ฝ่ายศัลยศาสตร์

Department of Surgery

มุ่งมั่นพัฒนาในด้านการสอน การวิจัย และการบริการทางวิชาการแก่สังคม

ฝ่ายศัลยศาสตร์ เป็นฝ่ายบุกเบิกที่เติบโตควบคู่มากับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย นับตั้งแต่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เริ่มเปิดทำการในปี พ.ศ. 2457 ภายใต้ชื่อแผนกผ่าตัด ซึ่งเป็น 1 ใน 5 แผนกแรกของโรงพยาบาล ซึ่งได้แก่ แผนกผ่าตัด แผนกตรวจคนเจ็บไข้ แผนกรักษาพยาบาล แผนกบัคเตรี และแผนกคลังยา ทั้งนี้ ฝ่ายศัลยศาสตร์ ได้รับการวางรากฐานโดยศัลยแพทย์และผู้อํานวยการคนแรกของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

บทบาทของศัลยศาสตร์ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ได้เริ่มมาตั้งแต่เมื่อครั้งก่อตั้งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดย นายแพทย์ เอฟ เซเฟอร์ ศัลยแพทย์จากประเทศเยอรมนี หลังได้รับพระบรมราชโองการ แต่งตั้งให้เป็นผู้อํานวยการท่านแรกของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ท่านเป็นผู้วางรายละเอียดการก่อสร้างโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และจัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์ ที่ทันสมัยให้แก่โรงพยาบาล ได้แก่ เครื่องฉายรังสีรอนท์เก้นเครื่องแรกของประเทศไทย ซึ่งมีใช้ก่อนโรงพยาบาลอื่น ๆ นับสิบปี อีกทั้งเครื่องแช่น้ำไฟฟ้า การตรวจเชื้อแบคทีเรีย รวมถึงการมีธาตุเรดิอุม (แร่เรเดียม) ไว้ใช้ สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่าท่านมีจุดมุ่งหมายให้งานด้านศัลยศาสตร์ และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เป็นโรงพยาบาลที่ทันสมัยมากเป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศ แต่ท่านเสียชีวิตตั้งแต่ก่อนเปิดโรงพยาบาลอย่างเป็นทางการ และพระยาดำรงแพทยาคุณ (ชื่น พุทธิแพทย์) ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าแผนกท่านแรกในช่วงปี พ.ศ. 2460

สำหรับตึกในโรงพยาบาลในยุคเริ่มแรกประกอบด้วยตึกที่ว่าการสำหรับเป็นที่ตรวจโรคและประกอบการค้นเชื้อโรค เป็นที่สั่งสอนวิชาแก่แพทย์ (ปัจจุบันคือ อาคารอำนวยการ) อาคารที่ทำการผ่าตัด และอาคารที่พักคนเจ็บไข้ 2 หลัง คือ อาคารพาหุรัด (บริเวณที่เป็นอาคาร
สิรินธรในปัจจุบัน) และอาคารวชิรุณหิศ ต่อมาจึงมีการสร้างอาคารที่เกี่ยวข้องกับแผนกผ่าตัดเพิ่ม ได้แก่ อาคารปัญจมราชินี (พ.ศ. 2459) อาคารจักรพงษ์ (พ.ศ. 2466) และอาคารอาทร (พ.ศ. 2473) 

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ได้ชื่อว่าเป็นที่ชุมนุมของศัลยแพทย์ฝีมือเยี่ยมแห่งกรุงสยาม อาทิ ม.จ.วัลภากร วรวรรณ จากรัสเซีย หลวงภิษักศัลยกิจ (ดิ๊ก สิงหทัต) หลวงไวทเยศรางกูล (เชื้อ อิศรางกูร ณ อยุธยา) จากอังกฤษ หลวงประจักษ์เวชสิทธิ (ชุ่ม จิตรเมตตา) เป็นวิสัญญีแพทย์ หลวงโกศลเวชชศาสตร์ (สิ่นสุวงศ์) จากอังกฤษ หลวงเชิดบูรณศิริ (เชิด บูรณศิริ) หลวงนิตย์เวชชวิศิษฏ์ (นิตย์ เปาเวทย์) จากสหรัฐอเมริกา และพระศัลยเวทย์วิศิษฏ์ (สาย คชเสนีย์)

เมื่อคณะแพทยศาสตร์ได้เริ่มทำการสอน ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ในปี พ.ศ. 2490 ผู้ที่ดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกคนแรก คือ ศาสตราจารย์พลตรีดำรงแพทยาคุณ และมีแพทย์ประจำแผนกอีก 6 ท่าน ได้แก่ ศาสตราจารย์พันตรีประจักษ์ ทองประเสริฐ นายแพทย์ชุบ โชติกเสถียร นายแพทย์สมาน มันตาภรณ์ นายแพทย์พงษ์ ตันสถิตย์ นายแพทย์เฉลี่ย วัชรพุกก์ นายแพทย์เล็ก ณ นคร โดยทั้ง 7 ท่านนี้สังกัดมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข ต่อมาในปี พ.ศ. 2510 จึงได้โอนมาสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจนถึงปัจจุบัน

ฝ่ายศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มีการเติบโตและพัฒนาเรื่อยมา มีการทำผ่าตัดหลายชนิดเกิดขึ้น ณ ที่แห่งนี้เป็นแห่งแรกในประเทศไทย สามารถผ่าตัดด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยทัดเทียมนานาประเทศ ผลิตบัณฑิตแพทย์และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางมากมายออกสู่สังคม มีการขยายขอบเขตงานทางศัลยศาสตร์แตกออกเป็นแขนงต่าง ๆ โดยปัจจุบันโครงสร้างของฝ่ายแบ่งออกเป็นหน่วยศัลยศาสตร์ทั่วไปจำนวน 4 หน่วยงาน และหน่วยศัลยศาสตร์เฉพาะทางอีก 6 หน่วยงาน   

