ใช้สมาร์ทโฟนมากไป เสี่ยงโรคนิ้วล็อค
โรคนิ้วล็อค เป็นภาวะที่สาเหตุเกิดจากการหนาตัวของปลอกหุ้มเส้นเอ็นบริเวณฐานของนิ้วมือ ทำให้เส้นเอ็นเคลื่อนผ่านปลอกหุ้มเส้นเอ็นที่หนาขึ้นนี้ด้วยความยากลำบาก มีการเสียดสีทำให้เกิดอาการปวด หรือติดล็อดได้ พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายในช่วงอายุประมาณ 40-50 ปี
การรักษา
- การใช้ยารับประทาน เพื่อลดการอักสบ ลดบวม และลดอาการปวด ร่วมกับพักการใช้มือ
- การใช้วิธีทางกายภาพบำบัด ได้แก่ การใช้ครื่องตามนิ้วมือ การนวดเบา ๆ การใช้ความร้อนประคบ และการออกกำลังกายหยียดนิ้ว โดยการรักษาด้วยยา และกายภาพบำบัดอาจใช้ร่วมกันได้ และมักใช้ได้ผลดีเมื่อมีอาการของโรคในระยะแรกและระยะที่สอง
- การฉีดยาสเตียรอยด์เฉพาะที่ เพื่อลดการอักเสบ ลดปวดและลดบวม เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพค่อนข้างมาก ส่วนมากมักจะหายเจ็บบางรายอาการติดสะดุดจะดีขึ้น แต่การฉีดยามักถือว่าเป็นการรักษาแบบชั่วคราว และข้อจำกัดก็คือ ไม่ควรฉีดยา เกิน 2 หรือ 3 ครั้ง ต่อ 1 นิ้วที่เป็นโรค การรักษาโดยการฉีดยานี้สามารถใช้ได้กับอาการของโรคตั้งแต่ระยะแรกจนถึงระยะท้าย
- การรักษาโดยการผ่าตัด ถือว่าเป็นการรักษาดีที่สุดในแง่ที่จะไม่ทำให้กลับมาเป็นโรคอีก
ปัจบันโรคนี้พบบ่อยขึ้นในยุคสังคมออนไลน์ เนื่องจากการเล่นสมาร์ทโฟนเป็นเวลานานเกินไป นอกจากนี้ในกลุ่มผู้ที่ใช้งานมือในสักษณะเกร็งนิ้วบ่อย ๆ เช่น การทำงานบ้านต่าง ๆ การใช้กรรไกรตัดผ้า การหิ้วของหนัก
ข้อมูล ณ วันที่ 24 ตุลาคม 2561
ที่มา : ผศ.นพ.กวี ภัทราดูลย์