บริจาคร่างกายและอวัยวะ

ความดีที่ไม่สิ้นสุด คือ การบริจาคร่างกายและอวัยวะเมื่อยามสิ้นสูญ

การบริจาคร่างกายและอวัยวะ มีความสำคัญอย่างยิ่งทั้งต่องานบริการทางการแพทย์ และการศึกษาด้านการแพทย์

บริจาคอวัยวะ คือ การบริจาคอวัยวะที่ยังมีสภาพสมบูรณ์เพื่อใช้ในการปลูกถ่ายอวัยวะให้แก่ผู้ป่วยที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ด้วยวิธีอื่น หรือเป็นผู้ป่วยระยะสุดท้าย อาจได้จากอวัยวะของผู้มีจิตศรัทธาซึ่งได้แสดงเจตนารมณ์ในการบริจาคอวัยวะเอาไว้ หรือได้จากญาติที่มีความประสงค์จะบริจาค

การบริจาคอวัยวะถือเป็นการสร้างประโยชน์และความสุขอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เรียกได้ว่าเป็นการให้ชีวิตใหม่ ให้ผู้ป่วยได้กลับคืนสู่สังคมด้วยคุณภาพชีวิตที่ดี ได้ดูแลครอบครัวและคนที่รัก อีกทั้งยังมีโอกาสได้สร้างประโยชน์ให้กับสังคมต่อไป

บริจาคอวัยวะ
สร้างกุศลผู้ให้ สร้างชีวิตใหม่ผู้รับ
1 ผู้ให้ ช่วยได้ 8 ชีวิต

 

คำถามที่พบบ่อย

Q: การบริจาคอวัยวะกับการบริจาคร่างกายต่างกันอย่างไร?

A:

การบริจาคอวัยวะ การบริจาคร่างกาย
คือการมอบอวัยวะ เพื่อนำไปปลูกถ่ายให้ผู้ป่วยที่อวัยวะนั้นๆ เสื่อมสภาพ คือการอุทิศรางกายให้นักศึกษาแพทย์ใช้ศึกษา โดยเรียกกันว่า “อาจารย์ใหญ่”
ผู้บริจาคต้องเสียชีวิตจากภาวะสมองตายเท่านั้น (ยกเว้น ไต 1 ข้าง, ตับ, ไขกระดูก เป็นต้น ที่สามารถบริจาคได้ตอนยังมีชีวิตอยู่) ผู้บริจาคเสียชีวิตจากสาเหตุธรรมชาติ และมีอวัยวะครบ
หลังผ่าตัดเพื่อนำอวัยวะไปให้ผู้ป่วยที่ได้รับบริจาค แพทย์จะตกแต่งร่างกายของผู้บริจาคให้เรียบร้อย แล้วมอบให้ญาติไปประกอบพิธีทางศาสนา หลังจากการเสียชีิวิต ต้องแจ้งให้ไปรับร่างภายใน 24 ชั่วโมง หลังการศึกษา 2 ปี ทางคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลนั้น ๆ จะประกอบพิธีบำเพ็ญกุศลให้เอง
รับแสดงความจำนงบริจาคอวัยวะจากทั่วประเทศ โดยติดต่อได้ที่ศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย, เหล่ากาชาดจังหวัดทุกแห่ง, โรงพยาบาลประจำจังหวัด แสดงความจำนงโดยติดต่อได้ที่คณะแพทยศาสตร์ทุกแห่ง ซึ่งแต่ละแห่งมีเกณฑ์การรับอุทิศร่างกายต่างกัน

 

