ผู้ป่วยโรคหัวใจออกกำลังกายได้ไหมนะ
ผู้ป่วยโรคหัวใจสามารถออกกำลังกายได้ โดยหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายอย่างหักโหม อาจเลือกออกกำลังกายด้วยวิธีดังต่อไปนี้
- โยคะหรือไทเก็ก
- เป็นการออกกำลังโดยการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างช้า ๆ
- เพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อและข้อต่อ ช่วยให้ร่างกายทรงตัวได้ดีขึ้นและเพิ่มคุณภาพชีวิต
- ช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ และเพิ่มเอชดีแอลคอเลสเตอรอล
- และช่วยควบคุมความดันโลหิต
- แอโรบิคหรือคาร์ดิโอ
- การเดิน การว่ายน้ำ วิ่งจ๊อกกิ้ง หรือปั่นจักรยาน เช่น ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ ควรเดิน 6,500 – 8,500 ก้าวต่อวัน
- เน้นสร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อหัวใจ ช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดทำงานได้ดีขึ้น
- ช่วงแรกควรเริ่มจากการออกกำลังกายเบา ๆ ไม่หักโหมจนเกินไป จากนั้นจึงค่อย ๆ เพิ่มระดับความหนักของการออกกำลังกายตมความเหมาะสมของร่างกาย
- ลดความดันโลหิต ช่วยให้หายใจได้ดีขึ้น
- เวทเทรนนิ่ง
- เป็นการฝึกกล้ามเนื้อที่อาศัยการใช้น้ำหนักให้เกิดแรงต้าน
- สร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อและกระดูก ช่วยเรื่องการทรงตัว
- ไม่ควรเริ่มเวทเทรนนิ่ง (หรือการออกกำลังกายที่มีแรงต้าน) เองที่บ้าน โดยไม่ได้รับอนุญาตและคำแนะนำจากแพทย์และนักกายภาพบำบัด ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจควรจะผ่านโปรแกรมฟื้นฟูหัวใจอย่างน้อย 4 สัปดาห์ หลังกล้ามเนื้อหัวใจตายหรือผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจก่อนเวทเทรนนิ่ง
ข้อมูล ณ วันที่ 19 พฤศจิกายน 2564
ที่มา : ผศ. นพ.สมเกียรติ แสงวัฒนาโรจน์
หน่วยอายุรศาสตร์หัวใจและหลอดเลือด ฝ่ายอายุรศาสตร์