เจตจำนง

ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย /ฝ่ายศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เป็นสถาบันที่ผลิตบัณฑิตแพทย์และแพทย์เฉพาะทางที่มีคุณภาพ ผลิตงานวิจัยและมีการให้บริการทางวิชาการที่มีคุณค่า ชี้นำสังคม เป็นแหล่งอ้างอิงระดับชาติ และเป็นอันดับหนึ่งในประเทศ

ภาระหน้าที่

มุ่งมั่นพัฒนาในด้านการสอน การวิจัย และการบริการทางวิชาการแก่สังคม เพื่อความก้าวหน้าทางวิชาการและประโยชน์สูงสุดต่อวงการสาธารณสุขของประเทศและสังคมโดยรวม  


ฝ่ายศัลยศาสตร์ แบ่งออกเป็น 10หน่วยงานย่อย ได้แก่

  1. หน่วยศัลยศาสตร์ทั่วไป สาย G1
  2. หน่วยศัลยศาสตร์ทั่วไป สาย G2 หน่วยศัลยศาสตร์อุบัติเหตุ (Trauma) และหน่วยศัลยศาสตร์หลอดเลือด (Vascular)
  3. หน่วยศัลยศาสตร์ทั่วไป สาย G3
  4. หน่วยศัลยศาสตร์ทั่วไป สาย G4
  5. หน่วยศัลยศาสตร์ทรวงอกและหัวใจ
  6. หน่วยศัลยศาสตร์ลําไส้ใหญ่และทวารหนัก
  7. หน่วยประสาทศัลยศาสตร์
  8. หน่วยกุมารศัลยศาสตร์
  9. หน่วยศัลยศาสตร์ตกแต่งและเสริมสร้าง
  10. หน่วยศัลยศาสตร์ระบบปัสสาวะ

การให้บริการของฝ่าย

ฝ่ายศัลยศาสตร์ ได้เปิดให้บริการผ่าตัดรักษาพยาบาลด้านศัลยกรรมซึ่งมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาประกอบการรักษา รวมถึงการค้นคว้าวิจัยเพื่อให้ได้องค์ความรู้ใหม่และเพื่อนำมาปรับปรุงพัฒนาวิธีการรักษา โดยเปิดให้บริการทั้งสิ้น 10 หน่วยงาน และก็ยังได้จัดตั้งเป็นศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์เฉพาะทางแยกย่อยอีกประมาณ 6 หน่วย เพื่อเพิ่มศักยภาพในการให้บริการทางการแพทย์แก่ผู้ป่วยที่มีความซับซ้อนของโรคมากขึ้น นอกจากนี้ยังให้บริการในแง่ของการเผยแพร่ความรู้ด้านศัลยศาสตร์แก่ประชาชนทั่วไปอีกด้วย

วัน / เวลา และสถานที่ให้บริการ

แผนกผู้ป่วยนอก วันจันทร์ – ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.00 – 16.00 น. ณ อาคาร ภปร ชั้น 6
ยกเว้น หน่วยกุมารศัลยศาสตร์ ตั้งแต่เวลา 09.00 – 12.00 น. ณ อาคาร ภปร ชั้น 9 ยกเว้น วันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์

ข้อมูลติดต่อ

ชื่อฝ่าย/ศูนย์ 

เบอร์โทรศัพท์หน่วยงาน 
เว็บไซต์หน่วยงาน   

ชื่อฝ่าย/ศูนย์ 

เบอร์โทรศัพท์หน่วยงาน 

ชื่อฝ่าย/ศูนย์ 

เบอร์โทรศัพท์หน่วยงาน 

ชื่อฝ่าย/ศูนย์ 

เบอร์โทรศัพท์หน่วยงาน 

ชื่อฝ่าย/ศูนย์ 

เบอร์โทรศัพท์หน่วยงาน 

ชื่อฝ่าย/ศูนย์ 

เบอร์โทรศัพท์หน่วยงาน 

ชื่อฝ่าย/ศูนย์ 

เบอร์โทรศัพท์หน่วยงาน 

ชื่อฝ่าย/ศูนย์ 

เบอร์โทรศัพท์หน่วยงาน 

 
 

 

ฝ่ายศัลยศาสตร์
อาคารสิรินธร ชั้น 1 
02-256-4117 หรือ 02-256-4568
https://www.chulasurgery.com

หน่วยศัลยศาสตร์ทรวงอก ฝ่ายศัลยศาสตร์
ตึก สก. ชั้น 4 
02-256-4944

หน่วยศัลยศาสตร์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ฝ่ายศัลยศาสตร์
ตึกจงกลนีวัฒนวงศ์ ชั้น 1
02-256-4400

หน่วยประสาทศัลยศาสตร์ ฝ่ายศัลยศาสตร์
ตึก สก. ชั้น 14 
02-256-4105

หน่วยศัลยศาสตร์ตกแต่งและเสริมสร้าง ฝ่ายศัลยศาสตร์
ตึกจงกลนีวัฒนวงศ์ ชั้น 1
02-256-4120

หน่วยกุมารศัลยศาสตร์ ฝ่ายศัลยศาสตร์
ตึก สก. ชั้น 7
02-256-4970

หน่วยศัลยศาสตร์ระบบปัสสาวะ ฝ่ายศัลยศาสตร์
ตึกสิรินธร ชั้น 4
02-256-4515

คลินิกผู้ป่วยนอก (OPD) ศัลยกรรม
ตึก ภปร ชั้น 6
02-256-5318 และ 02-256-5328 และ 02-256-5320