ภาวะหัวใจล้มเหลว รักษาได้ แต่ไม่หายขาด
ภาวะหัวใจล้มเหลวเป็นภาวะที่หัวใจไม่สามารถทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างเหมาะสม โดยมีสาเหตุได้หลายอย่าง เช่น หลอดเลือดหัวใจตีบ ลิ้นหัวใจรั่ว หรือ ความผิดปกติแต่กำเนิด เป็นต้น
ปัจจุบัน ประชากรมากกว่า 30 ล้านคนทั่วโลกมีภาวะนี้
อาการของภาวะหัวใจล้มเหลว
- อ่อนเพลียไม่มีแรง เหนื่อยง่ายหรือหอบเมื่อทำกิจกรรม
- นอนราบไม่ได้เพราะจะรู้สึกเหนื่อย อึดอัดหรือไอ แต่หากลุกนั่งก็จะอาการดีขึ้น
- เบื่ออาหาร แน่นท้อง คลื่นไส้หรืออาเจียน
- น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น อย่างรวดเร็วภายใน 1-2 วัน
- บวม กดแล้วบุ๋ม โดยเฉพาะที่บริเวณขา หน้าแข้ง หรือเท้า
การรักษาและดูแลตนเอง
1. รับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ ปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเมื่อจะใช้ยาอื่นร่วมด้วย
2. เฝ้าระวังอาการผิดปกติด้วยตนเอง เช่น ชั่งน้ำหนักด้วยเครื่องชั่งเดิมและเวลาเดิม เพื่อเฝ้าระวังการคั่งน้ำและเกลือ
3. งดอาหารเค็ม ควบคุมปริมาณการบริโภคโซเดียมให้น้อยกว่า 2 กรัมต่อวัน งดผงชูรส ผงปรุงรส อาหารหมักดอง อาหารรสจัด
4. ผู้ป่วยสามารถออกกำลังกายได้ในระดับปานกลาง ไม่หักโหม โดยในช่วงแรกอาจใช้เวลาที่ 5-10 นาทีก่อนจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นไปจนถึง 20 นาที
5. พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่อดนอน หรือโหมงานหนักมากเกินไป
6. ห้ามสูบบุหรี่ ห้ามดื่มสุรา
7. ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทุกปี
8. พบแพทย์ตามนัดอย่างเคร่งครัด
ข้อมูลโดย : อ พ.ญ.สุภาณี สินเพิ่มสุขสกุล
ศูนย์ความป็นเลิศทางการแพทย์ด้านการปลูกถ่ายอวัยวะ
ข้อมูล ณ วันที่ 7 มิถุนายน 2566