วัคซีนโควิด-19สำหรับผู้ป่วยจิตเวช
- ผู้ที่มีความเจ็บป่วยทางจิตเวชรุนแรง ควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 อย่างเร่งด่วนไม่แตกต่างจากผู้ป่วยที่มีโรคทางกายรุนแรงอื่น ๆ ได้แก่
– โรคจิตเภท
– โรคออทิซึม
– โรคอารมณ์สองขั้ว
– โรคซึมเศร้ารุนแรง
– ผู้ที่มีภาวะเชาน์ปัญญาบกพร่อง
– ผู้ป่วยโรคทางจิตเวชอื่น ๆ ที่ส่งผลรุนแรงต่อการดำเนินชีวิต - ผู้ป่วยทางจิตเวชทั่วไปควรเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 เช่นกัน
- สำหรับผู้ป่วยจิตเวช เนื่องจากช่วยลดความเจ็บป่วยทั้งร่างกายวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 มีประโยชน์มากกว่าโทษอย่างชัดเจน จิตใจ และลดความชับซ้อนในการรักษาของโรคโควิด-19
- ยาจิตเวชมีความปลอดภัยและไม่มีรายงานของผลข้างเคียงรุนแรง เมื่อได้รับร่วมกับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ผู้ป่วยจึงไม่จำเป็นต้องหยุด ลด หรือปรับการใช้ยารักษาโรคทางจิตเวช
- ในช่วง 1-2 สัปดาห์ ก่อน-หลังการเข้ารับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ผู้ป่วยควรควบคุมอาการและแผนการรักษาทางจิตเวชให้คงที่รวมถึงการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่อง เช่น การดำเนินชีวิตตามปกติออกกำลังกาย และหลีกเลี่ยงสารเสพติดทุกชนิด
- หากมีข้อสงสัยทั้ง ก่อน-ระหว่าง-หลัง เกี่ยวกับการรับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 แนะนำให้ติดต่อปรึกษาทีมงานจิตเวชที่ดูแล
ผู้ป่วยจิตเวชและประชาชนทุกท่าน ควรเข้ารับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 เพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพของตนเอง คนที่ท่านรัก และชุมชนของเรา
ข้อมูล ณ วันที่ 2 มิถุนายน 2564
ที่มา : อ. นพ.พร ทิสยากร