โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ในบทบาทองค์กรสาธารณกุศล มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้รับ
การสนับสนุนจากทุกภาคส่วนของสังคม เพื่อช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาทางการแพทย์และสาธารณสุขไทย
อันเป็นรากฐานของการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน
ร่วมสมทบทุนโครงการ กองทุน และสถานที่ต่างๆ ภายในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ดังนี้..
กองทุน 30 พฤษภาฯ คือ กองทุนที่เชิญชวนให้บุคลากรและผู้มาเยือน ร่วมบริจาคเงินเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนาโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ซึ่งเป็นประเพณีที่ปฏิบัติต่อเนื่องกันมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 ซึ่งถือเป็นปีแรกของการก่อตั้ง กองทุน 30 พฤษภาฯ โดยฝ่ายการพยาบาลจะเป็นเจ้าภาพหลักในการเชิญชวนร่วมบริจาคเงิน โดยใช้ดอกกุหลาบแดงเป็นสัญลักษณ์ และจัดจำหน่ายเข็มกลัดกุหลาบแดงล่วงหน้า 1 เดือน
สำหรับเงินบริจาคของกองทุน 30 พฤษภาฯ จะนำมาใช้ในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยยากไร้ พระภิกษุอาพาธ และสนับสนุนกิจการการรักษาพยาบาลของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
สามารถร่วมสมทบทุนเข้ากองทุน 30 พฤษภาฯ ได้ดังนี้
- บริจาคโดยตรงได้ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
- อาคารวชิรญาณวงศ์ ชั้น 1
เปิดให้บริการทุกวัน จันทร์ – อาทิตย์
เวลา 7.00 – 15.00 น.
โทร. 02 256 4382 หรือ 02 256 4505 - ศาลาทินทัต ( ข้างตึกอำนวยการ )
เปิดให้บริการทุกวันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 8.00 – 15.00 น.
วันเสาร์ – วันอาทิตย์ เวลา 8.00 – 14.00 น.
โทร. 02 256 4397
- อาคารวชิรญาณวงศ์ ชั้น 1
- บริจาคผ่านบัญชีธนาคาร
ธนาคารกสิกรไทย สาขาโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
ชื่อบัญชี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย (ฬ. จุฬา สะพานบุญ)
เลขที่บัญชี 059-1-93894-0
ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสภากาชาดไทย
ชื่อบัญชี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย (ฬ. จุฬา สะพานบุญ)
เลขที่บัญชี 432-049049-2
ธนาคารกรุงเทพ สาขาสภากาชาดไทย
ชื่อบัญชี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย (ฬ. จุฬา สะพานบุญ)
เลขที่บัญชี 913-7-03979-9
ธนาคารกรุงไทย สาขาสยามสแควร์
ชื่อบัญชี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย (ฬ. จุฬา สะพานบุญ)
เลขที่บัญชี 052-0-572-114ช่องทางสำหรับส่งหลักฐานการโอนเงินและรายละเอียด
Fax : 02 251 7901 หรือ Email : phithikarn@gmail.com
หรือ ID Line : @kcmhdonate
การรับใบเสร็จรับเงิน
ส่งรายละเอียด ชื่อ – นามสกุล ที่อยู่ และวัตถุประสงค์การบริจาคพร้อมเบอร์โทรศัพท์
( เพื่อใช้ในการออกใบเสร็จรับเงินส่งกลับไปยังผู้บริจาคทางไปรษณีย์ )
กองทุน ส.ธ. เพื่อผู้สูงวัย เป็นกองทุนที่มุ่งเน้นตอบโจทย์การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย ด้วยการพัฒนาบริการทางการแพทย์เพื่อดูแลผู้สูงวัยอย่างครบวงจร ภายใต้อาคาร ส.ธ. ซึ่งเป็นอาคารสูง 18 ชั้น ที่จัดสร้างขึ้นเนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2558 ซึ่งมีบทบาทในการดูแลผู้สูงอายุด้านต่างๆ ดังนี้
- การบริการทางการแพทย์และรักษาพยาบาล อาทิ คลินิกผู้สูงวัยสุขภาพดี คลินิกฟื้นฟูผู้สูงอายุก้าวหน้า ฝ่ายเวชศาสตร์ฟื้นฟู ศูนย์การได้ยินการสื่อสารและการทรงตัว ศูนย์จักษุฟื้นฟู ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสัน ฯลฯ
- ศูนย์ฝึกอบรมการดูแลผู้สูงวัย สำหรับผู้ดูแลและญาติ ประชาชนทั่วไป และบุคลากรทางการแพทย์
- การเป็นต้นแบบการดูแลผู้สูงอายุของประเทศไทย
- บริการเสริมอื่นๆ ได้แก่ การจัดตั้งศูนย์รวมสิ่งของเครื่องใช้อำนวยความสะดวกและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐานสำหรับผู้สูงอายุ และศูนย์อาหารเพื่อสุขภาพและอาหารเฉพาะโรค
สามารถร่วมสมทบทุนเข้ากองทุน ส.ธ. เพื่อผู้สูงวัย ได้ดังนี้
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
- บริจาคผ่านบัญชีธนาคาร
ธนาคารกสิกรไทย สาขาโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
ชื่อบัญชี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย (ฬ. จุฬา สะพานบุญ)
เลขที่บัญชี 059-1-93894-0
ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสภากาชาดไทย
ชื่อบัญชี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย (ฬ. จุฬา สะพานบุญ)
เลขที่บัญชี 432-049049-2
ธนาคารกรุงเทพ สาขาสภากาชาดไทย
ชื่อบัญชี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย (ฬ. จุฬา สะพานบุญ)
เลขที่บัญชี 913-7-03979-9
ธนาคารกรุงไทย สาขาสยามสแควร์
ชื่อบัญชี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย (ฬ. จุฬา สะพานบุญ)
เลขที่บัญชี 052-0-572-114
กรุณาส่งหลักฐานการโอนพร้อมชื่อ นามสกุล และเบอร์โทรศัพท์ มาที่โทรสาร 02 251-7901 ส่งมาทางอีเมลล์ phithikarn@gmail.com หรือ ID LINE : kcmhdonate เพื่อใช้ในการออกใบเสร็จรับเงินส่งกลับไปยังผู้บริจาคทางไปรษณีย์