Q: ใครที่บริจาคอวัยวะได้

A: คุณสมบัติผู้บริจาคอวัยวะ โดยทั่วไปมีรายละเอียด ดังนี้

  1. อายุไม่เกิน 65 ปี
  2. เสียชีวิตจากภาวะสมองตาย
  3. ปราศจากโรคติดเชื้อ และโรคมะเร็ง
  4. ไม่เป็นโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน, หัวใจ, โรคไต, ความดันโลหิตสูง, โรคตับ และไม่ติดสุรา
  5. อวัยวะที่จะบริจาคต้องทำงานได้ดี
  6. ปราศจากเชื้อที่ถ่ายทอดทางการปลูกถ่ายอวัยวะ เช่น ไวรัสตับอักเสบชนิดบี, ไวรัสเอดส์ ฯลฯ
  7. ควรแจ้งเรื่องการบริจาคอวัยวะให้บุคคลในครอบครัวหรือญาติรับทราบด้วย

Q: ทำไมการบริจาคอวัยวะต้องบอกญาติให้ทราบ

A: การแสดงความจำนงบริจาคอวัยวะสามารถทำได้ด้วยตนเอง แต่ควรแจ้งให้ญาติทราบด้วย เพราะหากเสียชีวิตและสามารถบริจาคอวัยวะได้ ญาติต้องเซ็นยินยอมบริจาคอวัยวะเป็นลายลักษณ์อักษรอีกครั้งหนึ่ง หรือเป็นผู้แจ้งให้ศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทยทราบว่าผู้แสดงความจำนงบริจาคอวัยวะเสียชีวิต หากญาติิไม่ยินยอมจะถือว่าการบริจาคนั้นเป็นอันยกเลิก

 

ช่องทางการติดต่อและร่วมบริจาคทุนทรัพย์   

สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมการบริจาคอวัยวะได้ที่ 

  • ศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทยอาคารเทิดพระเกียรติสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) ชั้น 5 ถนนอังรีดูนังต์ ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
    www.organdonate.in.th
    โทรศัพท์ 1666 

สามารถบริจาคทุนทรัพย์เพื่อสมทบทุนค่าใช้จ่ายในกระบวนการบริจาคอวัยวะ/ดวงตา โดย

  • บริจาคให้ศูนย์รับบริจาคอวัยวะฯ โอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “ศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย”  ธนาคารกรุงไทย สาขา สุรวงศ์  เลขที่บัญชี 023-008166-5

เป็นการให้ที่ยิ่งใหญ่ของ ช่วยให้ผู้ป่วยได้มีชีวิตใหม่ ได้มองเห็นคนที่รักและได้อยู่ดูแลครอบครัว ได้ทำประโยชน์ให้กับสังคมต่อไป

การบริจาคดวงตา เป็นการแสดงความจำนงตั้งแต่ยังมีชีวิต เพื่อมอบดวงตาของตนเองภายหลังจากเสียชีวิตแล้ว ซึ่งทางศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทยจะได้นำไปเปลี่ยนให้กับผู้ป่วย เพื่อให้สามารถกลับมามองเห็นได้เป็นปกติอีกครั้ง

ขั้นตอนการบริจาคดวงตา

  1. ผู้ที่สนใจบริจาคดวงตาสามารถแสดงความจำนงในการบริจาคดวงตาได้คนทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่อายุ 2 ขวบ เป็นต้นไป 
  2. เมื่อบริจาคดวงตาแล้วจะได้รับบัตรประจำตัวผู้บริจาคดวงตา ควรพกบัตรผู้บริจาคติดตัวไว้และแจ้งให้ญาติรับทราบว่าได้ทำเรื่องบริจาคดวงตาไว้ในระหว่างมีชีวิต 
  3. ในกรณีบริจาคอวัยวะแทนญาติ กรุณาโทรแจ้งศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทยทันทีที่ผู้บริจาคเสียชีวิต ที่หมายเลข  081 902 5938, 081 836 4927 ตลอด 24 ชั่วโมง 

