สารเสพติดเพื่อความบันเทิง อันตรายถึงชีวิต
การให้สารติดเพื่อความสนุกสนานและความบันเทิง แม้จะเป็นการใช้เพียงครั้งคราวไม่ได้เสพติดประจำ แต่ก็มีโทษร้ายแรงต่อร่างกาย จนถึงเสียชีวิตได้ตามการออกฤทธิ์ของยา ซึ่งแบ่งได้ 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้
🗣 กลุ่มออกฤทธิ์กระตุ้น
ทำให้เกิดอารมณ์สนุกนาน คึกคัก ฮักเหิม มีความกล้า และมีอารมณ์ทางงเพศมากขึ้น สารเสพติดกลุ่มนี้ได้แก่ เคตามีน (ยาเค) แอมเฟตามีน (ยาบ้า/ยาม้า) ยาอี ยไอซ์ กัญชา และกัญชาสังคราะห์ เป็นต้น จะออกฤทธิ์ต่อมอง หลอดลือด และหัวใจ ส่งผลให้หลอดเลือดขยายตัว ชีพจรเต้นเร็ว รู้สึกเราร้อน เห็นภาพหลอน หาได้รับในปริมาณมากเกินอาจทำให้กล้ามเนื้อสลาย ไตวาย และเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว
🗣 กลุ่มออกฤทธิง่วงขี่ม หรือ “ยามอม”
อาจนำมาใช้เพื่อก่ออาชญากรรม เช่น ล่วงละเมิดทางเพศ การรูดทรัพย์ เป็นต้น ตัวอย่างขอสารเสพติดได้แก่ ยานอนหลับ ยาเสียสาว เป็นต้น กลุ่มนี้จะออกฤทธิ์กดระบบประสาททำให้เกิดอาการมึนงง ไม่มีแรง ง่วงซึม กระทั่งหลับไม่รู้สติ ไม่สามารถควบคุมช่วยเหลือตัวเองได้ อีกทั้งยังออกฤทธิ์กดระบบการหายใจและหลอดเลือดจนกระทั่งเสียชีวิตได้ นอกจากนี้ยังอาจทำให้สูญสียความทรงจำในขณะเกิดเหตุ
🗣 ข้อควรระวัง
ยาหรือสารเสพติดหลายประเภทอยู่ในรูปแบบของเหลวใส ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส ทำให้ผู้รับสารอาจไม่รู้ตัวและสารบางชนิดอาจสลายตัว หรือเปลี่ยนแปลงในร่างกายได้เร็วมากภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงทำให้การตรวจพิสูจน์สารทำได้ยากเมื่อเวลาเกิดหตุผ่านไป
🗣 รู้วิธีป้องกันตัวเองจากความเสี่ยง
- ไม่ควรพาตัวเองข้าไปสู่พื้นที่เส่ยง เช่น สถานบันเทิง
สถานที่พักของคนที่ไม่รู้จัก และหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานบันเทิงตามลำพัง - ไม่ควรดื่มหรือรับประทานของจากคนแปลกหน้า
- ไม่ควรละสายตาจากเครื่องดื่มของตัวเอง
- ไม่ควรดื่มอย่างรวดเร็ว ควรดื่มอย่างมีสติอยู่เสมอ
- ประเมินสถานการณ์รอบข้าง หากมีความเสี่ยง ควรพาตัวเองออกมาจากสถานที่นั้นทันที
ข้อมูล ณ วันที่ 24 กันยายน 2563
ที่มา : รศ. นพ.ครองวงศ์ มุสิกถาวร