ความดีที่ไม่สิ้นสุด คือ การบริจาคร่างกายและอวัยวะเมื่อยามสิ้นสูญ
การบริจาคร่างกายและอวัยวะ มีความสำคัญอย่างยิ่งทั้งต่องานบริการทางการแพทย์ และการศึกษาด้านการแพทย์
บริจาคอวัยวะ คือ การบริจาคอวัยวะที่ยังมีสภาพสมบูรณ์เพื่อใช้ในการปลูกถ่ายอวัยวะให้แก่ผู้ป่วยที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ด้วยวิธีอื่น หรือเป็นผู้ป่วยระยะสุดท้าย อาจได้จากอวัยวะของผู้มีจิตศรัทธาซึ่งได้แสดงเจตนารมณ์ในการบริจาคอวัยวะเอาไว้ หรือได้จากญาติที่มีความประสงค์จะบริจาค
การบริจาคอวัยวะถือเป็นการสร้างประโยชน์และความสุขอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เรียกได้ว่าเป็นการให้ชีวิตใหม่ ให้ผู้ป่วยได้กลับคืนสู่สังคมด้วยคุณภาพชีวิตที่ดี ได้ดูแลครอบครัวและคนที่รัก อีกทั้งยังมีโอกาสได้สร้างประโยชน์ให้กับสังคมต่อไป
บริจาคอวัยวะ
สร้างกุศลผู้ให้ สร้างชีวิตใหม่ผู้รับ
1 ผู้ให้ ช่วยได้ 8 ชีวิต
คำถามที่พบบ่อย
Q: การบริจาคอวัยวะกับการบริจาคร่างกายต่างกันอย่างไร?
A:
การบริจาคอวัยวะ | การบริจาคร่างกาย |
คือการมอบอวัยวะ เพื่อนำไปปลูกถ่ายให้ผู้ป่วยที่อวัยวะนั้นๆ เสื่อมสภาพ | คือการอุทิศรางกายให้นักศึกษาแพทย์ใช้ศึกษา โดยเรียกกันว่า “อาจารย์ใหญ่” |
ผู้บริจาคต้องเสียชีวิตจากภาวะสมองตายเท่านั้น (ยกเว้น ไต 1 ข้าง, ตับ, ไขกระดูก เป็นต้น ที่สามารถบริจาคได้ตอนยังมีชีวิตอยู่) | ผู้บริจาคเสียชีวิตจากสาเหตุธรรมชาติ และมีอวัยวะครบ |
หลังผ่าตัดเพื่อนำอวัยวะไปให้ผู้ป่วยที่ได้รับบริจาค แพทย์จะตกแต่งร่างกายของผู้บริจาคให้เรียบร้อย แล้วมอบให้ญาติไปประกอบพิธีทางศาสนา | หลังจากการเสียชีิวิต ต้องแจ้งให้ไปรับร่างภายใน 24 ชั่วโมง หลังการศึกษา 2 ปี ทางคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลนั้น ๆ จะประกอบพิธีบำเพ็ญกุศลให้เอง |
รับแสดงความจำนงบริจาคอวัยวะจากทั่วประเทศ โดยติดต่อได้ที่ศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย, เหล่ากาชาดจังหวัดทุกแห่ง, โรงพยาบาลประจำจังหวัด | แสดงความจำนงโดยติดต่อได้ที่คณะแพทยศาสตร์ทุกแห่ง ซึ่งแต่ละแห่งมีเกณฑ์การรับอุทิศร่างกายต่างกัน |
Q: ใครที่บริจาคอวัยวะได้
A: คุณสมบัติผู้บริจาคอวัยวะ โดยทั่วไปมีรายละเอียด ดังนี้
- อายุไม่เกิน 65 ปี
- เสียชีวิตจากภาวะสมองตาย
- ปราศจากโรคติดเชื้อ และโรคมะเร็ง
- ไม่เป็นโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน, หัวใจ, โรคไต, ความดันโลหิตสูง, โรคตับ และไม่ติดสุรา
- อวัยวะที่จะบริจาคต้องทำงานได้ดี
- ปราศจากเชื้อที่ถ่ายทอดทางการปลูกถ่ายอวัยวะ เช่น ไวรัสตับอักเสบชนิดบี, ไวรัสเอดส์ ฯลฯ
- ควรแจ้งเรื่องการบริจาคอวัยวะให้บุคคลในครอบครัวหรือญาติรับทราบด้วย
Q: ทำไมการบริจาคอวัยวะต้องบอกญาติให้ทราบ
