ไอบอกโรค

ไอบอกโรค

อาการไอสามารถจำแนกตามลักษณะ ระยะเวลาในการเกิดอาการ และระดับความรุนแรงของการไอ ซึ่งสามารถใช้ความแตกต่างเหล่านี้จำแนกออกเป็นรูปแบบต่าง ๆ ได้ เช่น

ไอมีเสมหะ

  • เกิดจากการติดเชื้อโรคบางชนิดหรือมีสารคัดหลั่งในระบบทางเดินหายใจ เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน หรือโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
  • ส่งผลให้ร่างกายขับเมือกหรือสารคัดหลั่งออกผ่านทางระบบทางเดินหายใจ จนทำให้ไอมีเสมหะ

ไอแห้ง

  • เกิดจากการรคายคอหรือระบบทางเดินหายใจส่วนล่างจนกระตุ้นให้ร่างกายไอออกมาแต่ไม่มีเสมหะปนออกมาด้วย
  • สาเหตุ เช่น กรดใหลย้อน โรคหลอดลมอักเสบ การใช้ยาลดความดันโลหิตกลุ่มเอซีอีอินฮิบิเตอร์ (ACE Inhibitor) รวมถึงเป็นอาการที่พบได้มากในผู้ป่วยโรคโควิด-19 โดยมักจะมีใข้หรืออาการหายใจลำบากเกิดขึ้นร่วมด้วย

ไอในเวลากลางคืน

  • เกิดจากการระคายเคืองระบบทางเดินหายใจในช่วงเวลากลางคืน ทำให้มีอาการไอเกิดขึ้น
  • สาเหตุอาจเกิดจากการมีเสมหะไหลลงคอขณะนอนหลับ มีการติดเชื้อหรือเป็นอาการของโรคต่าง ๆ เช่น โรคไซนัสอักเสบ โรคภูมิแพ้ โรคหืด

ไอเสียงก้อง

  • พบได้มากในเด็ก
  • เกิดจากการบวมในระบบทางเดินหายใจส่วนบน บริเวณกล่องเสียงและหลอดลมหรือโรคครูป
  • ส่งผลให้ผู้ป่วยหายใจลำบาก เสียงแหง หายใจมีเสียง และอาจมีไข้ร่วมกับอาการไอเสียงก้องด้วย

ข้อมูล ณ วันที่ 11 กรกฎาคม 2564
ที่มา : อ. นพ.ธิติวัฒน์ ศรีประสาธน์