ภาวะไขมันพอกตับ ภัยเงียบของ JUNK FOOD LOVER 

ภาวะไขมันพอกตับ ภัยเงียบของ JUNK FOOD LOVER 

ภาวะที่มีไขมันสะสมอยู่ในเซลล์ตับมากเกินกว่าปกติ เมื่อพอกพูนมากขึ้น ทำให้เกิดโรคร้ายรุนแรง เช่น ตับอักเสบ ตับแข็ง และมะเร็งตับ 

      ไขมันพอกตับในระยะแรกอาจไม่มีสัญญาณที่บ่งชี้ถึงปัญหาสุขภาพ จึงทำให้หลายคนเพิกเฉยและปล่อยปละละเลยจนเกิดอันตรายได้ 

สถิติที่น่าสนใจของโรคไขมันพอกตับ

  • 25 – 30% ของคนไทยเผชิญกับภาวะไขมันพอกตับโดยไม่รู้ตัว
  • ภาวะนี้สามารถเกิดได้ทั้งเพศชาย และเพศหญิง ส่วนใหญ่พบตั้งแต่อายุ 30 ขึ้นไป
  • ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีอาการ 
  • ผู้ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มีความเสี่ยงเป็นไขมันพอกตับ
  • 1 ใน 4 ของผู้ที่เผชิญภาวะไขมันพอกตับ จะเป็นตับอักเสบ ตับแข็ง และมะเร็งตับ
  • ผู้ที่มีภาวะไขมันพอกตับ มีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจมากขึ้น

สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะไขมันพอกตับ

  1. การรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง 
  2. การรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง
  3. การรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลสูง 
  4. การไม่ออกกำลังกาย 
  5. มีโรคประจำตัว เช่น โรคไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน โรคเบาหวาน

วิธีคัดกรองภาวะไขมันพอกตับ 

  1. เจาะเลือดดูการทำงานของตับ ว่ามีค่าการอักเสบสูงกว่าปกติหรือไม่  ในผู้ที่มีภาวะไขมันพอกตับอาจพบระดับน้ำตาล และระดับไขมันในเลือดสูงกว่าปกติร่วมด้วย
  2. การตรวจอัลตราซาวด์บริเวณช่องท้อง จะพบว่า ตับอาจมีขนาดโตขึ้น และมีลักษณะขาวขึ้นเมื่อเทียบกับไตและม้าม
  3. Fibroscan เป็นการตรวจความยืดหยุ่น พร้อมกับประเมินไขมันสะสมภายในเนื้อตับ เพื่อสำรวจความเสียหายของเนื้อเยื่อตับว่ามีมากน้อยเพียงใด 

วิธีรักษาภาวะไขมักพอกตับ

ปัจจุบันยังไม่มียารักษาภาวะไขมันพอกตับโดยตรง แต่สามารถใช้วิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

  • งดหรือลดการรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง 
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • หากมีน้ำหนักตัวมากกว่าเกณฑ์ปกติ ควรลดน้ำหนัก 

ข้อมูลโดย :  ศ.นพ.พิสิฐ ตั้งกิจวาณิชย์ 
ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านโรคตับอักเสบและมะเร็งตับ ภาควิชาชีวเคมี
ข้อมูล ณ วันที่ 28 มิถุนายน 2566