การบริการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์เต้านม

การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์เต้านม หรือเรียกว่าการทำแมมโมแกรม (Mammogram) เป็นวิธีตรวจมะเร็งเต้านมที่ได้รับการยอมรับว่ามีประสิทธิภาพที่สุด โดยเครื่องมือจะใช้รังสีในปริมาณน้อยแต่ยังคงสามารถให้รายละเอียดของเต้านมได้ดี ทำให้สามารถตรวจพบมะเร็งระยะแรกได้ตั้งแต่ยังคลำไม่พบก้อน และใช้เพื่อการตรวจวินิจฉัยโรคในผู้ที่มีอาการทางเต้านม เช่น คลำได้ก้อน  มีน้ำไหลทางหัวนม หรือปวดเต้านม เป็นต้น

โรคมะเร็งเต้านมเป็นอีกหนึ่งโรคที่พบได้บ่อยในสตรี ซึ่งสามารถตรวจหาความผิดปกติเบื้องต้นได้โดยการตรวจเต้านมด้วยตนเองด้วยวิธีที่ถูกต้องได้ตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป ส่วนผู้หญิงอายุ 40 ปีขึ้นไป และผู้หญิงที่มีลักษณะเข้าข่ายเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านม ดังต่อไปนี้ควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยทุก 1 ปี โดยควรเริ่มตรวจตั้งแต่อายุ 35 ปีเป็นต้นไป

ผู้มีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งเต้านม คือ

  1. ผู้ที่มีญาติสายตรงมีประวัติเป็นมะเร็งเต้านม เช่น มารดา พี่สาว ยาย เป็นต้น ควรเริ่มตรวจเมื่ออายุครบ 35 ปี หรือตรวจเมื่ออายุถึง 10 ปีก่อนอายุของญาติที่มีประวัติเป็นมะเร็งเต้านม
  2. ผู้ที่ได้รับยาฮอร์โมนอย่างสม่ำเสมอ
  3. ผู้ที่เป็นมะเร็งเต้านมแล้วหนึ่งข้าง
  4. ผู้ที่ได้รับการเจาะชิ้นเนื้อแล้วพบภาวะความเสี่ยงต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

 

การเตรียมตัวก่อนตรวจ

  1. ผู้ป่วยงดการทาแป้งบริเวณเต้านม หน้าอก และรักแร้ รวมถึงยาและสเปรย์ระงับกลิ่นกาย เนื่องจากมีสารที่จะให้ลักษณะเหมือนกับหินปูนซึ่งเป็นความผิดปกติที่พบในมะเร็งเต้านมจากภาพแมมโมแกรม ซึ่งอาจนำไปสู่การวินิจฉัยที่คลาดเคลื่อนได้
  2. ผู้ป่วยควรเข้ารับการตรวจในช่วงระยะเวลาที่เหมาะสม คือช่วง 7-14 วันหลังจากมีประจำเดือน

 

วิธีการตรวจ

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการให้บริการแมมโมแกรม ได้ที่

หน่วยวินิจฉัยโรคเต้านม ฝ่ายรังสีวิทยา

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

โทรศัพท์ 02 256 4259