รู้เท่าทัน…โรคโตกว่าวัย ภัยเงียบที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม


หากครอบครัวใดมีลูกน้อย คงมิอาจปฏิเสธได้ว่าการเฝ้าติดตามพัฒนาการและการเจริญเติบโตของเด็กๆ นั้นเป็นเรื่องสำคัญสำหรับพ่อแม่ทุกคน แต่ท่านผู้อ่านทราบหรือไม่ว่า ปัจจุบันพบเด็กจำนวนมากที่กำลังประสบปัญหา “ภาวะเป็นหนุ่มเป็นสาวก่อนวัย” ซึ่งภาวะนี้ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตทั้งทางร่างกายและสภาพจิตใจของเด็ก เราได้รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับภาวะเป็นหนุ่มเป็นสาวก่อนวัยไว้อย่างครบถ้วน เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่ได้เตรียมพร้อมรับมือกับภาวะดังกล่าวได้อย่างทันท่วงที

ศ.ดร.นพ.วิชิต สุพรศิลป์ชัย หัวหน้าสาขาวิชาต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสม ฝ่ายกุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ให้ข้อมูลว่าภาวะเป็นหนุ่มเป็นสาวก่อนวัย คือ ภาวะที่เด็กมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วเกินวัย รวมถึงมีการเปลี่ยนแปลงทางสรีระร่างกายจากวัยเด็กสู่วัยผู้ใหญ่ อาทิ มีส่วนสูงเกินกว่าเกณฑ์มาตรฐานผิดปกติ มีเต้านมหรืออัณฑะขยายใหญ่ขึ้นก่อนวัยอันควร เป็นต้น โดยปกติแล้วภาวะเป็นหนุ่มเป็นสาวก่อนวัยจะพบในเด็กหญิงมากกว่าเด็กชายถึง 10 เท่า

สำหรับสาเหตุของการเกิดภาวะเป็นหนุ่มเป็นสาวก่อนวัย ศ.ดร.นพ.วิชิต อธิบายว่า ปัจจุบันยังไม่พบหลักฐานทางการแพทย์ที่ระบุชัดเจนว่าปัจจัยใด เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดภาวะนี้โดยตรง แต่พบว่ามีหลายปัจจัยที่มีส่วนร่วมในการเกิดโรค ดังนี้

  • ปัจจัยภายใน เช่น พันธุกรรม เด็กที่มีภาวะเป็นหนุ่มเป็นสาวก่อนวัยมักมีประวัติพ่อหรือแม่มีภาวะเป็นหนุ่มเป็นสาวก่อนวัยร่วมด้วย ในปัจจุบันพบความผิดปกติของยีนส์หลายชนิดที่เป็นสาเหตุของภาวะเป็นหนุ่มเป็นสาวก่อนวัย
  • ปัจจัยภายนอก ได้แก่ ภาวะอ้วน/น้ำหนักเกิน ซึ่งมักเกิดจากปัจจัยทางโภชนาการ เช่น ชอบรับประทานอาหารประเภททอด อาหารไขมันสูง อาหารจานด่วนส่งผลให้เกิดภาวะเป็นหนุ่มเป็นสาวก่อนวัย โดยเฉพาะในเด็กหญิง

ศ.ดร.นพ.วิชิต กล่าวเพิ่มเติมว่า การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วนั้นยังส่งผลกระทบต่อจิตใจและอารมณ์ของเด็กด้วยเช่นกัน เด็กบางรายอาจถูกเพื่อนล้อเลียนในช่วงระยะต้นที่พบความเปลี่ยนแปลงทางด้านสรีระจนอาจส่งผลต่อพฤติกรรมได้ เช่น เก็บตัวหรือแยกตัวออกจากกลุ่มเพื่อน โมโหหรือหงุดหงิดง่าย มีการแสดงออกทางอารมณ์ที่เกรี้ยวกราดมากขึ้น เด็กหญิงบางรายอาจมีความเสี่ยงต่อการถูกคุกคามทางเพศได้ เป็นต้น และที่สำคัญคือเด็กกลุ่มนี้จะหยุดการเจริญเติบโตก่อนเด็กปกติทั่วไปอีกด้วย

ดังนั้น หากพ่อแม่ผู้ปกครองพบความผิดปกติของบุตรหลานได้เร็วเพียงใดก็จะนำไปสู่กระบวนการวินิจฉัยและรักษาภาวะเป็นหนุ่มเป็นสาวก่อนวัยได้อย่างทันท่วงทียิ่งขึ้น สำหรับการวินิจฉัยผู้ป่วยที่มีภาวะเป็นหนุ่มเป็นสาวก่อนวัยนั้นกุมารแพทย์จะดำนินการตามขั้นตอน ดังนี้

1) เอกซเรย์กระดูก ซึ่งมักพบว่ากระดูกมีอายุมากกว่าอายุจริงของผู้ป่วย
2) ตรวจเลือดวัดระดับฮอร์โมนในร่างกาย ส่วนใหญ่จะตรวจพบฮอร์โมนเพศในร่างกายมีระดับสูงกว่าวัย
3) การตรวจอัลตราซาวด์ สำหรับเด็กหญิง เพื่อวัดขนาดและดูลักษณะของมดลูกและรังไข่เพื่อช่วยในการวินิจฉัย
4) การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI มักทำในเด็กชายทุกคนที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะเป็นหนุ่มก่อนวัยและในเด็กหญิงที่เข้าวัยสาวก่อนอายุ 6 ปี เพื่อหาความผิดปกติในสมองที่เป็นสาเหตุ

