วัคซีนโควิด-19 กับ ลิ่มเลือด
- ภาวะหลอดเลือดดำหรือลิ่มเลือดอุดตันธรรมดาที่พบรายงานในต่างประเทศ มีโอกาสเกิดขึ้นน้อยในประชากรไทย เนื่องจากปัจจัยทางพันธุกรรมและสรีระร่างกายทำให้มีอัตราการพบน้อยกว่าคนผิวขาว
- หลังจากติดโรคโควิด-19 มีโอกาสเกิดภาวะหลอดเลือดอุดตันสูง ถึง 1 ใน 10 และมักเป็นหลอดเลือดอุดตันที่รุนแรง
- วัคชีนทุกประเภทไม่เพิ่มโอกาสเกิดหลอดเลือดอุดตันทั่วไป ทั้งหลอดเลือดสมองอุดตัน หลอดเลือดหัวใจอุดตัน หรือหลอดเลือดดำที่ขาอุดตัน และลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดปอด ดังนั้นผู้ที่มีโรคประจำตัวเคยเป็น อัมพฤกษ์ อัมพาต กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือหลอดเลือดดำอุดตันมาก่อนสามารถฉีดวัคซีนได้
- ภาวะเกล็ดเลือดต่ำร่วมกับหลอดเลือดดำอุดตัน โดยเฉพาะที่สมองที่มีรายงานหลังฉีดวัคซีนของแอสต้าเซนเนก้า หรือจอห์นสันแอนด์จอห์นสันนั้น มีโอกาสเกิดต่ำมาก ซึ่งยังไม่พบในประเทศไทย สามารถวินิจฉัยและรักษาได้ด้วยยาที่มีอยู่ในประเทศไทย
ที่มา :
ศ. พญ.กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
ศ. นพ.ยง ภู่วรวรรณ
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผศ. นพ.กำธร มาลาธรรม
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบารามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ข้อมูล ณ วันที่ 25 พฤษภาคม 2564