การบริการตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์
เวชศาสตร์นิวเคลียร์ เป็นการตรวจทางรังสีวิทยาซึ่งช่วยในการวินิจฉัยโรคในผู้ป่วยที่มีอาการบ่งชี้ทางคลินิก โดยมีข้อดีที่สำคัญคือสามารตรวจได้ถึงระดับโมเลกุลซึ่งเป็นโครงสร้างที่เล็กที่สุดของร่างกาย แพทย์จึงสามารถตรวจพบความผิดปกติได้ตั้งแต่ระยะแรกเริ่มของโรค และวางแผนการรักษาผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องแม่นยำ
การเตรียมตัวก่อนตรวจ
การตรวจรักษาทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์มีวิธีการที่หลากหลายตามอวัยวะที่จะตรวจ จึงต้องการการเตรียมตัวที่แตกต่างกัน ผู้ป่วยควรสอบถามข้อมูลจากเจ้าหน้าที่และแพทย์ที่ทำการตรวจรักษา และศึกษาข้อควรปฏิบัติจากเอกสารคำแนะนำให้ครบถ้วนตามการตรวจแต่ละประเภท
วิธีการตรวจ
- ผู้ป่วยจะได้รับการให้สารเภสัชรังสี ซึ่งมีวิธีการให้ 3 วิธี ได้แก่ 1.ฉีดเข้าเส้นเลือด 2.รับประทานพร้อมนมหรืออาหาร 3.สูดเข้าทางการหายใจ ซึ่งสารเภสัชรังสีดังกล่าวจะเข้าไปจับยังอวัยวะที่กำหนดตามแต่ละชนิดของรังสี เช่น สาร I-131 จะจับบริเวณเนื้อเยื่อไทรอยด์ จึงใช้สำหรับวินิจฉัยและรักษาโรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษและมะเร็งไทรอยด์ เป็นต้น
- หลังจากนั้นจะทำการถ่ายภาพบริเวณที่ต้องการตรวจหรือรักษา เพื่อสังเกตตำแหน่ง และปริมาณสารที่ไปจับยังอวัยวะนั้นๆ ซึ่งส่งผลต่อการวินิจฉัยโรค โดยระหว่างการตรวจจะมีเจ้าหน้าที่คอยดูแล และสามารถให้ญาติหรือผู้ปกครองเข้าไปอยู่กับผู้ป่วยได้หากจำเป็น
- หลังการตรวจ ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับเด็กและสตรีมีครรภ์ภายใน 24 ชั่วโมงแรก เพราะอาจได้รับผลกระทบจากรังสี
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการให้บริการทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ ได้ที่
เวชศาสตร์นิวเคลียร์ (สำหรับการตรวจสแกนต่างๆ และตรวจความหนาแน่นของกระดูก)
อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น 2
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
โทรศัพท์ 02 256 4000 ต่อ 80233
02 649 4000 ต่อ 80233
ส่วนเวชศาสตร์นิวเคลียร์ (สำหรับการตรวจเพื่อรักษาโรคต่อมไทรอยด์ด้วยน้ำแร่รังสี
อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น 3
โทรศัพท์ 02 256 4000 ต่อ 80301, 80302
02 649 4000 ต่อ 80301, 80302
วันจันทร์ – วันศุกร์ ในเวลาราชการ
หรือ คลินิกพิเศษนอกเวลาราชการ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
(สำหรับทุกการตรวจรักษา)
โทรศัพท์ 02 256 4000 ต่อ 80234
02 649 4000 ต่อ 80234