ภาวะน้ำท่วมปอดอันตรายถึงชีวิต
ภาวะน้ำท่วมปอด (Pulmonary edema) หรือภาวะปอดบวมน้ำ เกิดจากการมีของเหลวในถุงลมปอดมากผิดปกติ ทำให้การแลกเปลี่ยนกำซลดลง ผู้ป่วยจึงเกิดอาการต่าง ๆ จากการมีระดับออกซิเจนในเลือดลดลงหากไม่รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
อาการ
- หายใจหอบเหนื่อยขณะที่ออกแรง หรือหายใจไม่สะดวกเวลานอนราบเมื่อโรคมีความรุนแรงมากขึ้นอาจมีอาการหอบเหนื่อยแม้ไม่ได้ออกแรง
- มีอาการไอ เหนื่อย หรือแน่นหน้าอก
- มีอาการบวมที่แขนหรือขา
สาเหตุ
- สาเหตุจากการบีบและคลายตัวของกล้ามเนื้อหัวใจลดลง ส่งผลให้ปริมาณน้ำในหัวใจมากขึ้นและมีแรงดันย้อนกลับไปที่ถุงลมปอด เช่น ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจโตภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ภาวะลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว ปัจจัยส่งเสริม ได้แก่ ความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ดี ภาวะโปรตีนในเลือดต่ำ ไตทำงานลดลง (ไตเสื่อมหรือไตวาย)
- สาเหตุอื่นนอกจากการทำงานของหัวใจ เช่น ภาวะการหายใจล้มเหลวฉับพลัน การได้รับยาหรือสารเสพติดบางชนิด การได้รับเลือดหรือส่วนประกอบของเลือดหรือภาวะน้ำท่วมปอดจากการขึ้นที่สูง
การรักษา
- การรักษาเบื้องต้น ได้แก่ การให้ยาขับปัสสาวะเพื่อลดปริมาณน้ำในปอดและเพิ่มระดับออกซิเจนในเลือดเพื่อการลดอาการเหนื่อย
- การรักษาหลัก คือ แก้ไขสาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมปอด เช่น การแก้ใขการทำงานของหัวใจ การควบคุมความดันโลหิตให้เหมาะสม การลดอาหารเค็ม เป็นต้น
ข้อมูล ณ วันที่ 24 สิงหาคม 2564
ที่มา : อ. นพ.นพพล ลีลายุวัฒนกุล