โรคต้อหิน ภัยร้ายที่อาจทำให้คุณสูญเสียดวงตา
ต้อหิน เป็นโรคที่ความดันลูกตาสูงจนเกิดการกดทับขั้วประสาทตา หากขั้วประสาทตาถูกทำลาย จะส่งผลให้สูญเสียลานสายตา เมื่ออาการรุนแรงขึ้น จะทำให้สูญเสียการมองเห็นในที่สุด
วิธีสังเกตอาการ สังเกตว่าตามองเห็นชัดหรือไม่ โดยปิดตาทีละข้างเพื่อสังเกตความคมชัดและความกว้างของการมองเห็น
กลุ่มเสี่ยง
- ผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป
- ผู้ที่มีสายตายาวมากหรือสั้นมาก
- ผู้ที่ใช้ยาที่มีสารสเตียรอยด์ทุกรูปแบบ
- ผู้ที่มีบุคคลในครอบครัวเป็นต้อหิน
- ผู้ที่ประสบอุบัติเหตุจากการกระแทก
- ผู้ที่มีโรคทางเส้นเลือด
การรักษาต้อหิน
การใช้ยา เป็นการรักษาเบื้องต้นที่เน้นการลดความดันลูกตาให้ต่ำลง เพื่อลดการทำลายของขั้วประสาทตา โดยผู้ป่วยจำเป็นต้องใช้ยาอย่างสม่ำเสมอ
การรักษาด้วยเลเซอร์ ใช้สำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยการหยอดยาหรือโรคต้อหินชนิดมุมปิด โดยแพทย์จะเลือกใช้เลเซอร์ที่แตกต่างกันสำหรับระยะที่ต่างกันของโรคต้อหิน
การผ่าตัด ใช้รักษาผู้ป่วยที่เหมาะสม หรือไม่สามารถรักษาด้วยการหยอดตาและเลเซอร์ การผ่าตัดจะแบ่งได้เป็น 2 ประเภท
- Filtering surgery การผ่าตัดสร้างการระบายน้ำหล่อเลี้ยงลูกตา เพื่อลดระดับความดันลูกตาให้ต่ำลง อาจใช้ท่อชนิดต่าง ๆ ร่วมด้วย
- Aqueous shunt surgery การใส่ท่อระบายเพื่อลดความดันลูกตา ใช้สำหรับกรณีที่การผ่าตัดแบบแรกไม่ได้ผล หรือมีความรุนแรงมาก
ข้อแนะนำ
เนื่องจาก 90% ของผู้ป่วยโรคต้อหินระยะแรกมักจะไม่แสดงอาการ การเข้ารับการตรวจดวงตา จึงช่วยป้องกันการเป็นต้อหินขั้นรุนแรงและสูญเสียดวงตาได้
วันต้อหินโลก (วันที่ 6 มีนาคม 2564)
ที่มา : รศ. นพ.ปริญญ์ โรจนพงศ์พันธุ์