- บริจาคโดยตรงได้ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
- อาคารวชิรญาณวงศ์ ชั้น 1
โทร. 02 256-4382 หรือ 02 256-4505 - ศาลาทินทัต โทร. 02 256-4397
- อาคารวชิรญาณวงศ์ ชั้น 1
สำนักงานจัดหารายได้ สภากาชาดไทย Donation HUB “รับ” เพื่อ “ให้”
- บริจาคผ่านบัญชีธนาคาร
- ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสภากาชาดไทย
ชื่อบัญชี สำนักงานจัดหารายได้ สภากาชาดไทย (2) บัญชีออมทรัพย์ เลขที่ 045-2-62588-8 - ธนาคารกรุงไทย สาขาสุรวงศ์
ชื่อบัญชี สำนักงานจัดหารายได้ สภากาชาดไทย บัญชีกระแสรายวัน เลขที่ 023-606799-0 - ธนาคารกรุงเทพ สำนักงานใหญ่
ชื่อบัญชี สำนักงานจัดหารายได้ สภากาชาดไทย บัญชีออมทรัพย์ เลขที่ 101-0-11980-6 - ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาพัฒน์พงษ์
ชื่อบัญชี สำนักงานจัดหารายได้ สภากาชาดไทย บัญชีออมทรัพย์ เลขที่ 689-1-05195-1
- ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสภากาชาดไทย
หากท่านประสงค์รับใบเสร็จรับเงินเพื่อลดหย่อนภาษี กรุณาส่งหลักฐานการโอนเงินบริจาค พร้อมแจ้งชื่อ นามสกุล เลขประจำตัวผู้เสียภาษี ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ พร้อมระบุโครงการที่ร่วมบริจาค ส่งมาทางอีเมล donation@redcross.or.th / Line :@redcrossfund / โทรสาร.0 2652 4440
- บริจาคด้วยตนเอง ได้ที่
- “ห้องรับบริจาค” สำนักงานจัดหารายได้ สภากาชาดไทย
ตึกอำนวยนรธรรม ชั้น 2 ถนนพระราม 4 ปทุมวัน กรุงเทพฯ
เปิดให้บริการวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08:30 น. – 16:30 น.
โทรศัพท์ 02 256-4440, 02 255-9911
- “ห้องรับบริจาค” สำนักงานจัดหารายได้ สภากาชาดไทย
อาคารวชิรญาณวงศ์ เป็นสถานที่สำหรับบริการจัดงานทำบุญเลี้ยงพระ และรับบริจาคเงินเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และสำนักงานต่างๆ ของสภากาชาดไทย ได้แก่
– เพื่อเป็นค่ารักษาพยาบาลพระภิกษุและสามเณรอาพาธ
– เพื่อเป็นค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยสามัญทั่วไป
– เพื่อใช้ในการจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์
– เพื่อบำรุงโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
– เพื่อบำรุงสภากาชาดไทย
สามารถร่วมสมทบทุน ได้ดังนี้
- บริจาคโดยตรงได้ที่
- อาคารวชิรญาณวงศ์ ชั้น 1
เปิดให้บริการทุกวัน จันทร์ – อาทิตย์
เวลา 7.00 – 15.00 น.
โทร. 02 256 4382 หรือ 02 256 4505 - ศาลาทินทัต ( ข้างตึกอำนวยการ )
เปิดให้บริการทุกวันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 8.00 – 15.00 น.
วันเสาร์ – วันอาทิตย์ เวลา 8.00 – 14.00 น.
โทร. 02 256 4397
- อาคารวชิรญาณวงศ์ ชั้น 1
- บริจาคผ่านบัญชีธนาคาร
ธนาคารกสิกรไทย สาขาโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
ชื่อบัญชี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย (ฬ. จุฬา สะพานบุญ)
เลขที่บัญชี 059-1-93894-0
ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสภากาชาดไทย
ชื่อบัญชี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย (ฬ. จุฬา สะพานบุญ)
เลขที่บัญชี 432-049049-2
ธนาคารกรุงเทพ สาขาสภากาชาดไทย
ชื่อบัญชี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย (ฬ. จุฬา สะพานบุญ)
เลขที่บัญชี 913-7-03979-9
ธนาคารกรุงไทย สาขาสยามสแควร์
ชื่อบัญชี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย (ฬ. จุฬา สะพานบุญ)
เลขที่บัญชี 052-0-572-114ช่องทางสำหรับส่งหลักฐานการโอนเงินและรายละเอียด
Fax : 02 251 7901 หรือ Email : phithikarn@gmail.com
หรือ ID Line : @kcmhdonate
การรับใบเสร็จรับเงิน
ส่งรายละเอียด ชื่อ – นามสกุล ที่อยู่ และวัตถุประสงค์การบริจาคพร้อมเบอร์โทรศัพท์
( เพื่อใช้ในการออกใบเสร็จรับเงินส่งกลับไปยังผู้บริจาคทางไปรษณีย์ )
ร้าน ฬ จำหน่ายของที่ระลึก เป็นอีกหนึ่งช่องทางในการช่วยเหลือผู้ป่วยยากไร้ เนื่องจากรายได้จากการจำหน่ายสินค้าของที่ระลึกหลังหักค่าใช้จ่ายแล้ว จะนำไปสมทบทุนช่วยเหลือผู้ป่วยยากไร้ของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
ร้าน ฬ จำหน่ายของที่ระลึก ดำเนินการครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2556 โดยมุ่งเน้นจำหน่ายสินค้าของที่ระลึกคุณภาพดี ราคาเป็นมิตรให้กับผู้มารับบริการและบุคลากรภายใน โดยในร้านได้จำหน่ายสินค้านานาชนิด ที่ตอบโจทย์ความต้องการของทั้งผู้ที่แวะเวียนเข้ามา ผู้ป่วย ญาติ บุคลากรและบุคคลทั่วไป ได้แก่ เสื้อยืด แก้วน้า กระบอกน้ำรักษาอุณหภูมิ ชุดภาชนะ ตลับแบ่งยา เจลฆ่าเชื้อโรค กระเป๋าถือ กระเป๋า สะพาย พวงกุญแจ ร่ม หมวก เนคไท ปลั๊กไฟอเนกประสงค์ และอื่นๆ อีกมากมาย รวมถึงวัตถุมงคลเพื่อการบูชาและเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจด้วย ซึ่งโลโก้และสินค้าภายในร้านได้รับการออกแบบอย่างสวยงามโดยคุณสุวิทย์ วงศ์ริจิราวาณิชย์ ศิลปินจิตอาสา
ร้าน ฬ จำหน่ายของที่ระลึก ตั้งอยู่ที่อาคาร ภปร ชั้น 1 และชั้นลอยทางเชื่อมไปสถานีรถไฟฟ้าศาลาแดง
เปิดจำหน่ายสินค้าในวันจันทร์ – ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.00 – 15.00 น.