หลังจากนั้นแพทย์จะประเมินผลการตรวจและให้การรักษาด้วยยาฉีดเพื่อควบคุมฮอร์โมนในรายที่จำเป็น จนกว่าผู้ป่วยจะมีอายุประมาณ 11-12 ปี หรืออายุกระดูก 12-13 ปี

4 ข้อสงสัยที่พ่อแม่มักเข้าใจผิด

เกี่ยวกับโรคโตกว่าวัย

Q : เด็กที่รับประทานเนื้อไก่บ่อยๆ ทำให้มีฮอร์โมนผิดปกติ เสี่ยงต่อการเกิดโรคโตกว่าวัยจริงหรือ?
A : ไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด

ปัจจุบันยังไม่พบหลักฐานทางวิชาการที่บ่งชี้ว่า การรับประทานเนื้อไก่บ่อยๆ ทำให้เด็กเป็นโรคโตกว่าวัย ฉะนั้น พ่อแม่และผ้ปู กครองควรยึดแนวทางการดูแลด้านโภชนาการให้แก่บุตรหลานอย่างเหมาะสม กล่าวคือ รับประทานเนื้อไก่เท่าที่จำเป็น รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ระวังไม่ให้อ้วนหรือน้ำหนักเกินควรดื่มนมให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ออกกำลังกายและพักผ่อนให้เหมาะสมตามวัย


Q : จริงหรือไม่ที่การฉีดยาเพื่อเลื่อนการมีประจำเดือนจะช่วยเพิ่มส่วนสูงได้?
A : ไม่จริง ในกรณีที่ฉีดในเด็กที่เข้าวัยรุ่นปกติ

จริง ในเด็กที่มีภาวะเป็นหนุ่มเป็นสาวก่อนวัย

หากพ่อแม่หรือผู้ปกครองท่านใดกังวลว่าบุตรหลานของท่านมีความสูงปกติหรือไม่ ศ.ดร.นพ.วิชิต แนะนำให้หมั่นสังเกตความสูงโดยเทียบกับเด็กทั่วไปและความสูงของพ่อแม่ (Midparental Height) อย่างง่ายๆ ดังนี้ คือ

  • เด็กชาย = (ความสูงของพ่อ + ความสูงของแม่ + 13) ÷ 2
  • เด็กหญิง = (ความสูงของพ่อ + ความสูงของแม่ – 13) ÷ 2

เมื่อคำนวณตามสูตรดังกล่าวแล้วนำค่าที่ได้มา ± 7-8 เซนติเมตร จะได้ช่วงความสูงตามพันธุกรรม (Target Height)


Q : เด็กหญิงที่เริ่มมีประจำเดือนแล้วจะหยุดสูงเลยจริงหรือไม่?
A : ไม่จริง
ปัจจุบันยังไม่พบหลักฐานทางวิชาการที่บ่งชี้ว่า การรับประทานเนื้อไก่บ่อยๆ ทำให้เด็กเป็นโรคโตกว่าวัย ฉะนั้น พ่อแม่และผ้ปู กครองควรยึดแนวทางการดูแลด้านโภชนาการให้แก่บุตรหลานอย่างเหมาะสม กล่าวคือ รับประทานเนื้อไก่เท่าที่จำเป็น รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ระวังไม่ให้อ้วนหรือน้ำหนักเกิน ควรดื่มนมให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ออกกำลังกายและพักผ่อนให้เหมาะสมตามวัยปัจจุบันเด็กหญิงโดยทั่วไปจะมีประจำเดือนในช่วงอายุ 11-12 ปี หลังจากนั้นอัตราการเพิ่มความสูงจะค่อยๆ จนหยุดสูงในอีก 2 ปี โดยความสูงที่ได้หลังเริ่มมีประจำเดือน คือ 4-7 เซนติเมตร


Q : การฉีดยารักษาภาวะเป็นหนุ่มเป็นสาวก่อนวัยจะทำให้มีความสูงมากกว่าพ่อแม่จริงหรือไม่?
A : ไม่จริง
การฉีดยารักษาภาวะดังกล่าวจะทำให้เด็กมีความสูงอยู่ในช่วงพันธุกรรม (Target Height) และเด็กยังมีความจำเป็นต้องรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ดื่มนมประมาณ 1 ลิตร/วัน ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ นอนประมาณ 8 ชั่วโมง/คืน

ศ.ดร.นพ.วิชิต ได้ให้คำแนะนำทิ้งท้ายว่า แนวทางที่ดีที่สุดคือพ่อแม่ควรหมั่นสังเกตความเปลี่ยนแปลงของร่างกายบุตรหลานอย่างใกล้ชิด และติดตามการเจริญเติบโตของเด็กอย่างสม่ำเสมอว่าเหมาะสมตามวัยหรือไม่ หากพบความผิดปกติ ควรนำด็กไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้องต่อไปเพื่อให้พวกเขาสามารถเติบโตได้อย่างสมวัย