ภาวะว่างเปล่าปัญหาสุขภาพจิตในยุคโควิด-19

ภาวะว่างเปล่าปัญหาสุขภาพจิตในยุคโควิด-19

ภาวะว่างเปล่า (Languishing) เป็นภาวะที่ขาดแรงจูงใจ ไร้จุดมุ่งหมายในชีวิต หรืออารมณ์ที่รู้สึกเนือย ๆ ไม่อยากทำอะไรเป็นพิเศษ ถือเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่พบได้มากขึ้นโดยเฉพาะในช่วงโควิด-19 โดยยังไม่มีความรุนแรง ระดับผิดปกติหรือเป็นโรค แต่อาจเป็นแนวโน้มของภาวะหมดไฟ หรือโรคซึมเศร้าต่อไปได้

สาเหตุ

เกิดจากอารมณ์เหนื่อยหน่ายกับการพยายามทำบางสิ่งบางอย่างมานานแต่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้

อาการ

  1. รู้สึกเนื่อย ๆ รู้สึกเหนื่อยแต่ไม่หมดไฟ เพราะยังรู้สึกอยากทำอะไรหลาย ๆ อย่างเพียงแค่ยังไม่มีใจจะทำเท่านั้น
  2. รู้สึกไม่สนุกหรือมีความสุขเหมือนเดิมแต่ไม่ได้รู้สึกเศร้าหรือซึม
  3. รู้สึกเหมือนชีวิตไม่มีจุดมุ่งหมายแต่ไม่ถึงกับหมดหวัง
  4. ประสิทธิภาพการทำงานหรือเรียนไม่เต็มที่เหมือนเดิมแต่ไม่ถึงขั้นทำงานไม่ได้หรือเข้าเรียนไม่ได้

วิธีรับมือกับภาวะว่างเปล่า

  • พยายามทำกิจกรรมที่สนุกท้าทาย เช่น เรียนภาษาที่ 3 หรือเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ให้ตนเอง
  • ตั้งเป้าหมายเล็ก ๆ ในชีวิตและพิชิตให้ได้ เช่น ตั้งเป้าหมายในการจัดห้องใหม่หรือการลดน้ำหนัก
  • หาเวลาทำกิจกรรมที่ชอบ โดยการแบ่งเวลาส่วนตัวของตนเอง โดยไม่มีผู้อื่นมาขัดจังหวะ เพื่อสร้างความก้าวหน้าให้ชีวิตในแต่ละวัน เช่น การทำกิจกรรมทางสังคม การออกกำลังกาย

ข้อมูล ณ วันที่ 3 กันยายน 2564
ที่มา : อ. นพ.ชาวิท ตันวีระชัยสกุล