และวันเสาร์ – อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 08.00 – 14.00 น.
สามารถสอบถามข้อมูลร้านค้า ฬ.จุฬา ได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 256 5430
กองทุนเงินบริจาคเพื่อใช้ในกิจการคลินิกโรคสมองเสื่อมสมทบทุนซื้ออุปกรณ์บำบัดผู้ป่วยสมองเสื่อมสมทบทุนซื้ออุปกรณ์บำบัดผู้ป่วยสมองเสื่อม อาคาร ส.ธ. (รหัสทุน 25010096) โดยฝ่ายจิตเวชศาสตร์ มีวัตถุประสงค์ในการเข้าใช้เงินบริจาคฯ ดังต่อไปนี้
1. เพื่อใช้ในกิจการการดูแลผู้ป่วยในคลินิกโรคสมองเสื่อม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
2. เพื่อซื้อวัสดุ ครุภัณฑ์ ที่ใช้ในการให้บริการผู้ป่วยจากคลินิกโรคสมองเสื่อม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
3. เพื่อซื้อเครื่องมือแพทย์เพื่อรักษาบำบัดรักษาผู้ป่วยจากคลินิกโรคสมองเสื่อม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
4. เพื่อใช้เป็นค่าจ้าง / ค่าตอบแทนให้กับลุกจ้างชั่วคราว เช่น นักจิตวิทยา นักกิจกรรมบำบัด นักสังคมสงเคราะห์ ที่ปฏิบัติงานในคลินิกโรคสมองเสื่อม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ที่มีความจำเป็นซึ่งไม่ได้เป็นบุคลากรของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย หรือ คณะแพทย์ศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
5. เพื่อเป็นทุนสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรของคลินิกโรคสมองเสื่อม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ในการไปศึกษาดูงาน ฝึกอบรม ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ
สามารถร่วมสมทบทุนเข้ากองทุน ได้ดังนี้
บริจาคโดยตรงได้ที่
- สำนักงานจัดหารายได้ สภากาชาดไทย โทรศัพท์ 02 256 4440, 02 255 9911
- โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
- ตึกวชิรญาณวงศ์ ชั้นล่าง โทรศัพท์ 02 256 4382 หรือ 02 256 4505
- ศาลาทินทัต โทรศัพท์ 02 256 4397
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดตั้ง “ศูนย์ความเป็นเลิศด้านภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็ง” ให้เป็นศูนย์ที่ทำหน้าที่วิจัยและสร้างนวัตกรรมสำหรับการรักษาโรคมะเร็งที่รักษายากให้หายขาด เพื่อพัฒนาการรักษามะเร็งด้วยภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยเอง โดยเน้นการนำงานวิจัยและพัฒนาจากห้องปฏิบัติการมาสู่การวิจัยทางคลินิกในผู้ป่วย และพัฒนากระบวนการผลิตให้ได้มาตรฐาน จนได้ผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำมาให้บริการแก่ผู้ป่วยใน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และในประเทศไทย
ดังนั้นกองทุนภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็ง จุฬาฯจึงได้ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนการพัฒนาการรักษาโรคมะเร็งด้วยภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยเองดังกล่าว และสนับสนุนงานวิจัยของศูนย์ความเป็นเลิศด้านภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็ง คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ให้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง และเพื่อให้คนไทยทุกคนมีโอกาสเข้าถึงการรักษาที่มีประสิทธิภาพแบบใหม่นี้ในที่สุด ท่านสามารถติดตามข่าวสารของเราได้ทางเว็บไซต์ http://canceriec.md.chula.ac.th/ หรือที่ FACEBOOK : CU Cancer Immunotherapy Fund
ท่านที่สนใจสามารถร่วมสมทบทุน ดังนี้
- บริจาคโดยตรงเข้ากองทุน “เงินบริจาคเพื่อศูนย์ความเป็นเลิศด้านภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็ง (รหัสทุน25010117)” ได้ที่
- สำนักงานจัดหารายได้ สภากาชาดไทย โทรศัพท์ 02 256 4440, 02 255 9911
- โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
- ตึกวชิรญาณวงศ์ ชั้นล่าง โทรศัพท์ 02 256 4382 หรือ 02 256 4505
- ศาลาทินทัต โทรศัพท์ 02 256 4397
- บริจาคผ่านช่องทางอื่นๆ กรุณาดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ http://canceriec.md.chula.ac.th/support
หรือที่ FACEBOOK : CU Cancer Immunotherapy Fund
BECAUSE EVERYONE DESERVES A CHANCE TO SURVIVE CANCER!
