แนวปฏิบัติเมื่อตรวจโควิด-19 ด้วย Antigen Test Kit
ชุดตรวจแอนติเจนแบบเร็ว (Antigen Test Ki) สำหรับตรวจหาเชื้อ SARS-Co V-2 ที่ทำให้เป็นโรคโควิด-19 เหมาะสำหรับการตรวจในผู้ที่มีอาการทางเดินหายใจ (ใข้ ไอ น้ำมูก เจ็บคอ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่ได้รับรส) ที่มีความเสี่ยงต่อโรคโควิด-19 เช่น มีประวัติใกลัชิดผู้ป่วยโควิด-19 อาศัยในพื้นที่เสี่ยงสูง หรือผู้ใกล้ชิดมีอาการผิดปกติจำนวนมากพร้อมกัน
ข้อควรทราบของชุดตรวจ Antigen Test Kit
- ใช้ชุดตรวจที่ผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเท่านั้น
- ผู้ที่มีผลตรวจ Antigen Test Kit เป็นบวกทั้งที่มีและไม่มีอาการ ถือว่าเป็นผู้ติดเชื้อเข้าข่าย
- ผู้ป่วยมีอาการที่จะเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล หรือสถานพยาบาลส่วนกลาง ควรได้รับการตรวจยืนยันด้วยวิธีมาตรฐาน RT-PCR
การปฏิบัติตัวเมื่อผล Antigen Test Kit เป็นบวก
- ผู้ติดเชื้อเข้าข่ายแบบมีอาการเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีอาการสามารถเข้ารับการรักษาแบบการแยกกักตัวรักษาที่บ้าน (Home Isolation) โดยไม่จำเป็นต้องตรวจยืนยันด้วยวิธีมาตรฐาน
- หากผู้ป่วยติดเชื้อเข้าข่ายเริ่มมีอาการรุนแรง หรือไม่สามารถแยกกักตัวรักษาที่บ้าน (Home Isolation) ได้ จะเข้ารับการรักษาตามสถานพยาบาลที่เหมาะสมกับระดับความรุนแรงของอาการ เช่น
- โรงพยาบาล
- โรงพยาบาลสนาม ศูนย์พักคอย ฮอสพิเทล
- การแยกกักตัวรักษาที่วัด (Temple Isolation)
- การแยกกักตัวรักษาที่ชุมชน (Community Isolation)
ระหว่างรอเข้ารับการรักษา ผู้ป่วยต้องปฏิบัติลักษณะเดียวกันกับผู้ป่วยโรคโควิด-19 โดยแยกกักตัวจากผู้อื่น และตรวจยืนยันด้วยวิธีมาตรฐาน (RT-PCR) แบบคู่ขนาน
การปฏิบัติตัวเมื่อผล Antigen Test Kit เป็นลบ
- หากมีอาการหรือมีความเสี่ยง ควรตรวจซ้ำทุก 3-5 วัน และแยกกักตัวจากผู้อื่น จนกว่าไม่มีอาการ หรือพ้นความเสี่ยง
- หากไม่มีอาการหรือมีความเสี่ยง อาจจะไม่จำเป็นต้องตรวจซ้ำ
ข้อมูล ณ วันที่ 14 สิงหาคม 2564
ที่มา : อ. ดร. พญ.วรรษมน จันทรเบญจกุล