ภายหลังเสียชีวิตดวงตาจะเริ่มเสื่อมสภาพ และเน่าเปื่อย ดังนั้นเพื่อให้ดวงตาที่มีสภาพดีที่สุด ญาติของผู้แสดงความจำนงในการบริจาคควรโทรแจ้งศูนย์ดวงตาทันทีหลังผู้บริจาคเสียชีวิต เพื่อให้ศูนย์ดวงตาได้จัดเก็บดวงตาโดยเร็วที่สุด ซึ่งควรจัดเก็บให้เรียบร้อยภายใน 6-8 ชั่วโมง

 

ช่องทางการติดต่อและร่วมบริจาคทุนทรัพย์

สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมการบริจาคดวงตาได้ที่ 

สามารถบริจาคทุนทรัพย์เพื่อสมทบทุนค่าใช้จ่ายในกระบวนการบริจาคดวงตา โดย

  • บริจาคให้ศูนย์ดวงตาฯ โอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “ศูนย์ดวงตา สภากาชาดไทย” ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสภากาชาดไทย เลขที่บัญชี 045-231390-2  

การบริจาคร่างกายเพื่อการศึกษา คือเป็นการสร้างประโยชน์ให้กับวงการแพทย์และการสาธารณสุขอย่างมาก กล่าวคือเพื่อการศึกษาของนิสิตแพทย์ และแพทย์ประจำบ้าน ในการฝึกอบรมหัตถการต่างๆ และงานวิจัยทางการแพทย์  เพื่อเก็บเนื้อเยื่อบางส่วนสำหรับการรักษาทางการแพทย์ เพื่อให้แพทย์เฉพาะทางได้ทำการฝึกผ่าตัด  และเพื่อเก็บโครงกระดูกไปใช้ในการศึกษาต่อไป

ร่างกายของผู้บริจาค สามารถสร้างประโยชน์เพื่อการศึกษา การวิจัย และการรักษาทางการแพทย์ ได้ดังนี้

1. เพื่อการศึกษาของนิสิตแพทย์ และแพทย์ประจำบ้าน
2. เพื่อการฝึกอบรมหัตถการต่างๆ และงานวิจัยทางการแพทย์
3. เพื่อการศึกษาของนักศึกษาด้านการแพทย์และสาธารณสุขอื่น
4. เพื่อเก็บเนื้อเยื่อบางส่วนสำหรับการรักษาทางการแพทย์
5. เพื่อให้แพทย์เฉพาะทางฝึกผ่าตัด
6. เพื่อเก็บโครงกระดูกเพื่อการศึกษาตลอดไป

 

ขั้นตอนการบริจาคร่างกายเพื่อการศึกษา

การอุทิศร่างกายเพื่อการศึกษานั้นมีรายละเอียดปลีกย่อยที่ต้องเตรียมความพร้อมเพื่อรักษาสภาพของร่างกายที่ต้องการอุทิศไว้ให้สมบูรณ์มากที่สุด โดยสามารถศึกษาระเบียบ ขั้นตอน และวิธีการดำเนินการ ดังนี้ 

‘ระเบียบการอุทิศร่างกายให้โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เพื่อการศึกษา การวิจัย และการ รักษาการแพทย์ฉบับเต็ม’  ได้ที่   “คลิก

