โรค NCDs คร่าชีวิตคนไทยมากที่สุด


NCDs ย่อมาจาก Non-communicable diseases หรือโรคติดต่อไม่เรื้อรัง กลุ่มโรคนี้เป็นกลุ่มโรคที่มีสาเหตจากพฤติกรรมของมนุษย์ มีอยู่ 3-4 เรื่อง

  • การรับประทานอาหาร
  • กิจกรรมทางกายภาพ ออกกำลังกาย ปัจจุบันเราออกกำลังกายน้อยลงเนื่องจากมีเครื่องอำนวยความสะดวกเยอะ เวลาในการออกกลังกายน้อยลง
  • ความเป็นอยู่ การหลับนอน จิตใจ ความเครียด

ทั้งหมดนี้ทำให้เกิดโรค NCDs

โดยทั่วไปกลุ่มโรค NCDs เราจะหมายถึงกลุ่มโรคใหญ่ๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมอง หลอดเลือดหัวใจ โรคมะเร็ง ถุงลมโป่งพอง โรคอ้วน ถุงลมโป่งพอง โรคไตเรื้อรัง

เราสามารถป้องกันตัวเองได้ โดยการปรับพฤติกรรม

ทั้งพฤติกรรมการกิน การอยู่ การพักผ่อน การใช้ชีวิตการทำงาน

พฤติกรรมการรับประทานอาหาร

ควรรับประทานอาหารที่พอเหมาะแค่เพียงพอต่อร่างกายที่จะนำไปใช้ สัดส่วนของอาหารที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี เช่น ไม่ทานอาหารรสเค็มมากเกินไป เนื่องจากโซเดียมนั้นเป็นสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งโยงไปสู่โรคอื่นๆ

การรับประทานโปรตีนที่พอเหมาะ เพราะเมื่อทานโปรตีนมากขึ้นไปก็จะเป็นส่วนเกินทำให้เกิดเมตาบอลิซึม ซึ่งอาจจะเกิดผลเสียต่อไต และนำไปสู่ภาวะอื่นๆตามมา

โดยปกติแล้วโรค NCDs มักจะไม่เป็นแค่โรคเดียว มักจะพาเพื่อนๆมาด้วยเป็นแพคเกจ   อีกประการที่สำคัญคือ การควบคุมไขมันให้พอเหมาะที่ร่างกายต้องการ

กิจกรรมทางกายภาพ

ในปัจจุบันเรามีเครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ อาจจะต้องปรับให้เดินขึ้นลง ใช้บันไดมากขึ้น ใช้การเดินหรือขี้จักรยานมากกว่าใช้รถ

พฤติกรรมอื่นๆ การสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์

การงดสูบบุหรี่เป็นเรื่องสำคัญที่ควรทำเพื่อป้องกันโรค NCDs

วิธีคิด “ทานเยอะ แล้วค่อยเอาออกทีหลัง” วิธีนี้ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า ไม่ประสบความสำเร็จ
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การดำเนินชีวิตให้ถูกต้อง เป็นเหมือนการสะสมบารมี ยิ่งเร็วก็จะยิ่งมีผลมากต่อการป้องกันโรค NCDs
หากเรารู้ตัวเร็ว และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสียแต่วันนี้ ก็จะห่างไกลจากโรค NCDs ได้

สามารถติดต่อเพื่อขอรับการตรวจและการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ที่

คลินิกอายุรกรรมทั่วไป อาคาร ภปร ชั้น 1
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
โทร 0-2256-4000