การตรวจทางจุลชีววิทยา

จุลชีววิทยา เป็นการศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตซึ่งมองไม่เห็นด้วยตาเปล่าต้องส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ ซึ่งเรียกว่าจุลินทรีย์ ได้แก่ แบคทีเรีย โปรโตซัว ไวรัส เชื้อรา ยีสต์ เป็นต้น โดยเริ่มศึกษาตั้งแต่รูปร่าง หน้าที่การทำงาน กระบวนการเมตาบอลิสม กระบวนการการสืบพันธุ์ การจัดจำแนกชนิดของจุลินทรีย์ ประโยชน์และโทษที่มีต่อมนุษย์ สัตว์ พืชและจุลินทรีย์ด้วยกันเอง และความสามารถที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกับสิ่งแวดล้อม จุลชีววิทยาจึงมีประโยชน์ทั้งในแง่การพัฒนาทางการแพทย์ ด้านอาหาร อุตสาหกรรม รวมไปถึงสิ่งแวดล้อนรอบตัวเรา

การตรวจทางจุลชีววิทยา จึงหมายถึงการตรวจหา การเพาะเชื้อจุลินทรีย์ประเภทต่างๆ  การทดสอบโดยใช้เทคนิคการทางแพทย์ เพื่อนำผลมาวินิจฉัย ติดตามผล และประเมินผลการรักษา โดยโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มีทีมแพทย์ เทคนิคการแพทย์ และบุคลากรผู้เชี่ยวชาญที่คอยเก็บผลตัวอย่าง ตรวจและวินิจฉัยจุลินทรีย์ต่างๆ ซึ่งมีหลักเกณฑ์ในการนำส่งตรวจชัดเจน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำที่สุด ตั้งแต่การใช้ภาชนะที่ถูกต้อง วิธีการนำส่งตัวอย่าง การเก็บตัวอย่าง การแปลผลตัวอย่าง โดยแต่ละวิธีการมีหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติที่แตกต่างกันออกไป

ข้อปฏิบัติในการสั่งตรวจ

  1. การสั่งตรวจสามารถทำได้สองวิธี ดังนี้
  1. หลังจากติดต่อสั่งตรวจจะได้รับแจ้งวันที่ได้รับรายงานผล โดยนับจำนวนวันทำการไม่รวมวันหยุดเสาร์อาทิตย์ หรือวันหยุดราชการ ดังนั้นหากเป็นกรณีเร่งด่วนที่ต้องการผลเร็วกว่าที่กำหนดไว้ กรุณาติดต่อหัวหน้าห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้อง

สถานที่ตั้งห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา ปัจจุบันสถานที่ตั้งห้องปฏิบัติการมี 2  แห่ง ดังนี้

  1. ห้องปฏิบัติการ อาคาร อปร ชั้น 15-17
    เปิดบริการในเวลาราชการ (00 – 16.00 น.) สำหรับผู้ป่วยใน ผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลฯ รวมทั้งจากหน่วยงานภายนอก
    โทรศัพท์ 02 256 4132 ต่อ 102,103
  2. ห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น 3
    เปิดบริการตลอด 24 ชั่วโมง สำหรับผู้ป่วยใน ผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลฯ รวมทั้งจากหน่วยงานภายนอก
    โทรศัพท์ 02 256 5374  02 256 4000 ต่อ 80330, 80331

สามารถดูรายละเอียดการติดต่อ วิธีการเก็บสิ่งส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ และหลักเกณฑ์การส่งตรวจเพิ่มเติมได้จาก “คู่มือการส่งตรวจทางจุลชีววิทยา”