วัคซีนโควิด-19 สำหรับผู้ป่วยโรคทางโลหิตวิทยา
- ผู้ป่วยโรคทางโลหิตวิทยาควรปรึกษาแพทย์ที่ดูแลเพื่อเข้ารับการฉีดวักซีนป้องกันโรคโควิด-19 โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานต่ำ ได้แก่
- ผู้ที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน
- ผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดหรือยามุ่งเป้า
- ผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด หรือภูมิคุ้มกันบำบัด
- ผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกหยุดยากทั้งจากโรคทางโลหิตวิทยาและจากการรักษา
- ผู้ป่วยโรคไขกระดูกฝ่อ หรือ ไขกระดูกทำงานผิดปกติ
- ผู้ป่วยโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย
2. ผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคเลือดออกง่าย หรือรับประทานยาต้านเกล็ดเลือด หรือยาต้านการแข็งตัวของเลือด สามารถรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 หลังการฉีดควรกดบริเวณที่ฉีดนานประมาณ 5 นาที จากนั้นอาจใช้น้ำแข็งประคบ
3. ผู้ป่วยโรคทางโลหิตวิทยา สามารถฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ได้ทุกชนิด
4. ควรเว้นระยะห่างการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 กับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่และวัคซีนป้องกันโรคไอพีดี อย่างน้อย 14 วัน
5. ผู้ดูแลใกล้ชิดผู้ป่วยโรคทางโลหิตวิทยาควรรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่
ข้อมูล ณ วันที่ 20 มิถุนายน 2564
ที่มา : รศ. นพ.นกชาญ เอื้อประเสริฐ