อันตรายร้ายแรงของอาหารเป็นพิษ
อาหารเป็นพิษ เกิดจากรับประทานอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรคเข้าไป ซึ่งอาจพบมากขึ้นในช่วงฤดูร้อนโดยมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน และท้องเสียถ่ายเหลวตามมา
สังเกตอาการตนเอง หากมีอาการ 1-2 ข้อ ให้สงสัยว่าเป็นโรคอาหารเป็นพิษชนิดรุนแรง
- อาเจียนรุนแรง หรือถ่ายมากผิดปกติ (มากกว่า 8-10 ครั้งต่อวัน)
- มีไข้
- ซึม ไม่มีแรง อ่อนเพลีย มือเท้าเย็น
- ปัสสาวะสีเข้ม ปัสสาวะน้อย หรือไม่ปัสสาวะเกิน 6 ชั่วโมง
- หากเป็นเด็กเล็ก อาจมีอาการปากแห้ง ตาโหล ร้องให้แบบไม่มีน้ำตา
อาหารเสี่ยงต่อการเกิดอาหารเป็นพิษ
- อาหารสด สุก ๆ ดิบ ๆ หรือผ่านความร้อนไม่เพียงพอ
- อาหารที่มีรสจัด เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด หรือเค็มจัด
- อาหารหมักดอง อาหารกระป๋อง ที่พบว่ามีรอยบุบ รอยรั่ว หรือขึ้นสนิม
- อาหารที่ผลิตหรือปรุงไม่สะอาดเพียงพอ เช่น ใช้เขียงหั่นเนื้อสัตว์สดกับผักลวกร่วมกัน
- อาหารที่มีแมลงวันตอม
- อาหารที่ปรุงสุกตั้งแต่เช้า โดยไม่มีการอุ่นร้อน
- อาหารที่มีกะทิเป็นส่วนผสมแล้วปรุงทิ้งไว้นานหลายชั่วโมง
- น้ำแข็งที่ผลิตไม่ได้มาตรฐาน
วิธีดูแลตนเองเมื่อมีอาการอาหารเป็นพิษ
- ปกติสามารถหายได้เองภายใน 24-48 ชั่วโมง โดยให้รักษาตามอาการคือ รับประทานเกลือแร่ทดแทนและยาแก้คลื่นไส้ อาเจียน
- งดรับประทานอาหารประเภทนม ผลไม้ อาหารรสจัด อาหรสุก ๆ ดิบ ๆ อาหารหมักดอง
- พักผ่อนให้มากขึ้น ดื่มน้ำมาก ๆ งดการทำกิจกรรมหนัก ๆ เช่น ออกกำลังกาย ทำงานบ้านหนัก ๆ
- ไม่จำเป็นต้องรับประทานยาปฏิชีวนะ หากอาการไม่ดีขึ้นให้รีบพบแพทย์
ข้อมูล ณ วันที่ 7 เมษายน 2564
ที่มา : อ. ดร. พญ.วรรษมน จันทรเบญจกุล