด EDTA โดยมีระยะเวลาการรอคอยผล 8 สัปดาห์
หากผู้รับบริการมีข้อสงสัย สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ โทร.02-256-4000 ต่อ 80354 หรือ 80350

ห้องปฏิบัติการ Molecular leukemia

ห้องปฏิบัติการ Molecular leukemia เป็นส่วนหนึ่งของห้องปฏิบัติการพิเศษทางโลหิตวิทยา หน่วยโลหิตวิทยา ฝ่ายอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดยห้องปฏิบัติการมีบริการการทดสอบทางอณูชีววิทยาเพื่อช่วยวินิจฉัยโรคที่เกี่ยวข้องกับโรคทางโลหิตวิทยา ได้แก่ Myeloproliferative Neoplasm (MPN) , Acute Myeloid Leukemia (AML) และ Acute Lymphocytic Leukemia (ALL)

ห้องปฏิบัติการ Molecular leukemia ได้เปิดบริการการทดสอบทดสอบ ทั้งหมด 14 รายการทดสอบมีวิธีการทดสอบและระยะเวลาคอยผลตามตาราง ดังนี้

การทดสอบวิธีการทดสอบระยะเวลาคอยผล
1. BCR/ABL (วิธี RT-PCR)Reverse-transcription PCR10 วันทำการ
2. JAK2V617F mutationAlle-specific PCR10 วันทำการ
3. JAK2exon12 mutationsDirect sequencing20 วันทำการ
4. CALR (Exon9) mutationsDirect sequencing20 วันทำการ
5. MPL (Exon10) mutationsDirect sequencing20 วันทำการ
6. FLT3-ITD (Exon14-15)PCR & Direct sequecing5 วันทำการ
7. FLT3-TKD (Exon20)PCR-RFLP5 วันทำการ
8. NPM1 mutationsDirect sequecing20 วันทำการ
9. CEBPA mutationsDirect sequecing20 วันทำการ
10. MYD88 L256P mutationDirect sequecing20 วันทำการ
11. CSF3R T618I (Exon14) mutationDirect sequecing20 วันทำการ
12. KIT D816V mutationDirect sequecing20 วันทำการ
13. HAVCR2 Y82C mutation for SPTCLDirect sequecing20 วันทำการ
14. BRAF V600E mutationDirect sequecing20 วันทำการ

สิ่งส่งตรวจสำหรับส่งตรวจวิเคราะห์

  1. เลือดครบส่วน (whole blood) ใส่สารกันเลือดแข็งชนิด EDTA ปริมาตร 3 mL จำนวน 2 หลอด หรืออย่างน้อย 6 mL ยกเว้น สำหรับ BCR/ABL (วิธี RT-PCR) ใช้ตัวอย่างอย่างน้อย ปริมาตร 3 mL จำนวน 4 หลอด หรืออย่างน้อย 12 mL
  2. ไขกระดูก (Bone marrow) ใส่สารกันเลือดแข็งชนิด EDTA ใส่สารกันเลือดแข็งชนิด EDTA ปริมาตร 3 mL จำนวน 2 หลอด หรืออย่างน้อย 6 mL

การนำส่งสิ่งตรวจ

ผู้รับบริการสามารถส่งตรวจสิ่งส่งตรวจได้ที่ ห้องรับสิ่งตรวจ อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น 3 โซน C โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ในเวลาทำการ 8.00-16.00 น. วันจันทร์-ศุกร์ ยกเว้นวันเสาร์-อาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ หากไม่สามารถนำส่งตัวอย่างในเวลาทำการได้สามารถเก็บสิ่งตรวจไว้ในตู้เย็นที่อุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส นำส่งภายใน 48 ชั่วโมง ยกเว้น รายการ BCR/ABL (วิธี RT-PCR) เก็บสิ่งตรวจไว้ในตู้เย็นที่อุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส นำส่งภายใน 24 ชั่วโมง


เอกสารดาวน์โหลด

สื่อวิดีทัศน์

มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลัน AML
มะเร็งเม็ดเลือด
ลิ่มเลือดอุดตัน ภัยเงียบที่ป้องกันได้