ศาลาทินทัต เป็นสถานที่รับบริจาคเงินเพื่อประโยชน์ต่อกิจการการกุศลของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และสภากาชาดไทย ได้แก่
• สมทบทุนเพื่อการจัดซื้อจัดหาครุภัณฑ์ทางการแพทย์ อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ซึ่งเป็นอาคารให้การดูแลรักษาผู้ป่วยใน ผู้ป่วยฉุกเฉิน และศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะโรค เป็นต้น
• สมทบทุนเพื่อการจัดซื้อจัดหาครุภัณฑ์ทางการแพทย์ อาคาร ส.ธ. ซึ่งเป็นสถานที่บริการผู้สูงอายุ
• สมทบทุนเพื่อเป็นค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยสามัญทั่วไป
• สมทบทุนเพื่อเป็นค่ารักษาพยาบาล พระภิกษุ สามเณร อาพาธ
• สมทบทุนเพื่อเครื่องมือแพทย์อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์
• สมทบทุนเพื่อใช้ในกิจการหน่วยโรคไต
• สมทบทุนเพื่อโครงการพัฒนาคุณภาพคุณภาพชีวิตเด็กป่วยเรื้อรัง
• สมทบทุนเพื่อสอนเด็กเจ็บป่วยเรื้อรัง
• สมทบทุนทารกแรกเกิด
• สมทบทุนเพื่อฝ่ายจักษุวิทยา
• สมทบทุนเพื่อเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออติกโดยไม่ต้องผ่าตัด
• สมทบทุนมูลนิธิเทียนส่องใจ โรคลมชัก
• สมทบทุนเพื่อศูนย์พันธุศาสตร์มะเร็งและโรคของมนุษย์
• สมทบทุนเพื่อโครงการมะเร็งเต้านมเฉลิมพระเกียรติ
สามารถร่วมสมทบทุน ได้ดังนี้
- บริจาคโดยตรงได้ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
- อาคารวชิรญาณวงศ์ ชั้น 1
เปิดให้บริการทุกวัน จันทร์ – อาทิตย์
เวลา 7.00 – 15.00 น.
โทร. 02 256 4382 หรือ 02 256 4505 - ศาลาทินทัต ( ข้างตึกอำนวยการ )
เปิดให้บริการทุกวันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 8.00 – 15.00 น.
วันเสาร์ – วันอาทิตย์ เวลา 8.00 – 14.00 น.
โทร. 02 256 4397
- อาคารวชิรญาณวงศ์ ชั้น 1
- บริจาคผ่านบัญชีธนาคาร
ธนาคารกสิกรไทย สาขาโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
ชื่อบัญชี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย (ฬ. จุฬา สะพานบุญ)
เลขที่บัญชี 059-1-93894-0
ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสภากาชาดไทย
ชื่อบัญชี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย (ฬ. จุฬา สะพานบุญ)
เลขที่บัญชี 432-049049-2
ธนาคารกรุงเทพ สาขาสภากาชาดไทย
ชื่อบัญชี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย (ฬ. จุฬา สะพานบุญ)
เลขที่บัญชี 913-7-03979-9
ธนาคารกรุงไทย สาขาสยามสแควร์
ชื่อบัญชี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย (ฬ. จุฬา สะพานบุญ)
เลขที่บัญชี 052-0-572-114ช่องทางสำหรับส่งหลักฐานการโอนเงินและรายละเอียด
Fax : 02 251 7901 หรือ Email : phithikarn@gmail.com
หรือ ID Line : @kcmhdonate
การรับใบเสร็จรับเงิน
ส่งรายละเอียด ชื่อ – นามสกุล ที่อยู่ และวัตถุประสงค์การบริจาคพร้อมเบอร์โทรศัพท์
( เพื่อใช้ในการออกใบเสร็จรับเงินส่งกลับไปยังผู้บริจาคทางไปรษณีย์ )
ความดีที่ไม่สิ้นสุด คือ การบริจาคร่างกายและอวัยวะเมื่อยามสิ้นสูญ
การบริจาคร่างกายและอวัยวะ มีความสำคัญอย่างยิ่งทั้งต่องานบริการทางการแพทย์ และการศึกษาด้านการแพทย์
บริจาคอวัยวะ คือ การบริจาคอวัยวะที่ยังมีสภาพสมบูรณ์เพื่อใช้ในการปลูกถ่ายอวัยวะให้แก่ผู้ป่วยที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ด้วยวิธีอื่น หรือเป็นผู้ป่วยระยะสุดท้าย อาจได้จากอวัยวะของผู้มีจิตศรัทธาซึ่งได้แสดงเจตนารมณ์ในการบริจาคอวัยวะเอาไว้ หรือได้จากญาติที่มีความประสงค์จะบริจาค
การบริจาคอวัยวะถือเป็นการสร้างประโยชน์และความสุขอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เรียกได้ว่าเป็นการให้ชีวิตใหม่ ให้ผู้ป่วยได้กลับคืนสู่สังคมด้วยคุณภาพชีวิตที่ดี ได้ดูแลครอบครัวและคนที่รัก อีกทั้งยังมีโอกาสได้สร้างประโยชน์ให้กับสังคมต่อไป
บริจาคอวัยวะ
สร้างกุศลผู้ให้ สร้างชีวิตใหม่ผู้รับ
1 ผู้ให้ ช่วยได้ 8 ชีวิต
คำถามที่พบบ่อย
Q: การบริจาคอวัยวะกับการบริจาคร่างกายต่างกันอย่างไร?
