แค่ปรับพฤติกรรม ก็รับมือกับลมชักได้ง่าย ๆ
โรคลมชักเกิดจากการทำงานของเซลล์ประสาทที่มีการเชื่อมต่อกันมากเกินไป โดยเกิดจากการเสียสมดุลของสารสื่อประสาท
อาการชักที่แสดงออกมาของผู้ป่วยแต่ละคนนั้นแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของกลุ่มเซลล์ประสาทที่ผิดปกติในบริเวณสมอง
การรักษาผู้ป่วยลมชัก
– ใช้ยากันชัก
– ปรับเปลี่ยนชีวิตประจำวัน
– รับประทานอาหารแบบคีโต
– การผ่าตัด
ผู้ป่วยสามารถรับมือกับโรคลมชักได้ง่าย ๆ แค่ปรับพฤติกรรม ดังต่อไปนี้
การปรับพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน
1. หลีกเลี่ยงการอดนอนรวมถึงการนอนดึก
2. หลีกเลี่ยงการรับประทานเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเป็นส่วนผสมและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสม
3. หลีกเลี่ยงการขึ้นที่สูงที่มีโอกาสพลัดตกลงมาได้
4. หลีกเลี่ยงการทำงานที่เกี่ยวข้องกับของมีคมหรือเครื่องจักรกลที่สามารถทำให้เราเกิดอันตรายได้ ถ้าเรามีอาการชักในบริเวณนั้น
5. หลีกเลี่ยงกีฬาบางประเภท เช่น ชกมวย, ยิมนาสติก, ปีนเขา, ดำน้ำ, ว่ายน้ำระยะไกลหรือว่ายน้ำที่ไม่มีคนดูแลอย่างใกล้ชิด, กีฬาผาดโผน, ยิงปืน เป็นต้น
6. หลีกเลี่ยงการอาบน้ำในอ่างอาบน้ำ, ลำคลอง หรือแหล่งน้ำที่มีความเสี่ยงในการจมน้ำได้
7. หลีกเลี่ยงการนอนในท่าคว่ำ
8. หลีกเลี่ยงการขับรถ
9. หลีกเลี่ยงการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวัตถุให้ความร้อน เช่น เตาแก๊ส, เตาไฟฟ้า เป็นต้น
ข้อมูลโดย อ.นพ.ทศพล สุรวัฒนาวงศ์
สาขาประสาทวิทยาโรคลมชัก ฝ่ายอายุรศาสตร์
ข้อมูล ณ วันที่ 20 เมษายน 2567