ภาวะสายตายาวตามวัย

ภาวะสายตายาวตามวัย

ภาวะสายตายาวตามวัย (Presbyopia) เกิดขึ้นเนื่องจากเลนส์ตาแข็งขึ้นและกล้ามเนื้อที่ใช้ในการเพ่งมองอ่อนแอลง ทำให้ความสามารถในการมองวัตถุระยะใกล้ลดลงตามวัย ภาวะนี้มักเกิดขึ้นในผู้มีอายุ 40 ปี ขึ้นไป

อาการสายตายาวตามวัย

  • มองในระยะใกล้ไม่ชัด
  • ในบางรายอาจมีอาการปวดตา ปวดศีรษะ เนื่องจากพยายามเพ่งสายตามากขึ้นตอนมองใกล้

การแก้ปัญหาภาวะสายตายาวตามวัย

แว่นสายตา มีได้หลายแบบตามความเหมาะสมกับการใช้งาน ได้แก่

  • แว่นโฟกัสระยะเดียว (Monofocal glasses) ข้อดีคือใช้งานง่ายเหมาะสำหรับใส่มองในระยะใกล้ เช่น อ่านหนังสือ ข้อเสียคือต้องถอดเข้า-ออก
  • แว่นโฟกัสสองระยะ (Bifocal glasses) ข้อดีคือมองได้ทั้งระยะใกล้และระยะไกล เหมาะสำหรับใส่ในขณะทำงาน ข้อเสียคือเกิดภาพกระโดดเวลาเปลี่ยนจากระยะมองไกลมาระยะมองใกล้
  • แว่นที่มีเลนส์หลายชั้น (Progressive glasses) ข้อดีคือสามารถมองได้หลายระยะในเลนส์เดียว ไม่ต้องเปลี่ยนแว่นบ่อย ข้อเสียคือราคาสูง ใช้งานยากกว่ารูปแบบอื่น

คอนแทคเลนส์ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ที่ไม่ต้องการใส่แว่น

การผ่าตัด หากมีภาวะต้อกระจกร่วมด้วยอาจมีทางเลือกโดยการผ่าตัดสลายต้อกระจกและใส่เลนส์เทียมแบบหลายระยะ (multifocal IOL)

ข้อมูล ณ วันที่ 28 มิถุนายน 2564
ที่มา : อ. นพ.รัฐ อิทธิพานิชพงศ์