A:
การบริจาคอวัยวะ | การบริจาคร่างกาย |
คือการมอบอวัยวะ เพื่อนำไปปลูกถ่ายให้ผู้ป่วยที่อวัยวะนั้นๆ เสื่อมสภาพ | คือการอุทิศรางกายให้นักศึกษาแพทย์ใช้ศึกษา โดยเรียกกันว่า “อาจารย์ใหญ่” |
ผู้บริจาคต้องเสียชีวิตจากภาวะสมองตายเท่านั้น (ยกเว้น ไต 1 ข้าง, ตับ, ไขกระดูก เป็นต้น ที่สามารถบริจาคได้ตอนยังมีชีวิตอยู่) | ผู้บริจาคเสียชีวิตจากสาเหตุธรรมชาติ และมีอวัยวะครบ |
หลังผ่าตัดเพื่อนำอวัยวะไปให้ผู้ป่วยที่ได้รับบริจาค แพทย์จะตกแต่งร่างกายของผู้บริจาคให้เรียบร้อย แล้วมอบให้ญาติไปประกอบพิธีทางศาสนา | หลังจากการเสียชีิวิต ต้องแจ้งให้ไปรับร่างภายใน 24 ชั่วโมง หลังการศึกษา 2 ปี ทางคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลนั้น ๆ จะประกอบพิธีบำเพ็ญกุศลให้เอง |
รับแสดงความจำนงบริจาคอวัยวะจากทั่วประเทศ โดยติดต่อได้ที่ศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย, เหล่ากาชาดจังหวัดทุกแห่ง, โรงพยาบาลประจำจังหวัด | แสดงความจำนงโดยติดต่อได้ที่คณะแพทยศาสตร์ทุกแห่ง ซึ่งแต่ละแห่งมีเกณฑ์การรับอุทิศร่างกายต่างกัน |
Q: ใครที่บริจาคอวัยวะได้
A: คุณสมบัติผู้บริจาคอวัยวะ โดยทั่วไปมีรายละเอียด ดังนี้
- อายุไม่เกิน 65 ปี
- เสียชีวิตจากภาวะสมองตาย
- ปราศจากโรคติดเชื้อ และโรคมะเร็ง
- ไม่เป็นโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน, หัวใจ, โรคไต, ความดันโลหิตสูง, โรคตับ และไม่ติดสุรา
- อวัยวะที่จะบริจาคต้องทำงานได้ดี
- ปราศจากเชื้อที่ถ่ายทอดทางการปลูกถ่ายอวัยวะ เช่น ไวรัสตับอักเสบชนิดบี, ไวรัสเอดส์ ฯลฯ
- ควรแจ้งเรื่องการบริจาคอวัยวะให้บุคคลในครอบครัวหรือญาติรับทราบด้วย
Q: ทำไมการบริจาคอวัยวะต้องบอกญาติให้ทราบ
A: การแสดงความจำนงบริจาคอวัยวะสามารถทำได้ด้วยตนเอง แต่ควรแจ้งให้ญาติทราบด้วย เพราะหากเสียชีวิตและสามารถบริจาคอวัยวะได้ ญาติต้องเซ็นยินยอมบริจาคอวัยวะเป็นลายลักษณ์อักษรอีกครั้งหนึ่ง หรือเป็นผู้แจ้งให้ศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทยทราบว่าผู้แสดงความจำนงบริจาคอวัยวะเสียชีวิต หากญาติิไม่ยินยอมจะถือว่าการบริจาคนั้นเป็นอันยกเลิก
ช่องทางการติดต่อและร่วมบริจาคทุนทรัพย์
สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมการบริจาคอวัยวะได้ที่
- ศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทยอาคารเทิดพระเกียรติสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) ชั้น 5 ถนนอังรีดูนังต์ ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
www.organdonate.in.th
โทรศัพท์ 1666
สามารถบริจาคทุนทรัพย์เพื่อสมทบทุนค่าใช้จ่ายในกระบวนการบริจาคอวัยวะ/ดวงตา โดย
- บริจาคให้ศูนย์รับบริจาคอวัยวะฯ โอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “ศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย” ธนาคารกรุงไทย สาขา สุรวงศ์ เลขที่บัญชี 023-008166-5
เป็นการให้ที่ยิ่งใหญ่ของ ช่วยให้ผู้ป่วยได้มีชีวิตใหม่ ได้มองเห็นคนที่รักและได้อยู่ดูแลครอบครัว ได้ทำประโยชน์ให้กับสังคมต่อไป
การบริจาคดวงตา เป็นการแสดงความจำนงตั้งแต่ยังมีชีวิต เพื่อมอบดวงตาของตนเองภายหลังจากเสียชีวิตแล้ว ซึ่งทางศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทยจะได้นำไปเปลี่ยนให้กับผู้ป่วย เพื่อให้สามารถกลับมามองเห็นได้เป็นปกติอีกครั้ง
ขั้นตอนการบริจาคดวงตา
- ผู้ที่สนใจบริจาคดวงตาสามารถแสดงความจำนงในการบริจาคดวงตาได้คนทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่อายุ 2 ขวบ เป็นต้นไป
- เมื่อบริจาคดวงตาแล้วจะได้รับบัตรประจำตัวผู้บริจาคดวงตา ควรพกบัตรผู้บริจาคติดตัวไว้และแจ้งให้ญาติรับทราบว่าได้ทำเรื่องบริจาคดวงตาไว้ในระหว่างมีชีวิต
- ในกรณีบริจาคอวัยวะแทนญาติ กรุณาโทรแจ้งศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทยทันทีที่ผู้บริจาคเสียชีวิต ที่หมายเลข 081 902 5938, 081 836 4927 ตลอด 24 ชั่วโมง
