สาเหตุของภาวะผมบ้างศีรษะล้านจากพันธุกรรม
1.ฮอร์โมนเพศชายที่เพิ่มขึ้นเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น
- ฮอร์โมนเพศชาย หรือ Testosterone จะเร่งให้อายุเส้นผมบริเวณขมับเหนือหน้าผากและกลางกระหม่อมสั้นลง เส้นผมหลุดร่วงเร็วขึ้น
- ในเพศชายที่มีพันธุกรรมศีรษะล้านพบว่า ต่อมผมจะมีเอนไซม์ 5a-reductase ชนิดที่ 2 ที่สามารถย่อย Testosterone เป็น Dihydrotestosterone (DHT) ซึ่งมีฤทธิฮอร์โมนชายแรงกว่า Testosterone เดิม ทำให้ผมบริเวณนี้ ผลัดก่อนกำหนด โดยเส้นผมจะบางและสั้นลงตามลำดับชุดของเส้นผมและต่อมผมจะฝ่อลงไปในที่สุด
2.พันธุกรรมถ่ายทอดเป็นยีนเด่น
พันธุกรรมอาจเป็นตัวกำหนดลักษณะของต่อมผม พบว่าเซลล์รากผมบริเวณขมับและกลางกระหม่อมจะมีจำนวนตัวรับสำหรับฮอร์โมนเพศชาย (Androgen receptor) สูงกว่าบริเวณท้ายทอยถึง 1.5 เท่า ทำให้เส้นผมเกิดการหลุดร่วงและบางลงตามลำดับ
3.อายุที่เพิ่มมากขึ้น
ภาวะที่มีการอักเสบของหนังศีรษะอย่างต่อเนื่องอาจทำให้มีผมร่วงมากขึ้นได้ เช่น ภาวะหนังศีรษะอักเสบจากเชื้อยีสต์ภาวะทุพโภชนาการ หรือแม้กระทั่งแสงแดดและความเครียด
ข้อมูล ณ วันที่ 9 รันวาคม 2563
ที่มา : รศ. ดร. พญ.รัชต์ธร ปัญจประทีป