ตรวจเช็กภาวะหูตึง ในผู้สูงอายุ เพื่อป้องกันความเสี่ยง สมองเสื่อม

ตรวจเช็กภาวะหูตึง ในผู้สูงอายุ เพื่อป้องกันความเสี่ยง สมองเสื่อม

ภาวะหูตึงในผู้สูงอายุ หรือ ภาวะที่ผู้สูงอายุมีปัญหาด้านการได้ยินเป็นความเสี่ยงสูงสุดที่ป้องกันได้ ของภาวะสมองเสื่อมเนื่องจากทำให้สมองขาดการกระตุ้นจากการได้ยินเสียง เช่น การฟังเพลง หรือการสนทนากับผู้อื่น

จากงานวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุที่มีปัญหาทางการได้ยินเพิ่มความเสี่ยงที่จะมีภาวะสมองเสื่อมเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่า เมื่อเทียบกับผู้สูงอายุที่ไม่มีปัญหาทางการได้ยิน

วิธีการสังเกต

  1. วิธี finger-rubbing test ให้ผู้สูงอายุใช้นิ้วโป้ง นิ้วชี้ นิ้วกลางถูกัน โดยมีระยะห่างจากหูประมาณ 1 ฟุต ในห้องเงียบ ๆ สังเกตว่าผู้สูงอายุได้ยินเสียงถูนิ้ว ชัดเจนหรือไม่
  2. สังเกตว่าผู้สูงอายุได้ยินเสียงเพลงที่มีโทนเสียงสูง เสียงนกร้อง เสียงกริ่ง หรือเสียงลูกหลานเรียกได้ชัดเจนหรือไม่ เช่น เวลาลูกหลานเรียกแล้วผู้สูงอายุมักไม่หันมาตามเสียงเนื่องจากไม่ได้ยิน เป็นต้น

องค์การอนามัยโลกแนะนำผู้มีอายุเกิน 50 ปี ควรตรวจคัดกรองการได้ยิน หรือ หากสงสัยว่ามีความผิดปกติควรพบแพทย์เฉพาะทาง หู คอ จมูก

ข้อมูล ณ วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2565
ที่มา : อ. ดร. พญนัตวรรณ อุทุมพฤกษ์พร
ฝ่ายโสต ศอ นาสิกวิทยา