ภายหลังเสียชีวิตดวงตาจะเริ่มเสื่อมสภาพ และเน่าเปื่อย ดังนั้นเพื่อให้ดวงตาที่มีสภาพดีที่สุด ญาติของผู้แสดงความจำนงในการบริจาคควรโทรแจ้งศูนย์ดวงตาทันทีหลังผู้บริจาคเสียชีวิต เพื่อให้ศูนย์ดวงตาได้จัดเก็บดวงตาโดยเร็วที่สุด ซึ่งควรจัดเก็บให้เรียบร้อยภายใน 6-8 ชั่วโมง
ช่องทางการติดต่อและร่วมบริจาคทุนทรัพย์
สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมการบริจาคดวงตาได้ที่
- ศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทย https://eyebankthai.redcross.or.th/
โทรศัพท์ 02 256 4039-40
สามารถบริจาคทุนทรัพย์เพื่อสมทบทุนค่าใช้จ่ายในกระบวนการบริจาคดวงตา โดย
- บริจาคให้ศูนย์ดวงตาฯ โอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “ศูนย์ดวงตา สภากาชาดไทย” ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสภากาชาดไทย เลขที่บัญชี 045-231390-2
การบริจาคร่างกายเพื่อการศึกษา คือเป็นการสร้างประโยชน์ให้กับวงการแพทย์และการสาธารณสุขอย่างมาก กล่าวคือเพื่อการศึกษาของนิสิตแพทย์ และแพทย์ประจำบ้าน ในการฝึกอบรมหัตถการต่างๆ และงานวิจัยทางการแพทย์ เพื่อเก็บเนื้อเยื่อบางส่วนสำหรับการรักษาทางการแพทย์ เพื่อให้แพทย์เฉพาะทางได้ทำการฝึกผ่าตัด และเพื่อเก็บโครงกระดูกไปใช้ในการศึกษาต่อไป
ร่างกายของผู้บริจาค สามารถสร้างประโยชน์เพื่อการศึกษา การวิจัย และการรักษาทางการแพทย์ ได้ดังนี้
1. เพื่อการศึกษาของนิสิตแพทย์ และแพทย์ประจำบ้าน
2. เพื่อการฝึกอบรมหัตถการต่างๆ และงานวิจัยทางการแพทย์
3. เพื่อการศึกษาของนักศึกษาด้านการแพทย์และสาธารณสุขอื่น
4. เพื่อเก็บเนื้อเยื่อบางส่วนสำหรับการรักษาทางการแพทย์
5. เพื่อให้แพทย์เฉพาะทางฝึกผ่าตัด
6. เพื่อเก็บโครงกระดูกเพื่อการศึกษาตลอดไป
ขั้นตอนการบริจาคร่างกายเพื่อการศึกษา
การอุทิศร่างกายเพื่อการศึกษานั้นมีรายละเอียดปลีกย่อยที่ต้องเตรียมความพร้อมเพื่อรักษาสภาพของร่างกายที่ต้องการอุทิศไว้ให้สมบูรณ์มากที่สุด โดยสามารถศึกษาระเบียบ ขั้นตอน และวิธีการดำเนินการ ดังนี้
‘ระเบียบการอุทิศร่างกายให้โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เพื่อการศึกษา การวิจัย และการ รักษาการแพทย์ฉบับเต็ม’ ได้ที่ “คลิก”
‘ขั้นตอนและวิธีการดำเนินการอุทิศร่างกายเพื่อการศึกษา’ ได้ที่ “คลิก”
สามารถแสดงความจำนงในการอุทิศร่างกายเพื่อการศึกษา ดังนี้
-
- นำบัตรประจำตัวประชาชน มาเป็นหลักฐานในการแสดงความจำนงอุทิศร่างกาย
- มาแสดงความจำนงโดยตรงที่สถานรับอุทิศร่างกาย ได้แก่ ศาลาทินทัต หรือฝ่ายกายวิภาคศาสตร์ อาคารแพทยพัฒน์ ชั้น 11 และศูนย์ฝึกอ่าตัด อาคารแพทยพัฒน์ ชั้น 4 ซึ่งจะได้รับบัตรแสดงความจำนงอุทิศร่างกายภายใน 10 นาที หรือ ส่งเอกสารแสดงความจำนงมาทางไปรษณีย์พร้อมจ่าหน้าซองถึงตัวท่านเอง ติดแสตมป์แล้วส่งมาที่แผนกอุทิศร่างกายฯศาลาทินทัต รพ.จฬุาฯซึ่งจะส่งบัตรกลับไปให้ ใช้เวลาดำเนินการประมาณ 1-2 เดือน
- เมื่อแสดงความจำนงอุทิศร่างกายเพื่อการศึกษาเรียบร้อยแล้ว ควรแจ้งให้ สามี ภรรยา ทายาท ญาติ หรือผู้ใกล้ชิดทราบไว้ เพื่อที่จะสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้องเมื่อผู้อุทิศร่างกายฯ ถึงแก่กรรม
คำถามที่พบบ่อย
Q: จะติดต่อแสดงความจำนงอุทิศร่างกายฯ ได้ที่ไหนบ้าง?
A: สามารถติดต่อแสดงความจำนงอุทิศร่างกายเพื่อการศึกษา ได้ 3 ช่องทาง คือ
- ศาลาทินทัต โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
เปิดให้บริการทุกวันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 8.00 – 15.00 น.
วันเสาร์ – วันอาทิตย์ เวลา 8.00 – 14.00 น.
โทร. 02 256 5079 - ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ชั้น 11 และศูนย์ฝึกผ่าตัด ชั้น 4 อาคารแพทยพัฒน์
คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
เปิดให้บริการทุกวันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 8.00 – 15.00 น. - แจ้งความจำนงอุทิศร่างกายฯ ผ่านช่องทางออนไลน์ ได้ที่ “คลิก“
Q: มีข้อกำหนดอะไรบ้างเกี่ยวกับการเป็นผู้อุทิศร่างกายเพื่อการศึกษา?
