ออกกำลังกาย เวลาเช้าหรือเวลาเย็นดีกว่ากัน ?
การออกกำลังกายในช่วงเช้า
คนส่วนใหญ่มักคิดว่าตอนเช้าอากาศสดชื่น มลพิษน้อย อากาศเย็นร่างกายยังสดชื่น เพราะได้พักมาทั้งคืน แต่การตื่นนอนในช่วงเช้าร่างกายเราไม่มีพลังงานให้กล้ามเนื้อแขนและขา เพราะฉะนั้นควรรับประทานอาหารก่อนออกกำลังกาย 2 ชั่วโมง เพื่อให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารและพลังงานไปยังอวัยวะต่าง ๆ
อาการของการออกกำลังกาย เมื่อไม่ได้ทานอาหารในช่วงเช้า
1. หน้ามืด เป็นลม
2. กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิต
ข้อแนะนำ
1. ถ้าต้องการออกกำลังกายตอนช้า ควรรับประทานอาหารก่อนเล็กน้อย เช่น แชนวิส โอวันติน ซึ่งใช้วลาย่อยประมาณ 30-60 นาที จะเป็นพลังงานเพียงพอต่อการออกกำลังกายแบบเบา ๆ เช่น เดิน แต่ไม่ใช่วิ่ง หรือเต้นแอโรบิก
2. การออกกำลังกายแบบแอโรบิกต่อเนื่องนานกว่า 1.5 ชั่วโมง จะทำให้ตับทำงานหนักกินไป ซึ่งมีผลทำให้ภูมิคุ้มกันลดลง
การออกกำลังกายในช่วงเย็น
เมื่อรับประทานอาหารเย็นแล้ว อีก 2 ชั่วโมงต่อมา จึงออกกำลังกายต่อเนื่องได้ และจะทำให้สารอาหารถูกใช้เป็นพลังงานจนเหลือสารอาหารน้อยที่สุด ทำให้วลานอนหลับ จะมีไขมัน พอกที่หลอดเลือดหรือเพิ่มไขมันส่วนต่าง ๆ ของร่างกายน้อยกว่าผู้ที่ไม่ได้ออกกำลังกายข้อแนะนำ
การออกกำลังกายตอนเย็นจะทำให้ภูมิต้านทานในร่างกายเพิ่มขึ้น และหากไข้หวัดระบาดก็จะทำให้ร่งกายมีภูมิต้านทานต่อไข้หวัดได้เพิ่มขึ้น จากการศึกษาทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการออกกำลังกายมีผลต่อภูมิต้นทานอย่างไร ของ แอนตรูว์ เคท พบว่าการออกกำลังกายปานกลาง ช่วยเพิ่มภูมิต้นทานของร่างกายได้ แต่การนั่ง ๆ นอน ๆ หรือออกกำลังหนักมากเกินไปจะส่งผลให้ภูมิต้านทานของร่างกายลดลง นอกจากนี้ยังพบว่าการออกกำลังกายปานกลางเป็นประจำยิ่งจะเพิ่มการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันอีกด้วย
ข้อมูล วันที่ 8 ตุลาคม 2563
ที่มา : ศ.กิตติคุณ นพ.เสก อักษราเคราะห์