A: การแสดงความจำนงบริจาคอวัยวะสามารถทำได้ด้วยตนเอง แต่ควรแจ้งให้ญาติทราบด้วย เพราะหากเสียชีวิตและสามารถบริจาคอวัยวะได้ ญาติต้องเซ็นยินยอมบริจาคอวัยวะเป็นลายลักษณ์อักษรอีกครั้งหนึ่ง หรือเป็นผู้แจ้งให้ศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทยทราบว่าผู้แสดงความจำนงบริจาคอวัยวะเสียชีวิต หากญาติิไม่ยินยอมจะถือว่าการบริจาคนั้นเป็นอันยกเลิก
ช่องทางการติดต่อและร่วมบริจาคทุนทรัพย์
สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมการบริจาคอวัยวะได้ที่
- ศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทยอาคารเทิดพระเกียรติสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) ชั้น 5 ถนนอังรีดูนังต์ ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
www.organdonate.in.th
โทรศัพท์ 1666
สามารถบริจาคทุนทรัพย์เพื่อสมทบทุนค่าใช้จ่ายในกระบวนการบริจาคอวัยวะ/ดวงตา โดย
- บริจาคให้ศูนย์รับบริจาคอวัยวะฯ โอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “ศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย” ธนาคารกรุงไทย สาขา สุรวงศ์ เลขที่บัญชี 023-008166-5
เป็นการให้ที่ยิ่งใหญ่ของ ช่วยให้ผู้ป่วยได้มีชีวิตใหม่ ได้มองเห็นคนที่รักและได้อยู่ดูแลครอบครัว ได้ทำประโยชน์ให้กับสังคมต่อไป
การบริจาคดวงตา เป็นการแสดงความจำนงตั้งแต่ยังมีชีวิต เพื่อมอบดวงตาของตนเองภายหลังจากเสียชีวิตแล้ว ซึ่งทางศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทยจะได้นำไปเปลี่ยนให้กับผู้ป่วย เพื่อให้สามารถกลับมามองเห็นได้เป็นปกติอีกครั้ง
ขั้นตอนการบริจาคดวงตา
- ผู้ที่สนใจบริจาคดวงตาสามารถแสดงความจำนงในการบริจาคดวงตาได้คนทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่อายุ 2 ขวบ เป็นต้นไป
- เมื่อบริจาคดวงตาแล้วจะได้รับบัตรประจำตัวผู้บริจาคดวงตา ควรพกบัตรผู้บริจาคติดตัวไว้และแจ้งให้ญาติรับทราบว่าได้ทำเรื่องบริจาคดวงตาไว้ในระหว่างมีชีวิต
- ในกรณีบริจาคอวัยวะแทนญาติ กรุณาโทรแจ้งศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทยทันทีที่ผู้บริจาคเสียชีวิต ที่หมายเลข 081 902 5938, 081 836 4927 ตลอด 24 ชั่วโมง
ภายหลังเสียชีวิตดวงตาจะเริ่มเสื่อมสภาพ และเน่าเปื่อย ดังนั้นเพื่อให้ดวงตาที่มีสภาพดีที่สุด ญาติของผู้แสดงความจำนงในการบริจาคควรโทรแจ้งศูนย์ดวงตาทันทีหลังผู้บริจาคเสียชีวิต เพื่อให้ศูนย์ดวงตาได้จัดเก็บดวงตาโดยเร็วที่สุด ซึ่งควรจัดเก็บให้เรียบร้อยภายใน 6-8 ชั่วโมง
ช่องทางการติดต่อและร่วมบริจาคทุนทรัพย์
สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมการบริจาคดวงตาได้ที่
- ศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทย https://eyebankthai.redcross.or.th/
โทรศัพท์ 02 256 4039-40
สามารถบริจาคทุนทรัพย์เพื่อสมทบทุนค่าใช้จ่ายในกระบวนการบริจาคดวงตา โดย
- บริจาคให้ศูนย์ดวงตาฯ โอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “ศูนย์ดวงตา สภากาชาดไทย” ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสภากาชาดไทย เลขที่บัญชี 045-231390-2
การบริจาคร่างกายเพื่อการศึกษา คือเป็นการสร้างประโยชน์ให้กับวงการแพทย์และการสาธารณสุขอย่างมาก กล่าวคือเพื่อการศึกษาของนิสิตแพทย์ และแพทย์ประจำบ้าน ในการฝึกอบรมหัตถการต่างๆ และงานวิจัยทางการแพทย์ เพื่อเก็บเนื้อเยื่อบางส่วนสำหรับการรักษาทางการแพทย์ เพื่อให้แพทย์เฉพาะทางได้ทำการฝึกผ่าตัด และเพื่อเก็บโครงกระดูกไปใช้ในการศึกษาต่อไป
ร่างกายของผู้บริจาค สามารถสร้างประโยชน์เพื่อการศึกษา การวิจัย และการรักษาทางการแพทย์ ได้ดังนี้
1. เพื่อการศึกษาของนิสิตแพทย์ และแพทย์ประจำบ้าน
2. เพื่อการฝึกอบรมหัตถการต่างๆ และงานวิจัยทางการแพทย์
3. เพื่อการศึกษาของนักศึกษาด้านการแพทย์และสาธารณสุขอื่น
4. เพื่อเก็บเนื้อเยื่อบางส่วนสำหรับการรักษาทางการแพทย์
5. เพื่อให้แพทย์เฉพาะทางฝึกผ่าตัด
6. เพื่อเก็บโครงกระดูกเพื่อการศึกษาตลอดไป
ขั้นตอนการบริจาคร่างกายเพื่อการศึกษา
การอุทิศร่างกายเพื่อการศึกษานั้นมีรายละเอียดปลีกย่อยที่ต้องเตรียมความพร้อมเพื่อรักษาสภาพของร่างกายที่ต้องการอุทิศไว้ให้สมบูรณ์มากที่สุด โดยสามารถศึกษาระเบียบ ขั้นตอน และวิธีการดำเนินการ ดังนี้
‘ระเบียบการอุทิศร่างกายให้โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เพื่อการศึกษา การวิจัย และการ รักษาการแพทย์ฉบับเต็ม’ ได้ที่ “คลิก”
‘ขั้นตอนและวิธีการดำเนินการอุทิศร่างกายเพื่อการศึกษา’ ได้ที่ “คลิก”
สามารถแสดงความจำนงในการอุทิศร่างกายเพื่อการศึกษา ดังนี้
-
- นำบัตรประจำตัวประชาชน มาเป็นหลักฐานในการแสดงความจำนงอุทิศร่างกาย
- มาแสดงความจำนงโดยตรงที่สถานรับอุทิศร่างกาย ได้แก่ ศาลาทินทัต หรือฝ่ายกายวิภาคศาสตร์ อาคารแพทยพัฒน์ ชั้น 11 และศูนย์ฝึกอ่าตัด อาคารแพทยพัฒน์ ชั้น 4 ซึ่งจะได้รับบัตรแสดงความจำนงอุทิศร่างกายภายใน 10 นาที หรือ ส่งเอกสารแสดงความจำนงมาทางไปรษณีย์พร้อมจ่าหน้าซองถึงตัวท่านเอง ติดแสตมป์แล้วส่งมาที่แผนกอุทิศร่างกายฯศาลาทินทัต รพ.จฬุาฯซึ่งจะส่งบัตรกลับไปให้ ใช้เวลาดำเนินการประมาณ 1-2 เดือน
- เมื่อแสดงความจำนงอุทิศร่างกายเพื่อการศึกษาเรียบร้อยแล้ว ควรแจ้งให้ สามี ภรรยา ทายาท ญาติ หรือผู้ใกล้ชิดทราบไว้ เพื่อที่จะสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้องเมื่อผู้อุทิศร่างกายฯ ถึงแก่กรรม
คำถามที่พบบ่อย
Q: จะติดต่อแสดงความจำนงอุทิศร่างกายฯ ได้ที่ไหนบ้าง?