A: ผู้ประสงค์จะแสดงความจำนงอุทิศร่างกายฯ ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
-
-
- เป็นผู้บรรลุนิติภาวะแล้ว หากยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องได้รับการยินยอมจากบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง และไม่มีกำหนดว่าอายุมากกว่าเท่าใดจึงจะไม่รับ
- ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง เช่น โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (โรคเอดส์) โรคติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี วัณโรค และพิษสุนัขบ้า เป็นต้น
- ต้องไม่เกี่ยวข้องกับคดี
-
Q: เอกสารที่ต้องใช้ยื่นเพื่อแจ้งความจำนงอุทิศร่างกายฯ มีอะไรบ้าง?
A: ใช้เพียงสำเนาบัตรประชาชน หรือบัตรราชการ จำนวน 1 ฉบับ เท่านั้น
หรือสามารถอ่านคำถามที่พบบ่อยได้ที่ ‘ตอบคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการอุทิศร่างกายเพื่อการศึกษา’
ช่องทางการติดต่อและร่วมบริจาคทุนทรัพย์
สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมการอุทิศร่างกายได้ที่
-
-
- ศาลาทินทัต โทรศัพท์ 02 256 5079
- ฝ่ายกายวิภาคศาสตร์ ศูนย์ฝึกผ่าตัด โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ http://www.chulalongkornhospital.go.th/anatomy
โทรศัพท์ 02 256 4281 ต่อ 1405 , 02 256 4751
-
สามารถบริจาคทุนทรัพย์เพื่อพัฒนาอาจารย์ใหญ่เพื่อการศึกษาด้านการแพทย์
-
-
- บริจาคเงินให้กองทุนสภากาชาดไทย ชื่อบัญชี “กองทุนสภากาชาดไทยเพื่อการบริจาค” ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขา สภาชาดไทย เลขที่บัญชี 045-288000-6 โดยระบุ วัตถุประสงค์การบริจาค “ เงินบริจาคเพื่อพัฒนาอาจารย์ใหญ่ ฝ่ายกายวิภาคศาสตร์ ”
-
ผู้มีอุปการคุณจะได้รับสิทธิประโยชน์ เมื่อเข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ หรือโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู สภากาชาดไทย (ยกเว้นคลินิกพิเศษใน/นอกเวลาราชการ) โดยพิจารณาจากวงเงินบริจาค โดยแบ่งเป็น ผู้มีอุปการคุณประเภทบุคคลธรรมดา และผู้มีอุปการะคุณประเภทนิติบุคคล
- ผู้มีอุปการคุณประเภทบุคคลธรรมดา ได้สิทธิประโยชน์ด้านการรักษาพยาบาล ดังนี้
ผู้มีอุปการคุณประเภทบุคคลธรรมดา | สิทธิประโยชน์ด้านการรักษาพยาบาล | ||
---|---|---|---|
ลดหย่อนค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก (OPD) | ลดหย่อนค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยใน (IPD) | การตรวจสุขภาพประจำปีฟรี | |
ผู้มีอุปการคุณแบบที่ 1 | |||
บริจาคตั้งแต่ 40,000 บาท | – | 10% | – |
ผู้มีอุปการคุณแบบที่ 2 | |||
บริจาคตั้งแต่ 100,000 บาท แต่ไม่ถึง 300,000 บาท | 10% | 10% | – |
บริจาคตั้งแต่ 300,000 บาท แต่ไม่ถึง 600,000 บาท | 15% | 15% | – |
บริจาคตั้งแต่ 600,000 บาท แต่ไม่ถึง 1,000,000 บาท | 20% | 20% | – |
ผู้มีอุปการคุณแบบที่ 3 ระดับ เงิน | |||
บริจาคตั้งแต่ 1,000,000 บาท แต่ไม่ถึง 3,000,000 บาท | 25% | 30% | – |
บริจาคตั้งแต่ 3,000,000 บาท แต่ไม่ถึง 5,000,000 บาท | 30% | 30% | – |
**บริจาคตั้งแต่ 5,000,000 บาท แต่ไม่ถึง 10,000,000 บาท | 40% | 50% | – |
ผู้มีอุปการคุณแบบที่ 4 ระดับ ทอง | |||
บริจาคตั้งแต่ 10,000,000 บาท แต่ไม่ถึง 20,000,000 บาท ผู้ได้รับสิทธิประโยชน์ จำนวน 2 คน |
50% | 50% | |
บริจาคตั้งแต่ 20,000,000 บาท แต่ไม่ถึง 30,000,000 บาท ผู้ได้รับสิทธิประโยชน์ จำนวน 3 คน |
50% | 75% | |
บริจาคตั้งแต่ 30,000,000 บาท แต่ไม่ถึง 40,000,000 บาท ผู้ได้รับสิทธิประโยชน์ จำนวน 3 คน |
75% | 75% | |
ผู้มีอุปการคุณแบบที่ 5 ระดับ เพชร | |||
บริจาคตั้งแต่ 40,000,000 บาท แต่ไม่ถึง 50,000,000 บาท ผู้ได้รับสิทธิประโยชน์ จำนวน 3 คน |
100% | 100% | |
บริจาคตั้งแต่ 50,000,000 บาท แต่ไม่ถึง 100,000,000 บาท ผู้ได้รับสิทธิประโยชน์ จำนวน 4 คน |
100% | 100% | |
บริจาคตั้งแต่ 100,000,000 บาท ขึ้นไป ผู้ได้รับสิทธิประโยชน์ จำนวน 8 คน |
100% | 100% |
** สำหรับผู้บริจาคเงินตั้งแต่ 5,000,000 บาทขึ้นไป หากต้องการบริจาคเงินสะสม ภายในระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี ซึ่งจะได้รับสิทธิเมื่อบริจาคครบตามเกณฑ์ที่กำหนด สามารถทำได้โดยจะต้องแจ้งความจำนงให้เจ้าหน้าที่การเงินบันทึกไว้ในใบเสร็จรับเงินทุกครั้ง
- ผู้มีอุปการคุณประเภทนิติบุคคล ได้สิทธิประโยชน์ด้านการรักษาพยาบาล ดังนี้