‘ขั้นตอนและวิธีการดำเนินการอุทิศร่างกายเพื่อการศึกษา’ ได้ที่   “คลิก

สามารถแสดงความจำนงในการอุทิศร่างกายเพื่อการศึกษา ดังนี้

    1. นำบัตรประจำตัวประชาชน มาเป็นหลักฐานในการแสดงความจำนงอุทิศร่างกาย
    2. มาแสดงความจำนงโดยตรงที่สถานรับอุทิศร่างกาย ได้แก่ ศาลาทินทัต หรือฝ่ายกายวิภาคศาสตร์ อาคารแพทยพัฒน์ ชั้น 11 และศูนย์ฝึกอ่าตัด อาคารแพทยพัฒน์ ชั้น 4 ซึ่งจะได้รับบัตรแสดงความจำนงอุทิศร่างกายภายใน 10 นาที หรือ ส่งเอกสารแสดงความจำนงมาทางไปรษณีย์พร้อมจ่าหน้าซองถึงตัวท่านเอง ติดแสตมป์แล้วส่งมาที่แผนกอุทิศร่างกายฯศาลาทินทัต รพ.จฬุาฯซึ่งจะส่งบัตรกลับไปให้ ใช้เวลาดำเนินการประมาณ 1-2 เดือน
    3. เมื่อแสดงความจำนงอุทิศร่างกายเพื่อการศึกษาเรียบร้อยแล้ว ควรแจ้งให้ สามี ภรรยา ทายาท ญาติ  หรือผู้ใกล้ชิดทราบไว้ เพื่อที่จะสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้องเมื่อผู้อุทิศร่างกายฯ ถึงแก่กรรม

คำถามที่พบบ่อย

Q: จะติดต่อแสดงความจำนงอุทิศร่างกายฯ ได้ที่ไหนบ้าง?

A: สามารถติดต่อแสดงความจำนงอุทิศร่างกายเพื่อการศึกษา ได้ 3 ช่องทาง คือ

  1. ศาลาทินทัต โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
    เปิดให้บริการทุกวันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 8.00 – 15.00 น.
    วันเสาร์ – วันอาทิตย์ เวลา 8.00 – 14.00 น.
    โทร. 02 256 5079
  2. ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ชั้น 11 และศูนย์ฝึกผ่าตัด ชั้น 4 อาคารแพทยพัฒน์
    คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
    เปิดให้บริการทุกวันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 8.00 – 15.00 น.
  3. แจ้งความจำนงอุทิศร่างกายฯ ผ่านช่องทางออนไลน์ ได้ที่ “คลิก

 

Q: มีข้อกำหนดอะไรบ้างเกี่ยวกับการเป็นผู้อุทิศร่างกายเพื่อการศึกษา?

A: ผู้ประสงค์จะแสดงความจำนงอุทิศร่างกายฯ ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

      1. เป็นผู้บรรลุนิติภาวะแล้ว หากยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องได้รับการยินยอมจากบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง และไม่มีกำหนดว่าอายุมากกว่าเท่าใดจึงจะไม่รับ
      2. ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง เช่น โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (โรคเอดส์) โรคติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี วัณโรค และพิษสุนัขบ้า เป็นต้น
      3. ต้องไม่เกี่ยวข้องกับคดี

 

Q: เอกสารที่ต้องใช้ยื่นเพื่อแจ้งความจำนงอุทิศร่างกายฯ มีอะไรบ้าง?

A: ใช้เพียงสำเนาบัตรประชาชน หรือบัตรราชการ จำนวน 1 ฉบับ เท่านั้น

 

หรือสามารถอ่านคำถามที่พบบ่อยได้ที่ ‘ตอบคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการอุทิศร่างกายเพื่อการศึกษา

ช่องทางการติดต่อและร่วมบริจาคทุนทรัพย์

สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมการอุทิศร่างกายได้ที่

      • ศาลาทินทัต โทรศัพท์ 02 256 5079
      • ฝ่ายกายวิภาคศาสตร์ ศูนย์ฝึกผ่าตัด โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ http://www.chulalongkornhospital.go.th/anatomy
        โทรศัพท์  02  256 4281 ต่อ 1405 , 02  256 4751

สามารถบริจาคทุนทรัพย์เพื่อพัฒนาอาจารย์ใหญ่เพื่อการศึกษาด้านการแพทย์

      • บริจาคเงินให้กองทุนสภากาชาดไทย ชื่อบัญชี “กองทุนสภากาชาดไทยเพื่อการบริจาค”  ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขา สภาชาดไทย  เลขที่บัญชี 045-288000-6 โดยระบุ วัตถุประสงค์การบริจาค “ เงินบริจาคเพื่อพัฒนาอาจารย์ใหญ่ ฝ่ายกายวิภาคศาสตร์ ”