A: สามารถติดต่อแสดงความจำนงอุทิศร่างกายเพื่อการศึกษา ได้ 3 ช่องทาง คือ
- ศาลาทินทัต โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
เปิดให้บริการทุกวันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 8.00 – 15.00 น.
วันเสาร์ – วันอาทิตย์ เวลา 8.00 – 14.00 น.
โทร. 02 256 5079 - ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ชั้น 11 และศูนย์ฝึกผ่าตัด ชั้น 4 อาคารแพทยพัฒน์
คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
เปิดให้บริการทุกวันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 8.00 – 15.00 น. - แจ้งความจำนงอุทิศร่างกายฯ ผ่านช่องทางออนไลน์ ได้ที่ “คลิก“
Q: มีข้อกำหนดอะไรบ้างเกี่ยวกับการเป็นผู้อุทิศร่างกายเพื่อการศึกษา?
A: ผู้ประสงค์จะแสดงความจำนงอุทิศร่างกายฯ ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
-
-
- เป็นผู้บรรลุนิติภาวะแล้ว หากยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องได้รับการยินยอมจากบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง และไม่มีกำหนดว่าอายุมากกว่าเท่าใดจึงจะไม่รับ
- ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง เช่น โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (โรคเอดส์) โรคติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี วัณโรค และพิษสุนัขบ้า เป็นต้น
- ต้องไม่เกี่ยวข้องกับคดี
-
Q: เอกสารที่ต้องใช้ยื่นเพื่อแจ้งความจำนงอุทิศร่างกายฯ มีอะไรบ้าง?
A: ใช้เพียงสำเนาบัตรประชาชน หรือบัตรราชการ จำนวน 1 ฉบับ เท่านั้น
หรือสามารถอ่านคำถามที่พบบ่อยได้ที่ ‘ตอบคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการอุทิศร่างกายเพื่อการศึกษา’
ช่องทางการติดต่อและร่วมบริจาคทุนทรัพย์
สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมการอุทิศร่างกายได้ที่
-
-
- ศาลาทินทัต โทรศัพท์ 02 256 5079
- ฝ่ายกายวิภาคศาสตร์ ศูนย์ฝึกผ่าตัด โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ http://www.chulalongkornhospital.go.th/anatomy
โทรศัพท์ 02 256 4281 ต่อ 1405 , 02 256 4751
-
สามารถบริจาคทุนทรัพย์เพื่อพัฒนาอาจารย์ใหญ่เพื่อการศึกษาด้านการแพทย์
-
-
- บริจาคเงินให้กองทุนสภากาชาดไทย ชื่อบัญชี “กองทุนสภากาชาดไทยเพื่อการบริจาค” ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขา สภาชาดไทย เลขที่บัญชี 045-288000-6 โดยระบุ วัตถุประสงค์การบริจาค “ เงินบริจาคเพื่อพัฒนาอาจารย์ใหญ่ ฝ่ายกายวิภาคศาสตร์ ”
-