ร่วมรักไม่ป้องกัน อาจเกิด 4 โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
การติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (Sexually Transmitted Infections) ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในประเทศไทย ซึ่งมี 4 โรคที่พบได้บ่อย ดังนี้
- ซิฟิลิส
- เกิดจากแบคทีเรียชื่อ Treponema pallidum
- ระยะติดเชื้อเฉียบพลันจะมีแผลที่อวัยวะเพศ มีผื่นขึ้นตามตัว มีไข้ ต่อมน้ำเหลืองโต หรืออาจไม่มีอาการใด ๆ ในระยะแฝง
- ติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ และจากมารดาสู่ทารกในครรภ์ได้
- วินิจฉัยได้ด้วยการตรวจเลือด
- ป้องกันได้โดยการใช้ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์ทุกช่องทาง
- รักษาให้หายขาดได้ด้วยยาปฏิชีวนะ และการติดตามการรักษากับแพทย์อย่างใกล้ชิด
- โรคหนองใน
- เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Neisseria gonorrhea
- ติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ทั้งทางช่องคลอด ปาก หรือทวารหนัก
- ในผู้ชายมักจะพบว่ามีอาการปัสสาวะแสบขัด มีหนองไหลจากท่อปัสสาวะ
- ในผู้หญิงอาจจะมีอาการเพียงตกขาวผิดปกติ ไม่คัน
- ป้องกันได้โดยการใช้ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์ทุกช่องทาง
- รักษาให้หายขาดได้ด้วยยาปฏิชีวนะและการติดตามการรักษากับแพทย์อย่างใกล้ชิด
- โรคหูดหงอนไก่
- ส่วนมากเกิดจากเชื้อไวรัส HPV สายพันธุ์ 6 และ 11
- ติดต่อได้ง่ายทั้งผ่านทางเพศสัมพันธ์และการสัมผัสใกล้ชิด มีโอกาสเป็นซ้ำได้บ่อย ๆ
- อาการคือมีติ่งเนื้อนูนคล้ายดอกกะหล่ำ อาจมีอาการคัน เจ็บหรือมีเลือดออก
- ป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีน
- รักษาด้วยการใช้ยาทา การผ่าตัด การจี้ด้วยความเย็น เป็นต้น
- โรคไวรัสตับอักเสบบี
- เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B Virus)
- ผู้ติดเชื้ออาจมีอาการตาเหลือง ตัวเหลือง ปัสสาวะเหลืองเข้ม ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย
- ผู้เป็นพาหะมักไม่มีอาการ
- สามารถติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ การใช้ของมีคมเปื้อนเลือดร่วมกัน และจากมารดาสู่ทารกในครรภ์ขณะตั้งครรภ์หรือการคลอด
- ป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีน
- รักษาด้วยการใช้ยา
ข้อมูลโดย : อ.นพ.ธนภพ บำเพ็ญเกียรติกุล
ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านสุขภาพคนข้ามเพศ (CETH)
ข้อมูล ณ วันที่ : 14 กุมภาพันธ์ 2567