การดูแลเด็กและครอบครัวที่ติดเชื้อโรคโควิด-19

การดูแลเด็กและครอบครัวที่ติดเชื้อโรคโควิด-19

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในปัจจุบันพบว่ามีเด็กและครอบครัวที่ติดเชื้อมากขึ้นโดยผู้ป่วยโรคโควิด-19 จะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล หอผู้ป่วยเฉพาะกิจ COVID-19 (Hospitel) หรือการแยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation) ซึ่งพิจารณาตามอาการของผู้ป่วย แนวทางการดูแลเด็กและผู้ปกครอง มีดังนี้

กรณีเด็กและผู้ปกครองติดเชื้อ

  1. เด็กและผู้ปกครองที่ได้เข้ารับการรักษา โดยทั่วไปจะจัดให้อยู่ร่วมกันเพื่อให้เด็กอยู่ในความดูแลของผู้ปกครองอย่างเหมาะสม
  2. กรณีเด็กติดเชื้อแต่ผู้ปกครองไม่ติดเชื้อ
    * ผู้ปกครองเด็กที่มีอายุไม่เกิน 60 ปี และไม่มีโรคประจำตัวที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 ที่อาจเกิดอาการรุนแรง สามารถเข้าไปดูแลเด็กในสถานพยาบาลได้
    * ผู้ปกครองต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา ล้างมืออย่างถูกวิธีหลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสใบหน้า ตา ปาก จมูก ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับเด็กที่ติดเชื้อ ทำความสะอาดพื้นผิวสัมผัสในห้องเป็นระยะด้วยแอลกอฮอล์ความเข้มข้นร้อยละ 70 หรือน้ำยาทำความสะอาด
  3. กรณีเด็กไม่ติดเชื้อแต่ผู้ปกครองติดเชื้อ
    * พิจารณาให้ญาติที่ไม่ติดเชื้อเป็นผู้ดูแลเด็ก แต่ผู้ดูแลเด็กไม่ควรเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรครุนแรงหากติดเชื้อโควิด-19 เนื่องจากเด็กถือเป็นผู้สัมผัสความเสี่ยงสูง ผู้ดูแลชั่วคราวต้องกักตัวต่ออีก 14 วันนับจากวันสุดท้ายที่สัมผัสกับเด็ก
    * กรณีที่หาผู้ดูแลเด็กไม่ได้ และเด็กจำเป็นต้องอยู่ร่วมกับผู้ปกครองหรือผู้ดูแลที่ติดเชื้อ ให้เด็ก (ที่อายุ 2 ปีขึ้นไป) และผู้ปกครองสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา ล้างมืออย่างถูกวิธี หลีกเลี้ยงการใช้มือสัมผัสใบหน้าตา ปาก จมูก ไม่ใช้สิ่งของร่วมกัน
    * หากไม่มีญาติหรือผู้ดูแลเด็ก พิจารณาส่งเด็กไปยังสถานสงเคราะห์หรือบ้านพักในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์หรือใช้พื้นที่สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยในชุมชน

ข้อมูล ณ วันที่ 25 กรกฎาคม 2564
ที่มา : อ. ดร. พญ.สุวพร อนุกูลเรืองกิตติ์