ผู้มีอุปการคุณประเภทนิติบุคคล | สิทธิประโยชน์ด้านการรักษาพยาบาล | ||||
---|---|---|---|---|---|
ลดหย่อนค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก (OPD) | ลดหย่อนค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยใน (IPD) | การตรวจสุขภาพประจำปีฟรี | |||
ผู้มีอุปการคุณนิติบุคคลแบบที่ 1 | |||||
บริจาคตั้งแต่ 10,000,000 บาท แต่ไม่ถึง 20,000,000 บาท ผู้ได้รับสิทธิประโยชน์ จำนวน 1 คน |
50% | 50% | |||
ผู้มีอุปการคุณนิติบุคคลแบบที่ 2 | |||||
บริจาคตั้งแต่ 20,000,000 บาท แต่ไม่ถึง 30,000,000 บาท ผู้ได้รับสิทธิประโยชน์ จำนวน 1 คน |
50% | 75% | |||
ผู้มีอุปการคุณนิติบุคคลแบบที่ 3 | |||||
บริจาคตั้งแต่ 30,000,000 บาท แต่ไม่ถึง 40,000,000 บาท ผู้ได้รับสิทธิประโยชน์ จำนวน 1 คน |
75% | 75% | |||
ผู้มีอุปการคุณนิติบุคคลแบบที่ 4 | |||||
บริจาคตั้งแต่ 40,000,000 บาท แต่ไม่ถึง 50,000,000 บาท ผู้ได้รับสิทธิประโยชน์ จำนวน 1 คน |
100% | 100% | |||
ผู้มีอุปการคุณนิติบุคคลแบบที่ 5 | |||||
บริจาคตั้งแต่ 50,000,000 บาท แต่ไม่ถึง 100,000,000 บาท ผู้ได้รับสิทธิประโยชน์ จำนวน 3 คน |
100% | 100% | |||
ผู้มีอุปการคุณนิติบุคคลแบบที่ 6 | |||||
บริจาคตั้งแต่ 100,000,000 บาท ขึ้นไป ผู้ได้รับสิทธิประโยชน์ จำนวน 7 คน |
100% | 100% |
ผู้มีอุปการะคุณจะได้รับสิทธิเชิดชูเกียรติ โดยสามารถขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์กาชาดสรรเสริญ หรือ เครื่องราชอิสราภรณ์ดิเรกคุณาภรณ์อย่างใดอย่างหนึ่งโดยพิจารณาจากวงเงินบริจาค ดังนี้
จำนวนเงินที่บริจาค | เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับ |
---|---|
100,000 บาทขึ้นไป | ขอพระราชทานเหรียญเงินดิเรกคุณาภรณ์ |
200,000 บาทขึ้นไป | ขอพระราชทานเหรียญทองดิเรกคุณาภรณ์ |
300,000 บาทขึ้นไป | ขอพระราชทานเหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 2 |
500,000 บาทขึ้นไป | ขอพระราชทานเครื่องราชฯ เบญจมดิเรกคุณาภรณ์ |
600,000 บาทขึ้นไป | ขอพระราชทานเหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1 |
1,500,000 บาทขึ้นไป | ขอพระราชทานเครื่องราชฯ จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ |
6,000,000 บาทขึ้นไป | ขอพระราชทานเครื่องราชฯ ตติยดิเรกคุณาภรณ์ |
14,000,000 บาทขึ้นไป | ขอพระราชทานเครื่องราชฯ ทุติยดิเรกคุณาภรณ์ |
30,000,000 บาทขึ้นไป | ขอพระราชทานเครื่องราชฯ ปฐมดิเรกคุณาภรณ์ |
สำหรับผู้มีอุปการคุณที่ต้องการขอรับใบเสร็จรับเงินเพื่อนำไปลดหย่อนภาษีเงินได้ประจำปี สามารถทำได้โดย แฟกซ์ใบนำฝากเงิน และรายละเอียดการทำบุญที่หมายเลข 02 251 7901 หรือที่อีเมล์ phithikarn@gmail.com
เพื่อทางโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ออกใบเสร็จรับเงินบริจาค และส่งกลับเป็นหลักฐานให้ผู้มีอุปการคุณทางไปรษณีย์
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ฝ่ายพิธีการ ตึกวชิรญาณวงศ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
โทรศัพท์ 02 256 4382 , 02 256 4505
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มีได้จัดทำเหรียญที่ระลึกตามเหตุการณ์สำคัญต่างๆ รวมถึงส่ิงมงคลสักการะ เพื่อนำรายได้สมทบทุนเพื่อเป็นค่ารักษาพยาบาลภิกษุสามเณรอาพาธ และผู้ป่วยสามัญ รวมถึงสมทบทุนเพื่อการจัดซื้อจัดหาครุภัณฑ์ทางการแพทย์ ในการดูแลรักษาผู้ป่วย
สามารถเลือกชมเหรียญที่ระลึก และสิ่งมงคลสักการะได้ที่นี่
สำหรับผู้ที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูล ได้ที่
อาคารวชิรญาณวงศ์ ตั้งอยู่ตรงข้ามอาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ฝั่งคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เปิดบริการทุกวัน 07.00 – 18.00 น.
หมายเลขโทรศัพท์ 02 256 4382, 02 256 4505
หรือที่ ศาลาทินทัต ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ข้างอาคาร ภปร
เปิดทำการในวันจันทร์ – ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.00 – 15.00 น.
และวันเสาร์ – อาทิตย์ เวลา 08.00 – 14.00 น.
หมายเลขโทรศัพท์ 02 256 4397 , 02 256 4281 ต่อ 0 หรือ 4 หรือ 7